ปีที่เพิ่งผ่านไป เราได้เรียนรู้ประเด็นอะไรกับการดำเนินชีวิตและการทำกิจการงานบ้างไหมครับ เพื่อจะได้ใช้ข้อคิดจากประสบการณ์มาทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเก่า
คำประพันธ์หรือถ้อยคำอวยพรปีใหม่ที่ญาติมิตรมอบแก่กันในวงการต่าง ๆ จากผู้ปรารถนาดี ก็เป็นกำลังใจหรือให้ความรู้สึกที่ดูดี ในบรรยากาศการเฉลิมฉลองทางสังคมตามประเพณีส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่
แต่โลกแห่งความเป็นจริงที่เราต้องทันการณ์และทันเกมในการอยู่กับสังคมโลกยุคดิจิตัลที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือมากขึ้นทุกวัน
ผมนึกถึงคำคมของอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกาที่กล่าวว่า
“วิธีที่ดีที่สุด ในการทำนายอนาคตของคุณก็คือ ต้องสร้างมันขึ้นมาเอง”
สอดคล้องกับที่พระท่านสอนว่า “กรรมเก่าแก้ไม่ได้ แต่กรรมใหม่สร้างได้”...เพราะ “วิถีชีวิต” ย่อมจะเป็นไปในแนวการกระทำหรือกรรมที่ตัวเองทำนั่นเอง
เป็นจังหวะดีที่ผมได้อ่านหนังสือ “SMARTER FASTER BETTER” อ่านแล้วได้ประโยชน์ในการวางแผนการใช้ชีวิตและการทำงาน จึงขอกลั่นบางส่วนมาแบ่งปันให้คุณผู้อ่านพิจารณาไปปรับใช้กับชีวิตและการทำงานให้ดีขึ้น
หนังสือเล่มนี้ Charles Duhigg ผู้เขียนเป็นนักข่าวแนวสืบสวนสอบสวนของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทม์ มุ่งเน้นความสำคัญของการมี “ผลิตภาพ” ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติสำคัญที่นำไปสู่ชื่อหนังสือทำนองว่า ฉลาดกว่า เร็วกว่าและดีกว่า
การเล่าเรื่องกรณีตัวอย่างที่แทรกในทุกบทก็น่าติดตามเป็นการช่วยสร้างความเข้าใจถึงการเกิด ผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งต่างจากคำ ประสิทธิภาพ (Efficiency) และ ประสิทธิผล (Effectiveness)
แน่นอนครับ คนแต่ละคนย่อมให้ความหมายเรื่อง “ผลิตภาพ” ต่างกันตามบริบทและสถานการณ์ แต่มันคือพยายามใช้วิธีที่เหมาะสุดเพื่อใช้ประโยชน์จากสติปัญญา พลังงาน เวลาและผลที่ได้รับอย่างที่มีความหมายที่สุด โดยมีส่วนเสียน้อยที่สุด
ผลิตภาพจึงเป็นผลลัพธ์ความคุ้มค่าทั้งจากการมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ถ้าคนหรือองค์กรใดมีจุดมุ่งหมายเช่นนี้จะเป็นคนที่มีความหมายยิ่ง
หนังสือเล่มนี้ให้แนวคิดหลายประการที่มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มผลิตภาพ จึงขอกล่าวถึงเฉพาะที่แก่นสำคัญดังนี้
แรงจูงใจจากภายในตัว
มีผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า คนที่รู้วิธี “จูงใจตัวเอง” จะหาเงินได้มากกว่า มีความสุขมากกว่า และมีความพอใจที่มีต่อครอบครัว หน้าที่การงานและชีวิตมากกว่าคนอื่น
ถ้าอยากจูงใจตัวเองให้สำเร็จ ต้องฝึกฝนให้รู้สึกและเชื่อว่าเรามีอำนาจควบคุมเหนือตัวเอง เช่น นักศึกษาที่เชื่อว่ามีอำนาจควบคุมจากภายในตัวเองอย่างแรงกล้า ไม่ใช่มาจากความฉลาดที่ติดตัวมาแต่เด็ก (ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ที่อยู่เหนือการควบคุมของเขา)
มีประเด็นที่น่าสนใจเรื่องวิธีสร้างแรงจูงใจก็คือ ที่ระบุว่า “สิ่งที่ช่วยจุดประกายให้เกิดแรงจูงใจ”ไม่ใช่การได้ตัดสินใจทำ แต่เป็นการรู้สึกว่า ตัวเองมีอำนาจควบคุม
โดยเฉพาะให้อธิบายว่า “ทำไมภารกิจที่จะทำนั้นจึงมความสำคัญ” แล้วคุณจะรู้สึกว่าการลงมือทำเป็นเรื่องง่ายขึ้น
การกำหนดเป้าหมาย
การมี “ผลิตภาพ” ทั้งในบทบาทชีวิตหรือในกิจการงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) ที่มีความหมายมีคุณค่าที่กำหนดเป็นจุดมุ่งหมาย (Purpose) ก็จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องและสังคมนึกถึงคุณค่าการมีอยู่ของเรา
การกำหนดเป้าหมาย (Goal) จึงมีความสำเร็จ ดังที่มีการบันทึกเป็นตำนานในวงการบริหารระดับโลกกรณีตัวอย่างที่ บริษัท เจเนอรัล อิเล็กทริก (GE) เอาจริงจังกับเรื่องนี้
ในทศวรรษ 1980 มีการพัฒนาระบบการกำหนดองค์ประกอบเป้าหมายแบบ SMART ที่มีพลังในการเกิดผลสัมฤทธิ โดยให้ผู้จัดการทุกหน่วยงานต้องอธิบายเป้าหมายแต่ละไตรมาสให้ชัดเจนได้แก่
Specific เฉพาะเจาะจง
Measurable วัดผลได้
Achievable บรรลุผลได้
Realistic ปฏิบัติได้จริง
Timeline มีกรอบเวลาชัดเจน
ตัวอย่างที่แสดงด้วยภาพกราฟิกข้างต้นจะเห็นได้ว่าทุกขั้นตอน ที่สำคัญจาก
S ที่มีเป้าหมายจะวิ่งให้ได้ระยะทาง 8 กิโลเมตร
M วัดผลสำเร็จคือ เส้นชัย
A เชื่อว่าบรรลุผลได้ เพราะแตกเป็นเป้าย่อยในการฝึกทุกวันเว้นวัน
R ปฏิบัติได้จริง เพราะกำหนดปฏิทินนัดหมายของวันศุกร์ที่ชัดเจน
T มีกรอบเวลาค่อยๆ ฝึกเฉลี่ย 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) และวันที่ 15 มี.ค. เริ่มวิ่งเต็มที่ 8 กม.
นอกจากนี้ การได้เรียนรู้ผังการกำหนดเป้าหมาย จะได้เห็นการกระตุ้นไม่ให้เราไปหลงกำหนดเป้าที่บรรลุได้ แต่ไม่สร้างความหมายหรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หรือไปมุ่งเน้นเป้าหมายระยะสั้น แถมไม่มีความสำคัญอะไรนัก
ดังนั้น บริษัท GE จึงกระตุ้นด้วยการให้เริ่มด้วย “เป้าหมายที่ทะเยอทะยาน” หรือ “เป้าหมายสุดเอื้อม” ที่มีโอกาสเอื้อมถึง (ดังกราฟิกรูปที่ 2)
วิธีการเขียนเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน คือ สิ่งที่พยายามทำให้สำเร็จในระยะยาว จากนั้นก็เขียนเป้าหมายย่อยๆ และองค์ประกอบทั้งหมดของเป้าหมายแบบ SMART ซึ่งจะกดดันให้ผู้เขียนที่ตั้งใจจริง คิดแผนที่จะทำให้เป้าหมายทั้งหมดมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น
ขอเป็นกำลังใจให้คุณผู้อ่านมียุทธศาสตร์ (จุดมุ่งหมาย) และยุทธวิธี (เขียนเป้าหมายแบบ SMART) เพื่อจะได้โชคดีรับปีใหม่อย่างแท้จริงตามสมการนี้นะครับ
โชคดี = การเตรียมพร้อมที่ดี+โอกาส
---------------------------------------------------------------------
ข้อมูลจากหนังสือ SMART FASTER BETTER
ผู้เขียนCharles Duhigg
ผู้แปล วิโรจน์ ภัทรทีปกร
สำนักพิมพ์ วีเลิร์น
คำประพันธ์หรือถ้อยคำอวยพรปีใหม่ที่ญาติมิตรมอบแก่กันในวงการต่าง ๆ จากผู้ปรารถนาดี ก็เป็นกำลังใจหรือให้ความรู้สึกที่ดูดี ในบรรยากาศการเฉลิมฉลองทางสังคมตามประเพณีส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่
แต่โลกแห่งความเป็นจริงที่เราต้องทันการณ์และทันเกมในการอยู่กับสังคมโลกยุคดิจิตัลที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือมากขึ้นทุกวัน
ผมนึกถึงคำคมของอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกาที่กล่าวว่า
“วิธีที่ดีที่สุด ในการทำนายอนาคตของคุณก็คือ ต้องสร้างมันขึ้นมาเอง”
สอดคล้องกับที่พระท่านสอนว่า “กรรมเก่าแก้ไม่ได้ แต่กรรมใหม่สร้างได้”...เพราะ “วิถีชีวิต” ย่อมจะเป็นไปในแนวการกระทำหรือกรรมที่ตัวเองทำนั่นเอง
เป็นจังหวะดีที่ผมได้อ่านหนังสือ “SMARTER FASTER BETTER” อ่านแล้วได้ประโยชน์ในการวางแผนการใช้ชีวิตและการทำงาน จึงขอกลั่นบางส่วนมาแบ่งปันให้คุณผู้อ่านพิจารณาไปปรับใช้กับชีวิตและการทำงานให้ดีขึ้น
หนังสือเล่มนี้ Charles Duhigg ผู้เขียนเป็นนักข่าวแนวสืบสวนสอบสวนของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทม์ มุ่งเน้นความสำคัญของการมี “ผลิตภาพ” ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติสำคัญที่นำไปสู่ชื่อหนังสือทำนองว่า ฉลาดกว่า เร็วกว่าและดีกว่า
การเล่าเรื่องกรณีตัวอย่างที่แทรกในทุกบทก็น่าติดตามเป็นการช่วยสร้างความเข้าใจถึงการเกิด ผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งต่างจากคำ ประสิทธิภาพ (Efficiency) และ ประสิทธิผล (Effectiveness)
แน่นอนครับ คนแต่ละคนย่อมให้ความหมายเรื่อง “ผลิตภาพ” ต่างกันตามบริบทและสถานการณ์ แต่มันคือพยายามใช้วิธีที่เหมาะสุดเพื่อใช้ประโยชน์จากสติปัญญา พลังงาน เวลาและผลที่ได้รับอย่างที่มีความหมายที่สุด โดยมีส่วนเสียน้อยที่สุด
ผลิตภาพจึงเป็นผลลัพธ์ความคุ้มค่าทั้งจากการมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ถ้าคนหรือองค์กรใดมีจุดมุ่งหมายเช่นนี้จะเป็นคนที่มีความหมายยิ่ง
หนังสือเล่มนี้ให้แนวคิดหลายประการที่มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มผลิตภาพ จึงขอกล่าวถึงเฉพาะที่แก่นสำคัญดังนี้
แรงจูงใจจากภายในตัว
มีผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า คนที่รู้วิธี “จูงใจตัวเอง” จะหาเงินได้มากกว่า มีความสุขมากกว่า และมีความพอใจที่มีต่อครอบครัว หน้าที่การงานและชีวิตมากกว่าคนอื่น
ถ้าอยากจูงใจตัวเองให้สำเร็จ ต้องฝึกฝนให้รู้สึกและเชื่อว่าเรามีอำนาจควบคุมเหนือตัวเอง เช่น นักศึกษาที่เชื่อว่ามีอำนาจควบคุมจากภายในตัวเองอย่างแรงกล้า ไม่ใช่มาจากความฉลาดที่ติดตัวมาแต่เด็ก (ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ที่อยู่เหนือการควบคุมของเขา)
มีประเด็นที่น่าสนใจเรื่องวิธีสร้างแรงจูงใจก็คือ ที่ระบุว่า “สิ่งที่ช่วยจุดประกายให้เกิดแรงจูงใจ”ไม่ใช่การได้ตัดสินใจทำ แต่เป็นการรู้สึกว่า ตัวเองมีอำนาจควบคุม
โดยเฉพาะให้อธิบายว่า “ทำไมภารกิจที่จะทำนั้นจึงมความสำคัญ” แล้วคุณจะรู้สึกว่าการลงมือทำเป็นเรื่องง่ายขึ้น
การกำหนดเป้าหมาย
การมี “ผลิตภาพ” ทั้งในบทบาทชีวิตหรือในกิจการงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) ที่มีความหมายมีคุณค่าที่กำหนดเป็นจุดมุ่งหมาย (Purpose) ก็จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องและสังคมนึกถึงคุณค่าการมีอยู่ของเรา
การกำหนดเป้าหมาย (Goal) จึงมีความสำเร็จ ดังที่มีการบันทึกเป็นตำนานในวงการบริหารระดับโลกกรณีตัวอย่างที่ บริษัท เจเนอรัล อิเล็กทริก (GE) เอาจริงจังกับเรื่องนี้
ในทศวรรษ 1980 มีการพัฒนาระบบการกำหนดองค์ประกอบเป้าหมายแบบ SMART ที่มีพลังในการเกิดผลสัมฤทธิ โดยให้ผู้จัดการทุกหน่วยงานต้องอธิบายเป้าหมายแต่ละไตรมาสให้ชัดเจนได้แก่
Specific เฉพาะเจาะจง
Measurable วัดผลได้
Achievable บรรลุผลได้
Realistic ปฏิบัติได้จริง
Timeline มีกรอบเวลาชัดเจน
ตัวอย่างที่แสดงด้วยภาพกราฟิกข้างต้นจะเห็นได้ว่าทุกขั้นตอน ที่สำคัญจาก
S ที่มีเป้าหมายจะวิ่งให้ได้ระยะทาง 8 กิโลเมตร
M วัดผลสำเร็จคือ เส้นชัย
A เชื่อว่าบรรลุผลได้ เพราะแตกเป็นเป้าย่อยในการฝึกทุกวันเว้นวัน
R ปฏิบัติได้จริง เพราะกำหนดปฏิทินนัดหมายของวันศุกร์ที่ชัดเจน
T มีกรอบเวลาค่อยๆ ฝึกเฉลี่ย 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) และวันที่ 15 มี.ค. เริ่มวิ่งเต็มที่ 8 กม.
นอกจากนี้ การได้เรียนรู้ผังการกำหนดเป้าหมาย จะได้เห็นการกระตุ้นไม่ให้เราไปหลงกำหนดเป้าที่บรรลุได้ แต่ไม่สร้างความหมายหรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หรือไปมุ่งเน้นเป้าหมายระยะสั้น แถมไม่มีความสำคัญอะไรนัก
ดังนั้น บริษัท GE จึงกระตุ้นด้วยการให้เริ่มด้วย “เป้าหมายที่ทะเยอทะยาน” หรือ “เป้าหมายสุดเอื้อม” ที่มีโอกาสเอื้อมถึง (ดังกราฟิกรูปที่ 2)
วิธีการเขียนเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน คือ สิ่งที่พยายามทำให้สำเร็จในระยะยาว จากนั้นก็เขียนเป้าหมายย่อยๆ และองค์ประกอบทั้งหมดของเป้าหมายแบบ SMART ซึ่งจะกดดันให้ผู้เขียนที่ตั้งใจจริง คิดแผนที่จะทำให้เป้าหมายทั้งหมดมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น
ขอเป็นกำลังใจให้คุณผู้อ่านมียุทธศาสตร์ (จุดมุ่งหมาย) และยุทธวิธี (เขียนเป้าหมายแบบ SMART) เพื่อจะได้โชคดีรับปีใหม่อย่างแท้จริงตามสมการนี้นะครับ
โชคดี = การเตรียมพร้อมที่ดี+โอกาส
---------------------------------------------------------------------
ข้อมูลจากหนังสือ SMART FASTER BETTER
ผู้เขียนCharles Duhigg
ผู้แปล วิโรจน์ ภัทรทีปกร
สำนักพิมพ์ วีเลิร์น