xs
xsm
sm
md
lg

ใช้โทรศัพท์มือถือมาก เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งสมองจริงหรือไม่? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 สำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า International Agency for Research on Cancer หรือ IARC ได้ออกแถลงข่าวว่า สนามแม่เหล็ก คลื่นความถี่วิทยุ Radiofrequency Electomagnetic Fields as Possibly Carcinogenic. กับโรคมะเร็ง

ในหัวข้อ สนามแม่เหล็ก คลื่นความถี่วิทยุนั้นได้สำรวจในเรื่องกลุ่มประชาชนที่ทำอาชีพต้องได้รับการได้รับคลื่นเรดาร์ทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสารไร้สาย และรวมถึงกลุ่มประชาชนที่ได้ใช้โทรศัพท์ไร้สาย


ผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศได้มีการให้ข้อมูลในงานที่มีความสลับซับซ้อนในการติดตามกลุ่มที่ได้รับสนามแม่เหล็ก คลื่นความถี่วิทยุ รวมถึงการศึกษาผลกระทบต่อมะเร็งในมนุษย์ การศึกษามะเร็งในสัตว์ทดลอง และกลไกและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาข้อมูลจากหลักฐานอย่างจำกัดพบความเสี่ยงในกลุ่มผู้ที่ใช้โทรศัพท์ไร้สายเพิ่มสูงขึ้นของกลุ่มเนื้องอกในสมองชนิดไกลโอมา (glioma) และเนื้องอกของประสานชนิด acoustic neuroma และยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่าการใช้โทรศัพท์ไร้สายจะมีผลต่อมะเร็งชนิดอื่น ๆ

ทั้งนี้หลักฐานจากอาชีพและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับสนามแม่เหล็ก คลื่นความถี่วิทยุมีความคล้ายคลึงกันคือยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินได้ แม้คณะทำงานของ IARC ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนในเรื่องความเสี่ยงที่เกิดขึ้น แต่มีรายงานการศึกษาชิ้นหนึ่งที่เกิดขึ้นในอดีต (การศึกษาถึงปี 2547) พบว่าการใช้โทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 40% ในเนื้องอกในสมองชนิดชนิดไกลโอมา (glioma)ของกลุ่มประชากรที่มีการใช้โทรศัพท์อย่างมาก คือใช้งานค่าเฉลี่ยประมาณ 30 นาทีต่อวันเป็นเวลานาน 10 ปี

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นคณะทำงานของ IARC จึงได้สรุปว่า หลักฐานในขณะที่มีการรวบรวบให้มาขึ้นนั้น มีเพียงพอที่จะสนับสนุนในข้อสรุปว่า การใช้โทรศัพท์มือถือนั้นถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2B คือ มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นสารก่อมะเร็ง โดยการสรุปเช่นนี้มีความหมายว่าสามารถความเสี่ยงบางประการได้ และภายใต้ข้อสรุปนี้จึงให้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์มือถือกับความเสี่ยงในโรคมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการจัดประเภทความเสี่ยงและการติดตามผลในด้านสาธารณสุขภ ทาง IARC จึงจะมีการศึกษาวิจัยต่อไปในระยะยาวเพื่อติดตามผลในกลุ่มประชากรที่ใช้โทรศัพท์อย่างมาก ดังนั้นในระหว่างที่ยังขาดข้อมูลที่มีข้อสรุปอย่างชัดเจนได้ จึงควรมิวิธีปฏิบัติที่จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการใช้โทรศัพท์ที่ไม่ใช้การแนบหู (เช่น การใช้สายหูฟัง) หรือการใช้การพิมพ์แทน

แม้วันนี้จะยังไม่มีความชัดเจนมากเพียงพอที่จะมีข้อสรุปใด ๆ แต่ในระหว่างที่มีข้อถกเถียงของนักวิจัยทั้งหลาย เกี่ยวกับข้อบกพร่องของงานวิจัยต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเกินกว่างานวิจัยจะตามทัน การมีข้อมูลดังกล่าวก็ย่อมเป็นประโยขน์ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในวันนี้เพื่อตระหนักถึงความเสี่ยง โดยลดการใช้โทรศัพท์มือเป็นเวลานาน จริงหรือไม่?

ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
[1] The WHO/International Agency for Research on Cancer (IARC), IARC CLASSIFIES RADIOFREQUENCY ELECTROMAGNETIC FIELDS AS POSSIBLY CARCINOGENIC TO HUMANS, Presss Release, Number 208, 31 May 2011
https://www.iarc.fr/wp-content/uploads/2018/07/pr208_E.pdf



กำลังโหลดความคิดเห็น