ภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ แต่ไม่ถึงขั้นเป็นภาวะกระดูกพรุน ผู้ที่ประสบพบว่าตนเองเป็นภาวะกระดูกบาง จะไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่ภาวะนี้จะนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนได้ในอนาคต หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
นพ.ปานนภ พยัคฆพันธ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า ผู้ป่วยภาวะกระดูกบาง หรือ Osteopenia จะมีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ จึงทำให้กระดูกของผู้ป่วยอ่อนแอ ไม่แข็งแรง เหมือนบุคคลทั่วไป แต่ก็ไม่ได้เปราะบางแตกหักง่ายเหมือนผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้ตัวช้าว่าตนเองมีภาวะกระดูกบาง เนื่องจากมักไม่แสดงอาการผิดปกติหรืออาการเจ็บปวดใดๆ ออกมาจนกว่าจะได้มาตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์
โดยปกติกระดูกจะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีนตามกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย เพื่อทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอ แต่ภาวะกระดูกบางมักเกิดขึ้น เมื่อร่างกายมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก ดังนั้นแพทย์จะรักษาโดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และชะลอกระบวนการเกิดภาวะนี้ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนตามมา อาทิ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกบาง รับประทานยาเม็ดเสริมแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งวิตามินดีจะช่วยกระบวนการดูดซึมแคลเซียม เพื่อรักษามวลกระดูกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่หากแพทย์พิจารณาแล้วผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูกหรือเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะกระดูกบาง เช่น
ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะกระดูกบาง เช่น
• อายุ อายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
• เพศ ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีมวลกระดูกน้อยกว่า มีอายุยืนกว่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก็จะมีโอกาสเกิดภาวะนี้มากขึ้น
• กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นภาวะนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับพันธุกรรมของภาวะดังกล่าวได้
• การใช้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ ยากันชักบางชนิด นอกจากนี้ การทำคีโมหรือเคมีบำบัดที่ต้องมีการฉายรังสีก็อาจเป็นสาเหตุของภาวะนี้ได้เช่นกัน
การป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกบาง สำหรับบุคคลทั่วไป โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ระมัดระวังในการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกัน เป็นเวลานาน และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกเป็นประจำทุกปี
ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลหัวเฉียว มีแพทย์ผู้ชำนาญการให้การดูแลรักษาสามารถวินิจฉัยและรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น รวมถึงภาวะกระดูกบาง โดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางและมีประสบการณ์การผ่าตัดทั้งแบบเปิดและส่องกล้อง ทำให้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อย และผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วและปลอดภัยขึ้น
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)