บทเรียนที่เป็นกระแสโลกให้ได้เรียนรู้ความสำเร็จของบริษัท Start-up ที่ก่อร่างสร้างตัวจาก 2 นักศึกษาไฟแรง เมื่อได้เครื่องมือวิเศษที่เรียกว่า OKRs เป็นระบบตัวช่วยให้ขับเคลื่อนกิจการสู่เป้าหมายที่วัดผลได้ ตัวคุณถ้ามุ่งมั่นทำจริงก็สามารถนำวิธีการไปปรับใช้กับตัวผู้นำและองค์กรให้เกิดผลดีทั้งการงานและการเงิน
สังคมได้ยินกิตติศัพท์ความก้าวหน้าและสำเร็จในการสร้างอาณาจักรธุรกิจของกูเกิลที่ขยายตัวทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างมีแผนและกลยุทธ์ในการทำงานที่โตไม่หยุด
ผมได้อ่านหนังสือ Measure What Matters ของ John Doerr ซึ่งทีมนักแปลและบรรณาธิการโดย ณรงค์วิทย์ แสนทอง ใช้ชื่อพากษ์ไทยว่า “ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKRs”
อ่านแล้วได้รับพลังความคิดและช่วยให้เข้าใจในแนวทางการจัดการของระบบ OKRs ผ่านการถ่ายทอดหลักคิดและกรณีตัวอย่างหลายบริษัทที่นำเครื่องมือนี้ไปใช้อย่างได้ผลดี
จอห์น ดัวร์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ผ่านการหล่อหลอมความเข้าใจจนเชี่ยวชาญเรื่อง OKRs จาก แอนดี้ โกรฟ ผู้บริหารสูงสุด (CEO) ของบริษัทอินเทล ผู้เป็นต้นตำรับจนได้ฉายาว่า “บิดาแห่ง OKRs” ตั้งแต่จอห์นไปเริ่มฝึกงานตอนเป็นบัณฑิตใหม่ๆ จนก้าวหน้าเป็นระดับบริหาร
เมื่อจอห์นผันตัวเองไปตั้งบริษัทร่วมลงทุนหรือ VC (Venture Capital) ก็ยังเชื่อมั่นว่า OKRs เป็นกระบวนการที่ให้มีผลผลักดันให้กิจการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น กิจการหรือโครงการใดที่มีความคิดดีและมีศักยภาพเติบโตได้ เขาจะตัดสินใจใส่เงินไปร่วมลงทุนด้วย แต่เขาจะแนะให้เอาระบบ OKRs ไปใช้
เพื่อไม่ให้สับสน ต้องขอกล่าวถึงระบบที่วงการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชนซึ้งคุ้นเคยกับการใช้หลัก ประเมินผลด้วยดัชนีชี้วัดผลงานสำคัญที่เรียกกันว่า KPI (Key Performance Indicators)
มีการเตรียมตั้งเป้าหมายโดยการกำหนดจากผุ้บริหารรลงสู่ผู้ปฏิบัติงานตอนปลายปี และเริ่มใช้ตั้งแต่ปีใหม่แล้วไปวัดผลงานปลายปี เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การปรับเงินเดือน โบนัสหรือเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน
KPI จึงเป็นการวัดผลตามหลังผลงานและไม่สามารถแก้ไขผลที่เกิดขึ้นแล้ว
ส่วน Okrs เป็นกระบวนการกำหนดเป้าหมายโดยOคือวัตถุประสงค์ (Objective) และKRคือผลลัพธ์ที่สำคัญ (Key Results) ซึ่งระบุภารกิจที่ที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายและติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ
ระบบ OKR07 จึงไม่ใช่เริ่มกำหนดเป้าหมายจากระดับบนอย่างKPI แต่ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และเป็นระบบเปิดเผย แถมการวัดผลยังไม่เชื่อมโยงกับค่าตอบแทนหรือการขึ้นเงินเดือน
เพราะ OKRS มุ่งให้มีผลในการเรียนรู้และพัฒนางานที่มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น (Impact)
ก็ลองคิดดูว่า เมื่อวันที่ แลร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ที่ร่วมก่อตั้งบริษัท กูเกิล ตอนนั้นยังเป็นเสิร์ชเอ็นจิน อันดับ 18 ในวงการเว็บ ที่ยังช้ากว่ารายอื่นมาก แต่เขารู้ว่าถ้าได้เงินลงทุนสามารถทำให้ดีกว่านี้มากได้อย่างไร
จอห์นเองยังประเมินว่า ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนบริษัทนี้ก็น่ามีมูลค่าตลาด (Market Cap) ราว 1,000 ล้านเหรียญ แต่แลร์รี่คิดว่าน่าจะมีมูลค่า 10,000 ล้านเหรียญ และไม่ใช่มูลค่าตลาดซะด้วย แต่เป็น “รายได้” ซึ่งถ้าเช่นนั้นมูลค่าตลาดก็จะประมาณ 100,000 ล้านเหรียญ ซึ่งก็จะเป็นระดับไอบีเอ็ม อินเทลหรือไมโครซอฟท์ทีเดียว
แต่ 20 ปีต่อมา บริษัทแม่ของกูเกิลที่ชื่อ อัลฟาเบต มีมูลค่าตลาดถึง 7 แสนล้านเหรียญ เป็นบริษัทใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ในปี 2017 ขณะที่กูเกิลก็ติดอันดับ 1 ของนิตยสารฟอร์จูนเป็นปีที่ 6 ด้านบริษัทที่ดีเยี่ยม
ย้อนหลังไปวันที่ จอห์น ดัวร์ ในฐานะ VC ใส่เงินก้อนใหญ่ 11.8 ล้านเหรียญ เพื่อแลกกับหุ้น 12 % ของ Start-up อย่างกูเกิล จนถึงวันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่า เขาตัดสินใจถูก โดยมีสิ่งยืนยันตัวช่วยสำคัญคือ ระบบ OKRs นี่เอง
เรามาทำความเข้าใจโดยสังเขปถึงนวัตกรรมการบริหารที่มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายที่อักษรย่อ 3 ตัว บ่งบอกระบบ ได้แก่
Objective หรือ วัตถุประสงค์ เพื่อตอบคำถามว่า เราต้องการทำอะไร (What) ให้สำเร็จได้ (ข้อความบ่งบอกเรื่องที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไป)
วัตถุประสงค์ที่ดี ต้องเป็นเรื่องสำคัญ เป็นรูปธรรม จับต้องได้ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้เกิดแรงบันดาลใจของทีมงาน
Key Results ผลลัพธ์สำคัญ เป็นการระบุหัวข้อสิ่งที่จะทำ ตอบคำถามว่า “เราจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร” และวัดผลจากอะไร
มาริสา เมเยอร์ ผู้บริหารกูเกิลผู้หนึ่ง ต่อมาไปเป็น CEO ของยาฮู ระบุชัดว่า ถ้ายังวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ แสดงว่าไม่ใช่ผลลัพธ์ที่สำคัญ
ขณะเดียวกัน แม้หลักการของ OKRs พยายามส่งเสริมให้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แต่ก็ต้องอยู่ในวิสัยที่ทุ่มพลังเขย่งแล้วมีโอกาสเป็นไปได้
เมื่อมีการออกแบบวัตถุประสงค์ แล้วก็จะกระจายลงไปยังหน่วยงานระดับต่างๆ ที่ถัดลงมา ซึ่งจะต้องสื่อสารให้ระดับต่างๆ มุ่งมั่นสู่เป้าหมายทิศทางเดียวกัน ทั้งวิธีคิดและวิธีการทำงานที่ไปสู่ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้
จอห์นมักนำเสนอในการสร้างความเข้าใจบทบาทของระบบ OKRs โดยวาดภาพประกอบเป็นเหตุการณ์ทีมอเมริกันฟุตบอล มีการกระจายวัตถุประสงค์ทีมลงไปสู่ผู้เล่นทุกคนตามแผนผังการเล่น
เขามักเน้นย้ำ การสร้างคุณค่าทางการตลาดที่นำเสนอลูกค้าของกูเกิล และใช้ OKRs เป็นตัวช่วย ให้เป้าหมายชัดเจนและแม่นยำ อีกทั้งเป็นกลไกในการเสริมสร้างความร่วมมือและความมุ่งมั่นในองค์กร โดยเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการที่อาจซับซ้อนให้เข้ากัน สร้างความเป็นหนึ่งเดียว
ระบบ OKRs ในการบริหารจัดการเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
(1)ช่วยเชื่อมโยงเป้าหมาย ทีมงานเห็นภาพกว้างขึ้น
(2)ช่วยให้ทุกคนรักษาคำมั่นสัญญาที่จะทำงานเสร็จตามที่กำหนด
(3)เขาสามารถปรับเปลี่ยนวิธีทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
(4)ระบบนี้ช่วยส่งเสริมการพูดคุย เพื่อสะท้อนความคิดเห็น ความรู้สึกต่อกัน (Feedback)
(5)ร่วมฉลองความสำเร็จด้วยกัน ไม่ว่าเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่
(6)ระบบนี้จะช่วยให้สามารถขยายขีดจำกัดของทีมงาน เพื่อให้สามารถทำเป้าหมายที่ยากขึ้นไปได้อีก
บริษัทหลายร้อยแห่งที่ต่างประเภทและขนาดธุรกิจต่างเอาจริงเอาจังกับ “การกำหนดเป้าหมายอย่างมีแบบแผน” OKRs เปรียบเสมือนมีดแมกไกเวอร์ (มีดพับของ Swiss Army) ที่มีอุปกรณ์หลายๆ ชิ้นอยู่ในเล่มเดียวกัน เหมาะกับทุกสถานการณ์
1.Start-up ขนาดเล็ก จำเป็นต้องการเครื่องมือเพื่อความอยู่รอด ระบบ OKRs ช่วยให้คนในองค์กรเดินไปทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะวงการเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มต้น จะต้องเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้รับเงินลงทุนสนับสนุน (Funding) ก่อนที่เงินลงทุนของตัวเองจะหมด เป้าหมายที่มีโครงสร้างดี จะช่วยให้หมุดหมายความสำเร็จชัดเจน
2.องค์กรขนาดกลาง OKRs แสดงความคาดหวังที่จับต้องได้ ชัดเจน จึงเป็นสื่อกลางที่ทุกคนมีส่วนร่วมทำงาน
3.องค์กรขนาดใหญ่ OKRs ยังสามารถสร้างความร่วมมือทั้งองค์กรอย่างไร้ขอบเขต โดยให้อำนาจหน่วยงาน หน้างาน เกิดแนวทางใหม่ๆ สู่ความสำเร็จแบบใหม่ที่สามารถขยายความสำเร็จต่อไป
4.องค์กรสาธารณประโยชน์ เช่น มูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์ ที่เริ่มทุ่มทุน 20,000 ล้าน ก็นำ OKRs ไปใช้รายงานผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ให้บิลล์ เกตต์ ผู้ประกาศสงครามกับมาลาเรีย โปลิโอและ HIV
แม้บริษัทกูเกิลจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่แลร์รี่ก็ยังเริ่มต้นกำหนดเป้าหมายแต่ละไตรมาสด้วยตัวเอง และใช้เวลายาวมากเพื่อพูดคุย ถกเถียงหาข้อสรุปเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของทีมแข่ง
หลายบริษัทมีกฎเลข 7 คือจำกัดผู้จัดการมีผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรงไม่เกิน 7 คน แต่กูเกิลพลิกกฎเป็นว่า สร้างให้มีอย่างน้อย 7 คน (เพื่อให้องค์กรแบนราบมากขึ้น) เพราะระดับชั้นการบังคับบัญชาน้อยลง คนทำงานที่หน้างานมีอำนาจ-มีอิสระมากขึ้น
เปรียบเสมือนยิ่งมีปุ๋ยมาก ยิ่งมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งระบบ OKRs สามารถช่วยให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นได้
สรุปแล้วจะเห็นข้อดีชัดเจนว่าระบบOKRS ช่วยให้ทีมงานที่เกี่ยวข้อง สามาถรติดตามความคืบหน้าของการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายได้ตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็สามารถทบทวนหรือปรับเปลี่ยน แผนกลยุทธ์ให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เกิดขึ่น
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าถ้าองค์กรหรือหน่วยงานมีเป้าหมายผลงานที่ต้องการให้ได้ หากมีการขับเคลื่อนด้วยระบบOKRS ที่มีการสื่อสารความเข้าใจ และติดตามความความก้าวหน้าหรือจะปรับแผนให้ทันการก็ได้ ผลลัพธ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือพัณนาการณืของระบบงานและผลงานสู่เป้าหมายได้สมใจ
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ : ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKRs
ผู้เขียน : จอห์น ดัวร์
ผู้แปล : กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์, ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข, ธนากร นำรับพร, สุชาดา ปาเตีย, นฤมล ตันติฤทธิ์ศักดิ์, ดร.วิรินยาอร เหลืองบริบูรณ์
บรรณาธิการ : ณรงค์วิทย์ แสนทอง
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
สังคมได้ยินกิตติศัพท์ความก้าวหน้าและสำเร็จในการสร้างอาณาจักรธุรกิจของกูเกิลที่ขยายตัวทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างมีแผนและกลยุทธ์ในการทำงานที่โตไม่หยุด
ผมได้อ่านหนังสือ Measure What Matters ของ John Doerr ซึ่งทีมนักแปลและบรรณาธิการโดย ณรงค์วิทย์ แสนทอง ใช้ชื่อพากษ์ไทยว่า “ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKRs”
อ่านแล้วได้รับพลังความคิดและช่วยให้เข้าใจในแนวทางการจัดการของระบบ OKRs ผ่านการถ่ายทอดหลักคิดและกรณีตัวอย่างหลายบริษัทที่นำเครื่องมือนี้ไปใช้อย่างได้ผลดี
จอห์น ดัวร์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ผ่านการหล่อหลอมความเข้าใจจนเชี่ยวชาญเรื่อง OKRs จาก แอนดี้ โกรฟ ผู้บริหารสูงสุด (CEO) ของบริษัทอินเทล ผู้เป็นต้นตำรับจนได้ฉายาว่า “บิดาแห่ง OKRs” ตั้งแต่จอห์นไปเริ่มฝึกงานตอนเป็นบัณฑิตใหม่ๆ จนก้าวหน้าเป็นระดับบริหาร
เมื่อจอห์นผันตัวเองไปตั้งบริษัทร่วมลงทุนหรือ VC (Venture Capital) ก็ยังเชื่อมั่นว่า OKRs เป็นกระบวนการที่ให้มีผลผลักดันให้กิจการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น กิจการหรือโครงการใดที่มีความคิดดีและมีศักยภาพเติบโตได้ เขาจะตัดสินใจใส่เงินไปร่วมลงทุนด้วย แต่เขาจะแนะให้เอาระบบ OKRs ไปใช้
เพื่อไม่ให้สับสน ต้องขอกล่าวถึงระบบที่วงการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชนซึ้งคุ้นเคยกับการใช้หลัก ประเมินผลด้วยดัชนีชี้วัดผลงานสำคัญที่เรียกกันว่า KPI (Key Performance Indicators)
มีการเตรียมตั้งเป้าหมายโดยการกำหนดจากผุ้บริหารรลงสู่ผู้ปฏิบัติงานตอนปลายปี และเริ่มใช้ตั้งแต่ปีใหม่แล้วไปวัดผลงานปลายปี เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การปรับเงินเดือน โบนัสหรือเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน
KPI จึงเป็นการวัดผลตามหลังผลงานและไม่สามารถแก้ไขผลที่เกิดขึ้นแล้ว
ส่วน Okrs เป็นกระบวนการกำหนดเป้าหมายโดยOคือวัตถุประสงค์ (Objective) และKRคือผลลัพธ์ที่สำคัญ (Key Results) ซึ่งระบุภารกิจที่ที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายและติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ
ระบบ OKR07 จึงไม่ใช่เริ่มกำหนดเป้าหมายจากระดับบนอย่างKPI แต่ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และเป็นระบบเปิดเผย แถมการวัดผลยังไม่เชื่อมโยงกับค่าตอบแทนหรือการขึ้นเงินเดือน
เพราะ OKRS มุ่งให้มีผลในการเรียนรู้และพัฒนางานที่มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น (Impact)
ก็ลองคิดดูว่า เมื่อวันที่ แลร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ที่ร่วมก่อตั้งบริษัท กูเกิล ตอนนั้นยังเป็นเสิร์ชเอ็นจิน อันดับ 18 ในวงการเว็บ ที่ยังช้ากว่ารายอื่นมาก แต่เขารู้ว่าถ้าได้เงินลงทุนสามารถทำให้ดีกว่านี้มากได้อย่างไร
จอห์นเองยังประเมินว่า ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนบริษัทนี้ก็น่ามีมูลค่าตลาด (Market Cap) ราว 1,000 ล้านเหรียญ แต่แลร์รี่คิดว่าน่าจะมีมูลค่า 10,000 ล้านเหรียญ และไม่ใช่มูลค่าตลาดซะด้วย แต่เป็น “รายได้” ซึ่งถ้าเช่นนั้นมูลค่าตลาดก็จะประมาณ 100,000 ล้านเหรียญ ซึ่งก็จะเป็นระดับไอบีเอ็ม อินเทลหรือไมโครซอฟท์ทีเดียว
แต่ 20 ปีต่อมา บริษัทแม่ของกูเกิลที่ชื่อ อัลฟาเบต มีมูลค่าตลาดถึง 7 แสนล้านเหรียญ เป็นบริษัทใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ในปี 2017 ขณะที่กูเกิลก็ติดอันดับ 1 ของนิตยสารฟอร์จูนเป็นปีที่ 6 ด้านบริษัทที่ดีเยี่ยม
ย้อนหลังไปวันที่ จอห์น ดัวร์ ในฐานะ VC ใส่เงินก้อนใหญ่ 11.8 ล้านเหรียญ เพื่อแลกกับหุ้น 12 % ของ Start-up อย่างกูเกิล จนถึงวันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่า เขาตัดสินใจถูก โดยมีสิ่งยืนยันตัวช่วยสำคัญคือ ระบบ OKRs นี่เอง
เรามาทำความเข้าใจโดยสังเขปถึงนวัตกรรมการบริหารที่มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายที่อักษรย่อ 3 ตัว บ่งบอกระบบ ได้แก่
Objective หรือ วัตถุประสงค์ เพื่อตอบคำถามว่า เราต้องการทำอะไร (What) ให้สำเร็จได้ (ข้อความบ่งบอกเรื่องที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไป)
วัตถุประสงค์ที่ดี ต้องเป็นเรื่องสำคัญ เป็นรูปธรรม จับต้องได้ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้เกิดแรงบันดาลใจของทีมงาน
Key Results ผลลัพธ์สำคัญ เป็นการระบุหัวข้อสิ่งที่จะทำ ตอบคำถามว่า “เราจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร” และวัดผลจากอะไร
มาริสา เมเยอร์ ผู้บริหารกูเกิลผู้หนึ่ง ต่อมาไปเป็น CEO ของยาฮู ระบุชัดว่า ถ้ายังวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ แสดงว่าไม่ใช่ผลลัพธ์ที่สำคัญ
ขณะเดียวกัน แม้หลักการของ OKRs พยายามส่งเสริมให้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แต่ก็ต้องอยู่ในวิสัยที่ทุ่มพลังเขย่งแล้วมีโอกาสเป็นไปได้
เมื่อมีการออกแบบวัตถุประสงค์ แล้วก็จะกระจายลงไปยังหน่วยงานระดับต่างๆ ที่ถัดลงมา ซึ่งจะต้องสื่อสารให้ระดับต่างๆ มุ่งมั่นสู่เป้าหมายทิศทางเดียวกัน ทั้งวิธีคิดและวิธีการทำงานที่ไปสู่ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้
จอห์นมักนำเสนอในการสร้างความเข้าใจบทบาทของระบบ OKRs โดยวาดภาพประกอบเป็นเหตุการณ์ทีมอเมริกันฟุตบอล มีการกระจายวัตถุประสงค์ทีมลงไปสู่ผู้เล่นทุกคนตามแผนผังการเล่น
เขามักเน้นย้ำ การสร้างคุณค่าทางการตลาดที่นำเสนอลูกค้าของกูเกิล และใช้ OKRs เป็นตัวช่วย ให้เป้าหมายชัดเจนและแม่นยำ อีกทั้งเป็นกลไกในการเสริมสร้างความร่วมมือและความมุ่งมั่นในองค์กร โดยเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการที่อาจซับซ้อนให้เข้ากัน สร้างความเป็นหนึ่งเดียว
ระบบ OKRs ในการบริหารจัดการเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
(1)ช่วยเชื่อมโยงเป้าหมาย ทีมงานเห็นภาพกว้างขึ้น
(2)ช่วยให้ทุกคนรักษาคำมั่นสัญญาที่จะทำงานเสร็จตามที่กำหนด
(3)เขาสามารถปรับเปลี่ยนวิธีทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
(4)ระบบนี้ช่วยส่งเสริมการพูดคุย เพื่อสะท้อนความคิดเห็น ความรู้สึกต่อกัน (Feedback)
(5)ร่วมฉลองความสำเร็จด้วยกัน ไม่ว่าเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่
(6)ระบบนี้จะช่วยให้สามารถขยายขีดจำกัดของทีมงาน เพื่อให้สามารถทำเป้าหมายที่ยากขึ้นไปได้อีก
บริษัทหลายร้อยแห่งที่ต่างประเภทและขนาดธุรกิจต่างเอาจริงเอาจังกับ “การกำหนดเป้าหมายอย่างมีแบบแผน” OKRs เปรียบเสมือนมีดแมกไกเวอร์ (มีดพับของ Swiss Army) ที่มีอุปกรณ์หลายๆ ชิ้นอยู่ในเล่มเดียวกัน เหมาะกับทุกสถานการณ์
1.Start-up ขนาดเล็ก จำเป็นต้องการเครื่องมือเพื่อความอยู่รอด ระบบ OKRs ช่วยให้คนในองค์กรเดินไปทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะวงการเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มต้น จะต้องเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้รับเงินลงทุนสนับสนุน (Funding) ก่อนที่เงินลงทุนของตัวเองจะหมด เป้าหมายที่มีโครงสร้างดี จะช่วยให้หมุดหมายความสำเร็จชัดเจน
2.องค์กรขนาดกลาง OKRs แสดงความคาดหวังที่จับต้องได้ ชัดเจน จึงเป็นสื่อกลางที่ทุกคนมีส่วนร่วมทำงาน
3.องค์กรขนาดใหญ่ OKRs ยังสามารถสร้างความร่วมมือทั้งองค์กรอย่างไร้ขอบเขต โดยให้อำนาจหน่วยงาน หน้างาน เกิดแนวทางใหม่ๆ สู่ความสำเร็จแบบใหม่ที่สามารถขยายความสำเร็จต่อไป
4.องค์กรสาธารณประโยชน์ เช่น มูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์ ที่เริ่มทุ่มทุน 20,000 ล้าน ก็นำ OKRs ไปใช้รายงานผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ให้บิลล์ เกตต์ ผู้ประกาศสงครามกับมาลาเรีย โปลิโอและ HIV
แม้บริษัทกูเกิลจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่แลร์รี่ก็ยังเริ่มต้นกำหนดเป้าหมายแต่ละไตรมาสด้วยตัวเอง และใช้เวลายาวมากเพื่อพูดคุย ถกเถียงหาข้อสรุปเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของทีมแข่ง
หลายบริษัทมีกฎเลข 7 คือจำกัดผู้จัดการมีผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรงไม่เกิน 7 คน แต่กูเกิลพลิกกฎเป็นว่า สร้างให้มีอย่างน้อย 7 คน (เพื่อให้องค์กรแบนราบมากขึ้น) เพราะระดับชั้นการบังคับบัญชาน้อยลง คนทำงานที่หน้างานมีอำนาจ-มีอิสระมากขึ้น
เปรียบเสมือนยิ่งมีปุ๋ยมาก ยิ่งมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งระบบ OKRs สามารถช่วยให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นได้
สรุปแล้วจะเห็นข้อดีชัดเจนว่าระบบOKRS ช่วยให้ทีมงานที่เกี่ยวข้อง สามาถรติดตามความคืบหน้าของการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายได้ตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็สามารถทบทวนหรือปรับเปลี่ยน แผนกลยุทธ์ให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เกิดขึ่น
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าถ้าองค์กรหรือหน่วยงานมีเป้าหมายผลงานที่ต้องการให้ได้ หากมีการขับเคลื่อนด้วยระบบOKRS ที่มีการสื่อสารความเข้าใจ และติดตามความความก้าวหน้าหรือจะปรับแผนให้ทันการก็ได้ ผลลัพธ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือพัณนาการณืของระบบงานและผลงานสู่เป้าหมายได้สมใจ
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ : ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKRs
ผู้เขียน : จอห์น ดัวร์
ผู้แปล : กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์, ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข, ธนากร นำรับพร, สุชาดา ปาเตีย, นฤมล ตันติฤทธิ์ศักดิ์, ดร.วิรินยาอร เหลืองบริบูรณ์
บรรณาธิการ : ณรงค์วิทย์ แสนทอง
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
แนะนำหนังสือ Smart Business เจาะกลยุทธ์อาลีบาบาพลิกโฉมโลก ผู้เขียน : หมิงเจิ้ง ผู้แปล : ชัชวนันท์ สันธิเดช สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น ราคา 350 บาท แกะรอย ALIBABA สุดยอดบริษัท IT อัจฉริยะแดนมังกร กับกลยุทธ์ความสำเร็จ ที่โลกต้องเดินตาม ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว ผู้เขียน : ธนินท์ เจียรวนนท์ สำนักพิมพ์ : มติชน ราคา 295 บาท หนังสือเล่มแรกที่บอกเล่าเส้นทางชีวิต วิธีคิด การสร้างธุรกิจ โดยเจ้าของเรื่องตัวจริง "ธนินท์ เจียรวนนท์" เพื่อนักธุรกิจรุ่นต่อไป สู่การสร้างเศรษฐกิจชาติที่เข้มแข็ง พูดแบบนี้คนเข้าใจ คุยแบบนี้ใครก็ยอม ผู้เขียน : มาร์ค โรดส์ ผู้แปล : จิรประภา ประคุณหังสิต สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์ ฮาว ทู ราคา 245 บาท เลิกปล่อยให้ความกลัวและความวิตกกังวลรั้งคุณไว้ในเงามืดเสียที ก้าวสู่แสงสว่างและหัดออกไปพูดคุยกับคนอื่น ซึ่งจำเป็นต่อการทำให้ชีวิตของคุณมีความสุขและประสบความสำเร็จ เปลี่ยนชีวิตให้เป๊ะปัง ด้วยพลังจากรูปภาพ ผู้เขียน : ธนพร โถวรุ่งเรือง สำนักพิมพ์ : วิช ราคา 259 บาท Vision Board" เป็นหนึ่งใน "อุปกรณ์เสริม" ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถไปถึง "ชีวิตในฝัน" ได้ง่ายและเร็วขึ้น หากคุณเข้าใจและใช้มันเป็น มาปล่อยปลาดาวกันเถอะ ผู้เขียน : เรวดี สุขสราญรมย์ สำนักพิมพ์ : เชนจ์พลัส ราคา 222 บาท วิธีโค้ชตนเองอย่างไรให้มีความสุขและประสบความสำเร็จ คุณจะรู้ว่าการรักตนเองได้มากขึ้นถึงมากที่สุดนั้นทำอย่างไร รักตัวเองยิ่งมาก การรักคนอื่นยิ่งไม่ต้องพยายาม นำมาซึ่งความสุขที่แท้จริงอย่างไร |