xs
xsm
sm
md
lg

รพ.ธรรมศาสตร์ใช้ OKRs รับมือไวรัสโควิด-19 ได้ผล / ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

บริษัทในโลกตอนนี้ เกือบทุกวงการล้วนเผชิญภาวะ VUCA ที่ผสมโรงหลายมิติทั้ง “ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือ” แต่ขณะนี้ยังกระหน่ำซัดด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่สร้างปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคมไปทั่วโลก

นี่ยิ่งยืนยันผลดีของเครื่องมือบริหารจัดการที่เป็นกระแสนิยมด้วยวิธีคิดในลักษณะ Agile คือ ยืดหยุ่น คล่องตัวพร้อมปรับวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิผล คือให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่ดีหรือ Outcome และเกิดผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลง (Impact)

OKRs จึงเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวทางข้างต้น โดยมีตัวอย่างความสำเร็จของกิจการชั้นนำระดับโลกที่ได้ผลดีมากจาก OKRs เช่น อินเทล กูเกิล ที่เจริญก้าวหน้าและเติบโตแบบก้าวกระโดด

ในระบบการบริหารที่ผ่านมา เรามักคุ้นกับเครื่องมือชี้วัดผลงานที่เรียกว่า KPIs หรือ Key Performance Indicators เพื่อใช้ประเมินการทำงาน เช่น ปรับเงินเดือนหรือจ่ายโบนัส

แต่เพราะ KPIs ใช้วัดผลตอนปลายปี หรือไล่ตามผลงานกว่าจะรู้ผลก็แก้อะไรไม่ทัน แอนดี้ โกรฟ ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทอินเทล ในปี 1983จึงพัฒนาแนวคิดจาก MBO เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกยุคใหม่ แล้วเรียกในช่วงแรกว่า iMBO (Intel Management by Objective) ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของ OKRs

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
OKRs ซึ่งย่อมาจาก Objective&Key Results จึงเป็นแนวคิดของระบบการบริหารผลงานให้เกิดตามวัตถุประสงค์

Objective คือ วัตถุประสงค์ที่ตอบคำถาม (What) ว่า ต้องการทำอะไรให้สำเร็จ (ไม่ยากหรือง่ายเกินไป)

Key Results คือ ผลลัพธ์สำคัญที่จะตอบคำถาม (How) ว่า ต้องทำอะไร จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์และรู้ได้อย่างไรว่าสำเร็จ วัดจากอะไร

เพื่อหาตัวอย่างการนำแนวคิด OKRs มาใช้ในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดทั่วโลกและผู้ติดเชื้อในไทยเพิ่มขึ้นอย่างน่าห่วง

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่นำแนวคิด OKRs มาใช้ในระบบบริหารจัดการทั้งองค์กรที่มี 124 หน่วยงาน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 โดยช่วงแรกต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดการยอมรับและใช้ประโยชน์

ตั้งแต่กลางปี 2561 จนถึงปีที่แล้ว มีประมาณ 40 หน่วยงาน เริ่มกระบวนการตามแนวคิด OKRs และปัจจุบันหลักOKR ได้เข้าไปอยู่ในแผนยุทธศาสตร์แล้ว

เมื่อเกิดสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์มีการตั้ง War Room หรือ “คณะกรรมการการควบคุมโรคติดต่ออันตราย” โดยมุ่งดูแลสุขภาพบุคลากรของโรงพยาบาลที่มี 4,000 คน ซึ่งเป็นผู้เผชิญหน้ากับการดูแลผู้ป่วย แต่ถ้ารวมถึงอาจารย์ พนักงานข้าราชการและนักศึกษาภายในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ก็ประมาณ 50,000 คน

ระบบการบริหารผลงานด้วยแนวคิด OKRs เมื่อนำมาใช้กับโครงการรับมือกับการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) น่าจะเป็นกรณีศึกษาขององค์กรที่ผู้นำรู้จริงและเอาจริงกับการบริหารด้วยแนวคิด OKRsจนสามารถนำพาทุกหน่วยร่วมมือกันต้านโรคร้ายครั้งนี้

เมื่อ OKRs เริ่มที่ Objective (วัตถุประสงค์) ก็ได้กำหนดสิ่งที่คาดหวัง “ต้องไม่มีบุคลากรที่ติดเชื้อจากผู้ป่วยโรคโควิด-19”

จากนั้นก็มาถึง Key Results (ไม่เกิน 5 ข้อ) ให้ระบุว่า ต้องทำอะไรและวัดความก้าวหน้าให้ได้ตามเป้าหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

เพราะโรงพยาบาลธรรมศาสตร์จัดเต็มเรื่อง OKRs มาใช้ในระบบการบริหารทั้งในระดับองค์กร ส่งต่อถึงระดับหน่วยงาน ระดับทีมงานและแต่ละคน

ระดับองค์กรได้กำหนด Objective คล้ายวิสัยทัศน์ว่า “เป็นองค์กรแห่งอนาคตเพื่อประชาชน”

กำหนดผลลัพธ์สำคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือ Key Results เป็น 4 เป้าหมาย ได้แก่

KR1 การรักษาพยาบาลเป็นเลิศ
KR2 ระบบบริหารจัดการทันสมัย
KR3 พัฒนาคุณภาพตามเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs)
RR4 มีเครือข่ายโรงพยาบาลดิจิทัล

ในมิติโครงการรับมือกับการแพร่ระบบของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลยุทธ์การบริหารตามแนว OKRs ของรพ.ธรรมศาสตร์กำหนดเป้าหมายและวิธีการดังนี้

Objective : “ไม่มีบุคลากรที่ติดเชื้อจากผู้ป่วยโควิด-19”

KRI การมีอุปกรณ์ป้องกันที่เพียงพอและพร้อมใช้ เช่น หน่วยสนับสนุน จัดส่งหน้ากากอนามัยชุดตรวจ

KR2 กระบวนการทำงานสอดคล้องกับเป้าหมายป้องกันการติดเชื้อ เช่น สถานที่การรับ-ส่งคนทำงาน

KR3 กำลังคนเพียงพอ ปฏิบัติตามคำสั่งห้ามเดินทางไปประเทศเสี่ยง งดเดินทางทุกประเภท

KR4 การสื่อสารภายในองค์กร ป้องกันการตื่นตระหนก สร้างกำลังใจและเพิ่มค่าตอบแทน รวมทั้งลดการอยู่เวร (โดยเพิ่มคน) เพื่อลดความเครียด

ผลลัพธ์เป็นอย่างไร
ผู้อำนวยการรพ.ธรรมศาสตร์ เล่าว่า จากต้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงปัจจุบัน พบผู้ติดเชื้อ 2 คน และทีมงานสามารถบริหารจัดการได้ดี มีขวัญกำลังใจ

การประเมินผลใน 3 เดือนนั้น ระหว่างทางทุกวันจะมีการประชุมคณะแพทย์เพื่อประเมินสถานการณ์ และการติดตามผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมปรับกลยุทธ์ตามหลัก OKRs ที่เรียกว่า Check-in มีทุกวันพฤหัส ซึ่งระดับผู้บริหาร คือ อธิการบดี คณบดีและผู้อำนวยการโรงพยาบาลในฐานะเลขานุการ มีการประชุมต่อเนื่อง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกรณีนี้

1.นี่เป็นการใช้ OKRs ที่ได้ผลในระดับองค์กรที่ทุกหน่วยงานและทุกคนรู้ทิศทางที่มุ่งไปตามวัตถุประสงค์และทำเป้าหมายที่วัดได้

2.การได้ทำระดับองค์กรมาก่อน เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินเช่นนี้ ก็สามารถปรับตัวได้ดีและทำให้เห็นผลลัพธ์ได้เร็วขึ้นกว่ากรณีใช้ KPIs

3.ด้วยแนวคิดแบบ OKRs ที่มุ่งผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล ช่วยให้ผลการดำเนินงานดีขึ้น เช่น ความคุ้มค่า โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ สามารถจัดการด้วยกติกาให้คนไข้ Check-out ออกจากห้องก่อนเที่ยงเพื่อกลับบ้านได้แบบกติกาโรงแรม ก็ช่วยให้คนไข้ใหม่ที่รอเข้าพักรับการรักษาสามารถรู้เวลาแน่นอน ไม่ต้องรอนานหลายชั่วโมง
-----------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ : คู่มือประยุกต์ใช้ระบบบริหารผลงานด้วยแนวคิดแบบ OKRs
ผู้เขียน : ณรงค์วิทย์ แสนทอง
สำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั้น




แนะนำหนังสือ



คัมภีร์เขียนอีเมลธุรกิจที่คนสำเร็จต้องมี!
ผู้เขียน : ดร. แพค ซอนยอบ
ผู้แปล : กิตติคุณ อุปโคตร,จุรีพร สมศาสตร์
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
ราคา 285 บาท
หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณเขียนอีเมลโต้ตอบได้อย่างมืออาชีพ โดยใช้หลักการ CCPA (Consult-ค้นหา Copy-คัดลอก Practice-ฝึกเขียน Apply-ประยุกต์ใช้) ซึ่งรับประกันผล 200%



เวลา 1 นาที มีค่าต่อดวงตาดีๆ ของคุณแค่ไหน
ผู้เขียน : ซาวาโกะ ฮิบิโนะ
ผู้แปล : วิมลณัฐ หวังสิทธิกุล
สำนักพิมพ์ ไลฟ์พลัส
ราคา 185 บาท
คู่มือดูแลดวงตาง่าย ๆ ได้ด้วยตัวคุณเอง ไม่ว่าจะสายตาสั้น สายตายาว สายตาอ่อนล้า รักษาให้หายได้ด้วยการบริหารสายตาแบบใหม่ ซึ่งนายแพทย์นาโอกิ อิมูระ รองผู้อำนวยการคลินิกจักษุวิทยาอิมูระ ได้นำเวชศาสตร์ชะลอวัยและทฤษฎีการบริหารสมอง มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการรักษากลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสายตา



What If? จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า...
ผู้เขียน : Randall Munroe
ผู้แปล : ศล
สำนักพิมพ์ วีเลิร์น
ราคา 435 บาท
หนังสือเล่มนี้อัดแน่นด้วยความรู้หลากหลายแขนง แต่ยังเปี่ยมล้นด้วยอารมณ์ขันและจินตนาการสุดบรรเจิด ผ่านคำถามสมมุติที่ส่งเข้ามาจากทั่วทุกมุมโลก ที่ทำให้คนอ่านอย่างเราต้องทึ่ง เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ที่ขายดีที่สุดแห่งปี และขายลิขสิทธิ์ไปแล้วกว่า 30 ประเทศทั่วโลก!



Humble Leadership
ผู้เขียน : เอ็ดการ์ เอช. ไชน์, ปีเตอร์ เอ.ไชน์
ผู้แปล : กิตติกานต์ อิศระ
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ด
ราคา 180 บาท
หนังสือเล่มใหม่ของเอ็ดการ์และปีเตอร์ ที่ถ่ายทอดประสบการณ์จากการศึกษามาเป็นเวลาหลายทศวรรษ โดยเน้นถึงวัฒนธรรมองค์กรและความเป็นผู้นำ เป็นหนังสือที่ผู้นำในทุกระดับต้องอ่าน เพื่อแสวงหาหนทางเพิ่มประสิทธิภาพและการจัดการ เพื่อให้องค์กรได้ประสบความสำเร็จตามแผนงานและวิสัยทัศน์


กำลังโหลดความคิดเห็น