ถ้าคุณต้องเผชิญกับภารกิจที่ “สําคัญและด่วน” คุณจะจัดการอย่างไร
แน่นอนครับ คำตอบมักจะเป็นว่า “ต้องรีบจัดการทันที” เพราะไม่มีสิทธิ์ต่อรอง ไม่เช่นนั้นสถานการณณ์อาจถึงขั้นวิกฤติ และจะเกิดผลเสียหายตามมา แล้วถ้าเรื่องนั้น “สําคัญ แต่ไม่ด่วน” ล่ะ คุณจะจัดการอย่างไร
ผมเคยหยอดคำถามนี้เมื่อไปบรรยายครั้งหนึ่ง ก็มีคนตอบทำนองว่า “ทำเรื่องอื่นที่ด่วนกว่าก่อน” หรือ “เอาไว้...มีเวลาค่อยทำ” แต่เวลาที่อ้างว่าจะรอนั้นไม่รู้ว่าจะมาถึงเมื่อไหร่ ทั้งๆ ที่เรื่อง “สําคัญ แต่ยังไม่ด่วน” ก็ควรใส่เข้าไปใน “แผน” ที่มีการกำหนดวันเวลาและวิธีทำด้วย มิฉะนั้นเรื่องสําคัญนั้น อาจถูกละเลยและสะสมปัญหาไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่อง “สําคัญและด่วน” ที่อาจถึงขั้นวิกฤติ
ตัวอย่างชัดเจนก็คือ “สุขภาพ” ไงครับ ที่ดูเหมือนทุกคนจะรับรู้ว่า “สําคัญ” แต่มักคิดว่า “ไม่ด่วน” เคยชินกับการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไม่ดูแลสุขภาพ จนกระทั่งการกิน การใช้ร่างกายที่ไม่ถูกสุขลักษณะสะสมปัญหาไปเรื่อยๆ โดยไม่ใส่ใจกับสัญญาณเตือนภัยที่ร่างกายแจ้งอาการผิดปกติมาเรื่อยๆ เช่น มีอาการปวด เมื่อย เครียด หายใจติดขัด เป็นต้น
เมื่อถึงวันที่อาการเข้าขั้นวิกฤติ เงินทองที่ดิ้นรนแสวงหาอย่างไม่รู้จักประมาณ ก็อาจได้ไปใช้เงินที่ห้องไอซียู ในโรงพยาบาล ทั้งๆ ที่โรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจาก “พฤติกรรมเสี่ยงที่ตัวเองทำ” กลายเป็น 6 โรคฮิต ที่เราได้ยินบ่อยจนน่าห่วงก็คือ 1.เบาหวาน 2.หลอดเลือดสมองและหัวใจ 3.ถุงลมโป่งพอง 4.มะเร็ง 5.ความดันโลหิตสูง 6.อ้วนลงพุง
องค์การสหประชาชาติ เรียกว่ากลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) พากษ์ไทยว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ฟังชื่อแล้วเหมือนไม่น่ากลัว แต่กลับเป็นสาเหตุทำให้จำนวนคนเสียชีวิตสูงมากทั่วโลก (โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาอย่างเมืองไทย)
ดังนั้น เมื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จัดงานใหญ่ในโอกาสครบรอบ 18 ปี ที่ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ช่วงวันที่ 5-8 กันยายน ศกนี้ ด้วยชื่องานว่า “ชีวิตดีเริ่มที่เรา” จึงน่าสนใจมาก
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ยืนยันด้วยข้อมูลที่น่าสังเกตว่า มีคนไทยเกือบ 4 แสนคน เสียชีวิตก่อนวัยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 76 ของการตายทั้งหมด และจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 ที่สำรวจพฤติกรรมคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปพบว่า สูบบุหรี่ 10.70 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.10 ความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยงปานกลางขึ้นไปในช่วง 30 วัน มีร้อยละ 27.5 ต่อวัน
ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ขาดการมีกิจกรรมทางกาย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็มจัด รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ เกิดความเครียดในการดำรงชีวิต รวมทั้งอุบัติเหตุ ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดร.สุปรีดา ยืนยันว่า โรค NCDs “ป้องกันได้” แต่สิ่งสำคัญของทุกความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จาก การเริ่มต้นลงมือทำอย่างจริงจัง การจัดงาน “ชีวิตดี เริ่มที่เรา” ตลอด 4 วัน มีการเสวนา กิจกรรมและนิทรรศการหลายแง่มุม ชูแนวคิด “ชนะในความแพ้” คือ การลุกขึ้นมาเปลี่ยนตัวเองหรือคนรอบข้าง สร้างกำลังใจในการลุกขึ้นมามีสุขภาพที่ดี 18 ปีที่ผ่านมาบทบาทของสสส. มีทั้งการรณรงค์ จุดประกายความคิด กระตุ้น ส่งเสริมและเสริมพลังความร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆในสังคม ทำให้ สสส.ได้เรียนรู้ เข้าใจ และเห็นโอกาส จนเชื่อมั่นว่าทุกคนจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยการที่ลงมือทำ เริ่มต้นเอาชนะใจตัวเอง
มี 8 ด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม หากเราลงมือทำ และเอาชนะได้ ก็จะทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจดี และส่งผลไปถึงสร้างสังคมให้น่าอยู่ เรามาดูตัวอย่างสัก3 ด้าน กันนะครับ
1.กินแต่พอดี ขยับกายเสมอ
การกินมีความสัมพันธ์กับการมีสุขภาพดี You are what you eat เป็นวลีของฝรั่งที่ให้ความหมายได้ตรงประเด็น เพราะทุกอย่างที่เรากินเข้าไปล้วนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหวาน มัน เค็ม มากเกินไป ก็จะแสดงผลลัพธ์กลับมาเป็นโรคเบาหวาน ความดัน น้ำหนักเกิน ไขมันสูงเกิน
ฉะนั้น ถ้าอยากมีสุขภาพที่ดี สิ่งแรกที่ต้องเอาชนะให้ได้ก็คือ เปลี่ยนการรับประทานอาหารของตัวเองด้วยการกินผักผลไม้อย่างเพียงพอ ลดหวาน มัน เค็ม ควบคู่ไปกับการเผาผลาญพลังงานด้วยการออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสมในแต่ละวัน
2.สร้างภูมิคุ้มกันจิตใจให้แข็งแรง
พื้นฐานจิตใจที่เข้มแข็งจึงนำไปสู่การมีสุขภาพกายและใจที่ดีได้ สุขภาพจิตที่ดี คือ กาารที่เรารู้สึกดีและภูมิใจในตัวเอง (Self Esteem) เพราะเมื่อมีสิ่งเหล่านี้ เราจะมีพลังในการทำสิ่งอื่นๆ การฝึกมองโลกในแง่ดี จะช่วยเรามองปัญหาในแง่ดี มองเห็นโอกาสที่แฝงมากับปัญหา มองเห็นบทเรียนชีวิตที่ จะช่วยให้เราเติบโตและเข้าใจชีวิตมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมทางกาย เช่น เคลื่อนไหวร่างกายอย่างยืน เดิน แกว่งแขน หรือมีกิจกรรมที่ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น อย่างวิ่งเหยาะๆ เต้น ปั่นจักรยาน ไปจนถึงทำให้หัวใจเต้นแรงด้วยการวิ่ง เล่นกีฬา สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ไม่ให้เกิดพลังงานส่วนเกินสะสมจนกลายเป็นไขมันตามร่างกายและอุดตันตามเส้นเลือด หากต้องการลดไขมันส่วนเกิน ทำได้ง่ายๆ ด้วยการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง 10 นาทีต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
สสส.ยังให้สูตรดีๆ เพื่อสุขภาพ
• จานสุขภาพ 2:1:1 คือ การแบ่งสัดส่วนของอาหารในจานเป็น 4 ส่วน ผัก 2 ส่วน แป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ 1 ส่วน จะเป็นปริมาณอาหารที่เหมาะสมต่อมื้อ
• สูตรเด็ด 6:6:1 คือ การปรุงให้พอดีลดความเสี่ยงโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต ด้วยเครื่องปรุงรสไม่เกินนี้ คือ น้ำตาล 6 ช้อนชาต่อวัน ไขมัน 6 ช้อนชาต่อวัน และเกลือ 1 ช้อนชาต่อวัน (ต้องระวังเครื่องปรุงที่แฝงมาในอาหารต่างๆ ด้วย)
3.ภูมิคุ้มกันชีวิตเริ่มที่ครอบครัว
ครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตทุกคน ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนคลอด และเติบโตขึ้น ครอบครัวคือเบ้าหล่อหลอมที่จะสร้างให้เราเติบโตขึ้นเป็นคนแบบไหน
มีวิธีง่ายๆที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ
• เล่นกับลูก ชวนลูกเล่นกิจกรรมที่ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดความสุขสนุก ยังสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อ ฝึกทักษะและเรียนรู้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา
• อ่านกับลูก การอ่านคือการเปิดโลกความสุข และโลกการเรียนรู้ไม่รู้จบ รวมทั้งได้ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน
• ชวนลูกคุย ช่วยพัฒนาลูกดังนี้ ช่วยลูกพัฒนาทักษะทางภาษา ช่วยกระตุ้นสมอง ช่วยเพิ่มความรู้ ช่วยให้ลูกเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ช่วยพัฒนาการสื่อสารของลูก
• ชวนลูกทำ ให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง ช่วยสร้างสุขนิสัยที่ดี รู้จักวางแผน มีความคิดที่เป็นระบบและฝึกความรับผิดชอบ
• ชวนลูกเที่ยว ช่วยพัฒนาลูก จากการเปิดโลกของลูก ช่วยให้ลูกได้เจอคนที่หลากหลาย ได้ใช้เวลาร่วมกัน ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ
ข้อคิด...
ใครที่เคยเข้าใจว่า สสส. รณรงค์ให้เลิกเสพเหล้าและบุหรี่ ผ่านมาถึง 18 ปี ในวันนี้ หากติดตามการทำงาน (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ที่ดีก็น่าจะทำให้เข้าใจชัดว่า เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทย การตกผลึกจากข้อมูลและประสบการณ์ที่รณรงค์ กระตุ้นความตระหนักรู้เรื่อง การ “สร้าง” สุขภาพที่ดีไม่รอมา “ซ่อม” สุขภาพตอนป่วยที่เส้นหายมากกว่ามาก
การสร้างสรรค์ให้เกิดกลไกสร้างเสริมสุขภาพที่มีกลยุทธ์อย่าง สสส. จึงเป็น “นวัตกรรมสังคม” ที่น่าสนับสนุนดังที่ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.กระทรวงสาธารณสุข ผู้เป็นรองประธานกรรมการสสส. คนที่ 1 กล่าวเมื่อวันเป็นประธานเปิดงาน “ชีวิตดี เริ่มที่เรา” กล่าวถึง สสส.ว่า มีผลงานเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และเป็นอันดับ 3 ของโลก และในปีนี้มุ่งเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำในการป้องกันโรค NCDs เป็นอันดับ 1 ของโลก
เมื่อผู้บริหารภาครัฐ มีความเข้าใจประเด็น และสนับสนุนด้วยมาตรการทางกฎหมาย ก็จะยิ่งช่วยให้การขับเคลื่อนโครงการมีโอกาสใกล้บรรลุเป้าหมาย
ดังเช่นมาตรการภาษีที่เก็บตามความหวาน เพื่อป้องกันโรคภัยจากสาเหตุการใส่น้ำตาลเกินระดับปลอดภัย ซึ่งมีหลายยี่ห้อ ทางสรรพากรจะเริ่มเพิ่มภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ก็หวังว่าจะช่วยให้ผู้บริโภคที่รักชีวิต เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพ และมีกิจกรรมทางกายตามแนวทางการแนะนำของสสส.
เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยเสี่ยงทั้งการกิน การใช้ชีวิต เพื่อชีวิตในอนาคตของเราเอง
รายละเอียดเพิ่มเติม
• ชีวิตดี เริ่มที่เรา
• คู่มือประจำวัยรับมือยังไงวัย 18
ผู้จัดทำ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สามารถดาวน์โหลดคู่มือ ได้ที่ : www.thaihealth.or.th/livehealthier
แน่นอนครับ คำตอบมักจะเป็นว่า “ต้องรีบจัดการทันที” เพราะไม่มีสิทธิ์ต่อรอง ไม่เช่นนั้นสถานการณณ์อาจถึงขั้นวิกฤติ และจะเกิดผลเสียหายตามมา แล้วถ้าเรื่องนั้น “สําคัญ แต่ไม่ด่วน” ล่ะ คุณจะจัดการอย่างไร
ผมเคยหยอดคำถามนี้เมื่อไปบรรยายครั้งหนึ่ง ก็มีคนตอบทำนองว่า “ทำเรื่องอื่นที่ด่วนกว่าก่อน” หรือ “เอาไว้...มีเวลาค่อยทำ” แต่เวลาที่อ้างว่าจะรอนั้นไม่รู้ว่าจะมาถึงเมื่อไหร่ ทั้งๆ ที่เรื่อง “สําคัญ แต่ยังไม่ด่วน” ก็ควรใส่เข้าไปใน “แผน” ที่มีการกำหนดวันเวลาและวิธีทำด้วย มิฉะนั้นเรื่องสําคัญนั้น อาจถูกละเลยและสะสมปัญหาไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่อง “สําคัญและด่วน” ที่อาจถึงขั้นวิกฤติ
ตัวอย่างชัดเจนก็คือ “สุขภาพ” ไงครับ ที่ดูเหมือนทุกคนจะรับรู้ว่า “สําคัญ” แต่มักคิดว่า “ไม่ด่วน” เคยชินกับการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไม่ดูแลสุขภาพ จนกระทั่งการกิน การใช้ร่างกายที่ไม่ถูกสุขลักษณะสะสมปัญหาไปเรื่อยๆ โดยไม่ใส่ใจกับสัญญาณเตือนภัยที่ร่างกายแจ้งอาการผิดปกติมาเรื่อยๆ เช่น มีอาการปวด เมื่อย เครียด หายใจติดขัด เป็นต้น
เมื่อถึงวันที่อาการเข้าขั้นวิกฤติ เงินทองที่ดิ้นรนแสวงหาอย่างไม่รู้จักประมาณ ก็อาจได้ไปใช้เงินที่ห้องไอซียู ในโรงพยาบาล ทั้งๆ ที่โรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจาก “พฤติกรรมเสี่ยงที่ตัวเองทำ” กลายเป็น 6 โรคฮิต ที่เราได้ยินบ่อยจนน่าห่วงก็คือ 1.เบาหวาน 2.หลอดเลือดสมองและหัวใจ 3.ถุงลมโป่งพอง 4.มะเร็ง 5.ความดันโลหิตสูง 6.อ้วนลงพุง
องค์การสหประชาชาติ เรียกว่ากลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) พากษ์ไทยว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ฟังชื่อแล้วเหมือนไม่น่ากลัว แต่กลับเป็นสาเหตุทำให้จำนวนคนเสียชีวิตสูงมากทั่วโลก (โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาอย่างเมืองไทย)
ดังนั้น เมื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จัดงานใหญ่ในโอกาสครบรอบ 18 ปี ที่ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ช่วงวันที่ 5-8 กันยายน ศกนี้ ด้วยชื่องานว่า “ชีวิตดีเริ่มที่เรา” จึงน่าสนใจมาก
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ยืนยันด้วยข้อมูลที่น่าสังเกตว่า มีคนไทยเกือบ 4 แสนคน เสียชีวิตก่อนวัยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 76 ของการตายทั้งหมด และจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 ที่สำรวจพฤติกรรมคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปพบว่า สูบบุหรี่ 10.70 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.10 ความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเสี่ยงปานกลางขึ้นไปในช่วง 30 วัน มีร้อยละ 27.5 ต่อวัน
ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ขาดการมีกิจกรรมทางกาย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็มจัด รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ เกิดความเครียดในการดำรงชีวิต รวมทั้งอุบัติเหตุ ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดร.สุปรีดา ยืนยันว่า โรค NCDs “ป้องกันได้” แต่สิ่งสำคัญของทุกความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จาก การเริ่มต้นลงมือทำอย่างจริงจัง การจัดงาน “ชีวิตดี เริ่มที่เรา” ตลอด 4 วัน มีการเสวนา กิจกรรมและนิทรรศการหลายแง่มุม ชูแนวคิด “ชนะในความแพ้” คือ การลุกขึ้นมาเปลี่ยนตัวเองหรือคนรอบข้าง สร้างกำลังใจในการลุกขึ้นมามีสุขภาพที่ดี 18 ปีที่ผ่านมาบทบาทของสสส. มีทั้งการรณรงค์ จุดประกายความคิด กระตุ้น ส่งเสริมและเสริมพลังความร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆในสังคม ทำให้ สสส.ได้เรียนรู้ เข้าใจ และเห็นโอกาส จนเชื่อมั่นว่าทุกคนจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยการที่ลงมือทำ เริ่มต้นเอาชนะใจตัวเอง
มี 8 ด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม หากเราลงมือทำ และเอาชนะได้ ก็จะทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจดี และส่งผลไปถึงสร้างสังคมให้น่าอยู่ เรามาดูตัวอย่างสัก3 ด้าน กันนะครับ
1.กินแต่พอดี ขยับกายเสมอ
การกินมีความสัมพันธ์กับการมีสุขภาพดี You are what you eat เป็นวลีของฝรั่งที่ให้ความหมายได้ตรงประเด็น เพราะทุกอย่างที่เรากินเข้าไปล้วนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหวาน มัน เค็ม มากเกินไป ก็จะแสดงผลลัพธ์กลับมาเป็นโรคเบาหวาน ความดัน น้ำหนักเกิน ไขมันสูงเกิน
ฉะนั้น ถ้าอยากมีสุขภาพที่ดี สิ่งแรกที่ต้องเอาชนะให้ได้ก็คือ เปลี่ยนการรับประทานอาหารของตัวเองด้วยการกินผักผลไม้อย่างเพียงพอ ลดหวาน มัน เค็ม ควบคู่ไปกับการเผาผลาญพลังงานด้วยการออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสมในแต่ละวัน
2.สร้างภูมิคุ้มกันจิตใจให้แข็งแรง
พื้นฐานจิตใจที่เข้มแข็งจึงนำไปสู่การมีสุขภาพกายและใจที่ดีได้ สุขภาพจิตที่ดี คือ กาารที่เรารู้สึกดีและภูมิใจในตัวเอง (Self Esteem) เพราะเมื่อมีสิ่งเหล่านี้ เราจะมีพลังในการทำสิ่งอื่นๆ การฝึกมองโลกในแง่ดี จะช่วยเรามองปัญหาในแง่ดี มองเห็นโอกาสที่แฝงมากับปัญหา มองเห็นบทเรียนชีวิตที่ จะช่วยให้เราเติบโตและเข้าใจชีวิตมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมทางกาย เช่น เคลื่อนไหวร่างกายอย่างยืน เดิน แกว่งแขน หรือมีกิจกรรมที่ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น อย่างวิ่งเหยาะๆ เต้น ปั่นจักรยาน ไปจนถึงทำให้หัวใจเต้นแรงด้วยการวิ่ง เล่นกีฬา สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ไม่ให้เกิดพลังงานส่วนเกินสะสมจนกลายเป็นไขมันตามร่างกายและอุดตันตามเส้นเลือด หากต้องการลดไขมันส่วนเกิน ทำได้ง่ายๆ ด้วยการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง 10 นาทีต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
สสส.ยังให้สูตรดีๆ เพื่อสุขภาพ
• จานสุขภาพ 2:1:1 คือ การแบ่งสัดส่วนของอาหารในจานเป็น 4 ส่วน ผัก 2 ส่วน แป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ 1 ส่วน จะเป็นปริมาณอาหารที่เหมาะสมต่อมื้อ
• สูตรเด็ด 6:6:1 คือ การปรุงให้พอดีลดความเสี่ยงโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต ด้วยเครื่องปรุงรสไม่เกินนี้ คือ น้ำตาล 6 ช้อนชาต่อวัน ไขมัน 6 ช้อนชาต่อวัน และเกลือ 1 ช้อนชาต่อวัน (ต้องระวังเครื่องปรุงที่แฝงมาในอาหารต่างๆ ด้วย)
3.ภูมิคุ้มกันชีวิตเริ่มที่ครอบครัว
ครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตทุกคน ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนคลอด และเติบโตขึ้น ครอบครัวคือเบ้าหล่อหลอมที่จะสร้างให้เราเติบโตขึ้นเป็นคนแบบไหน
มีวิธีง่ายๆที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ
• เล่นกับลูก ชวนลูกเล่นกิจกรรมที่ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดความสุขสนุก ยังสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อ ฝึกทักษะและเรียนรู้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา
• อ่านกับลูก การอ่านคือการเปิดโลกความสุข และโลกการเรียนรู้ไม่รู้จบ รวมทั้งได้ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน
• ชวนลูกคุย ช่วยพัฒนาลูกดังนี้ ช่วยลูกพัฒนาทักษะทางภาษา ช่วยกระตุ้นสมอง ช่วยเพิ่มความรู้ ช่วยให้ลูกเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ช่วยพัฒนาการสื่อสารของลูก
• ชวนลูกทำ ให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง ช่วยสร้างสุขนิสัยที่ดี รู้จักวางแผน มีความคิดที่เป็นระบบและฝึกความรับผิดชอบ
• ชวนลูกเที่ยว ช่วยพัฒนาลูก จากการเปิดโลกของลูก ช่วยให้ลูกได้เจอคนที่หลากหลาย ได้ใช้เวลาร่วมกัน ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ
ข้อคิด...
ใครที่เคยเข้าใจว่า สสส. รณรงค์ให้เลิกเสพเหล้าและบุหรี่ ผ่านมาถึง 18 ปี ในวันนี้ หากติดตามการทำงาน (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ที่ดีก็น่าจะทำให้เข้าใจชัดว่า เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทย การตกผลึกจากข้อมูลและประสบการณ์ที่รณรงค์ กระตุ้นความตระหนักรู้เรื่อง การ “สร้าง” สุขภาพที่ดีไม่รอมา “ซ่อม” สุขภาพตอนป่วยที่เส้นหายมากกว่ามาก
การสร้างสรรค์ให้เกิดกลไกสร้างเสริมสุขภาพที่มีกลยุทธ์อย่าง สสส. จึงเป็น “นวัตกรรมสังคม” ที่น่าสนับสนุนดังที่ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.กระทรวงสาธารณสุข ผู้เป็นรองประธานกรรมการสสส. คนที่ 1 กล่าวเมื่อวันเป็นประธานเปิดงาน “ชีวิตดี เริ่มที่เรา” กล่าวถึง สสส.ว่า มีผลงานเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และเป็นอันดับ 3 ของโลก และในปีนี้มุ่งเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำในการป้องกันโรค NCDs เป็นอันดับ 1 ของโลก
เมื่อผู้บริหารภาครัฐ มีความเข้าใจประเด็น และสนับสนุนด้วยมาตรการทางกฎหมาย ก็จะยิ่งช่วยให้การขับเคลื่อนโครงการมีโอกาสใกล้บรรลุเป้าหมาย
ดังเช่นมาตรการภาษีที่เก็บตามความหวาน เพื่อป้องกันโรคภัยจากสาเหตุการใส่น้ำตาลเกินระดับปลอดภัย ซึ่งมีหลายยี่ห้อ ทางสรรพากรจะเริ่มเพิ่มภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ก็หวังว่าจะช่วยให้ผู้บริโภคที่รักชีวิต เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพ และมีกิจกรรมทางกายตามแนวทางการแนะนำของสสส.
เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยเสี่ยงทั้งการกิน การใช้ชีวิต เพื่อชีวิตในอนาคตของเราเอง
รายละเอียดเพิ่มเติม
• ชีวิตดี เริ่มที่เรา
• คู่มือประจำวัยรับมือยังไงวัย 18
ผู้จัดทำ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สามารถดาวน์โหลดคู่มือ ได้ที่ : www.thaihealth.or.th/livehealthier
แนะนำหนังสือ น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20 ผู้เขียน : Tina Seelig ผู้แปล : ธัญลักษณ์ เศวตศิลา, พรเลิศ อิฐฐ์ สำนักพิมพ์ วีเลิร์น ราคา 170 บาท เนื้อหา กรณีศึกษา ตลอดจนแบบฝึกหัดที่ใช้จริงในชั้นเรียนโดยละเอียด เพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตได้ ไม่ว่าตอนนี้คุณจะมีอายุ 20, 30, 40 หรือ 50 ปีก็ตาม "แล้วชีวิตคุณจะไม่เหลืออะไรให้ต้องเสียดายอีกต่อไป" คน 5 แบบที่จะทำชีวิตคุณพัง ผู้เขียน : บิลล์ เอ็ดดี้ ผู้แปล : Miss Brief สำนักพิมพ์ เชนจ์พลัส ราคา 220 บาท คู่มือสำหรับหลีกเลี่ยงและรับมือกับคนที่อาจเป็นอุปสรรคในชีวิตคุณ โดยทนายความและนักบำบัดมากประสบการณ์ จะสอนวิธีแยกแยะสัญญาณเตือนและหลีกเลี่ยงของบุคลิกภาพอันตรายเหล่านี้ ก่อนที่พวกเขาจะทำร้ายคุณ! 5 จุดบอดที่ทำให้คนในทีมคุณทำงานด้วยกันไม่ได้ ผู้เขียน : แพททริก เลนโชนี ผู้แปล : ปฏิพล ตั้งจักรวรานนท์,พรเลิศ อิฐฐ์ สำนักพิมพ์ วีเลิร์น ราคา 240 บาท "Patrick Lencioni" ที่ปรึกษาด้านธุรกิจชื่อดังค้นพบว่าปัญหาน่าปวดหัวของทีม ล้วนมีต้นตอมาจากปัจจัยแค่ 5 อย่าง ขอเพียงแค่รู้และเข้าใจ เราก็จะแก้ไขปัญหาภายในทีมได้อย่างง่ายดาย และทำให้คนในทีมทำงานร่วมกันได้อย่างน่าทึ่ง เงียบเป็นต่อ ผู้เขียน : Sylvia Loehken ผู้แปล : พรรณี ชูจิรวงศ์ สำนักพิมพ์ วีเลิร์น ราคา 280 บาท คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากล้วนเป็นคนพูดไม่เก่ง แต่พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จาก "ความเงียบ" และสร้างวิธีสื่อสารที่ทรงพลังในแบบของตัวเองขึ้นมา ค้นหาคำตอบในหนังสือสุดฮิตจากเยอรมนีเล่มนี้ แล้วคุณจะสามารถสื่อสารได้อย่างเหนือชั้น ทำไมต้องช่วยนนายธนาคาร ผู้เขียน : โทมัส พิเก็ตตี ผู้แปล : ศิริพร วุฒิกุล สำนักพิมพ์ โพสต์บุ๊ก ราคา 245 บาท รวมบทความเกี่ยวกับวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ที่เผยความจริงอันน่าตื่นตะลึงของความมั่งคั่งและความยากจนอย่างคาดไม่ถึง! |