ในปกติของมนุษย์เรานั้นย่อมสามารถควบคุมระบบการทำงานของตนเองได้อย่างตามใจชอบอยู่แล้ว โดยทั่วไปเราอยากจะบังคับส่วนไหนของร่างกายตรงไหนก็ได้ แล้วแต่เราอยากจะทำ แต่ในขณะเดียวกัน หากกล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหวได้เองโดยไม่ได้ถูกบังคับให้ใช้งาน นั่นคือสัญญาณของโรคทูเร็ตต์ หรือกลุ่มอาการกล้ามเนื้อกระตุกเอง

โรคทูเร็ตต์ คืออะไร
สำหรับสาเหตุของโรคนี้นั้น แม้ว่าในปัจจุบันนั้นจะยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคที่แท้จริงได้ แต่ในทางการแพทย์มีความเชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ทั้งทางพันธุกรรม ชีวภาพ และจิตใจ เลยส่งผลให้กล้ามเนื้อมีความไวเป็นพิเศษ จนทำให้บริเวณกล้ามเนื้อมีการกระตุกได้ง่าย แต่ก็มีรายงานพบด้วยว่า สาเหตุของโรคนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระดับสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะในด้านสื่อประสาทที่ทำให้เซลล์ประสาทมีการกระตุ้นเซลล์ข้างเคียงมากเกินไปอีกด้วย
อาการของโรค
- มีอาการเพียงเล็กน้อย
มักจะพบในครั้งแรกตรงบริเวณใบหน้า เช่น ตาขยิบ ใบหน้าขมุบขมิบ เป็นต้น
- มีการแสดงอาการที่ชัดเจน
ด้านการเคลื่อนไหว จะมีอาการบิดคอ ยักไหล่ สะบัดมือ มีการต่อย เตะ หรือกระโดด เป็นต้น
ด้านการส่งเสียง จะมีอาการ เช่น เปล่งเสียงขากเสลด ทำเสียงฟึดฟัดคัดจมูก ไอกระแอม ทำเสียงต่างๆ ไปจนถึงมีการพูดในลักษณะต่างๆ อย่างไม่รู้ตัว โดยท่าทีของอาการมีทั้งเป็นแบบเป็นๆ หายๆ อาจเป็นได้หลายครั้งใน 1 วัน หรือหายจากอาการแล้วกลับมาเป็นใหม่ก็ได้ อีกทั้งแนวโน้มของอาการก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง คือ มีทั้งอาการดีขึ้น และอาการแย่ลงก็เป็นได้
ปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อเป็นโรคนี้
- ควรคลายความกังวลกับอาการของตนเอง
- ทำกิจกรรมที่สนใจ และพยายามไม่เครียด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอน หรือนอนน้อย เพราะจะทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดอาการยิ่งขึ้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เน้นการออกกำลังกายที่ต้องใช้สมาธิ เช่น โยคะ หรือชนิดกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีม เพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวตลอดเวลา จะทำให้คลายความกังวลต่ออาการได้
- พยายามสังเกตและเข้าใจตนเองให้มากที่สุด ต้องสังเกตด้วยว่าจะสามารถหยุดอาการได้ด้วยวิธีใด
โรคทูเร็ตต์ คืออะไร
สำหรับสาเหตุของโรคนี้นั้น แม้ว่าในปัจจุบันนั้นจะยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคที่แท้จริงได้ แต่ในทางการแพทย์มีความเชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ทั้งทางพันธุกรรม ชีวภาพ และจิตใจ เลยส่งผลให้กล้ามเนื้อมีความไวเป็นพิเศษ จนทำให้บริเวณกล้ามเนื้อมีการกระตุกได้ง่าย แต่ก็มีรายงานพบด้วยว่า สาเหตุของโรคนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระดับสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะในด้านสื่อประสาทที่ทำให้เซลล์ประสาทมีการกระตุ้นเซลล์ข้างเคียงมากเกินไปอีกด้วย
อาการของโรค
- มีอาการเพียงเล็กน้อย
มักจะพบในครั้งแรกตรงบริเวณใบหน้า เช่น ตาขยิบ ใบหน้าขมุบขมิบ เป็นต้น
- มีการแสดงอาการที่ชัดเจน
ด้านการเคลื่อนไหว จะมีอาการบิดคอ ยักไหล่ สะบัดมือ มีการต่อย เตะ หรือกระโดด เป็นต้น
ด้านการส่งเสียง จะมีอาการ เช่น เปล่งเสียงขากเสลด ทำเสียงฟึดฟัดคัดจมูก ไอกระแอม ทำเสียงต่างๆ ไปจนถึงมีการพูดในลักษณะต่างๆ อย่างไม่รู้ตัว โดยท่าทีของอาการมีทั้งเป็นแบบเป็นๆ หายๆ อาจเป็นได้หลายครั้งใน 1 วัน หรือหายจากอาการแล้วกลับมาเป็นใหม่ก็ได้ อีกทั้งแนวโน้มของอาการก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง คือ มีทั้งอาการดีขึ้น และอาการแย่ลงก็เป็นได้
ปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อเป็นโรคนี้
- ควรคลายความกังวลกับอาการของตนเอง
- ทำกิจกรรมที่สนใจ และพยายามไม่เครียด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอน หรือนอนน้อย เพราะจะทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดอาการยิ่งขึ้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เน้นการออกกำลังกายที่ต้องใช้สมาธิ เช่น โยคะ หรือชนิดกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีม เพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวตลอดเวลา จะทำให้คลายความกังวลต่ออาการได้
- พยายามสังเกตและเข้าใจตนเองให้มากที่สุด ต้องสังเกตด้วยว่าจะสามารถหยุดอาการได้ด้วยวิธีใด