xs
xsm
sm
md
lg

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ปัญหาสุขภาพระยะยาว หากไม่ควบคุมและติดตาม สามารถกลับมากำเริบได้

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


โรคหัวใจ โรคที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์เป็นอันดับต้น ๆ ของโรคภัยไข้เจ็บ มักไม่แสดงอาการชัดเจน ซึ่งอาจจะทำให้สายไปเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นภาวะฉุกเฉิน ที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยวัยกลางคนจนถึงคนสูงอายุ

นพ.สุรพงษ์ วรสุวรรณรักษ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางหัตถการปฏิบัติและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์หัวหน้าศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากมีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันและขวางการไหลของเลือดจนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ เมื่อหัวใจขาดเลือดผลที่ตามมาก็คือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง ซึ่งยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทำได้แค่ดูแลและควบคุมไม่ให้อาการกำเริบเท่านั้น
นพ.สุรพงษ์ วรสุวรรณรักษ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางหัตถการปฏิบัติและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
อาการของกล้ามเนื้อหัวใจตาย ตามอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นอาจจะไม่มีอาการใดที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน เพราะมันเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน บางรายอาจมีสุขภาพปกติแข็งแรง แต่อยู่ ๆ ก็มีอาการผิดปกติ อาการผิดปกติที่สำคัญที่สุดที่สามารถสังเกตได้ คือ เจ็บแน่นหน้าอก มีเหงื่อออกตามร่างกาย เหนื่อยง่าย วิงเวียน หน้ามืด ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นต้องรีบนำตัวส่งมายังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที เพราะอาการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นในส่วนของการรักษา ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการ และป้องกันไม่ให้รุนแรงมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการรักษามากมายหลายวิธีที่จะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยวิธีการรักษาแพทย์จะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบและรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น เช่น การผ่าตัดหัวใจ การทำหัตถการสวนหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษา รวมถึงการให้คำแนะนำในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง

ในส่วนของการป้องกันหัวใจวาย สามารถทำได้โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ และควบคุมความเครียด อีกทั้งต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงหัวใจวายได้

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว มีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการเฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยคุณภาพมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัย เป็นสำคัญ พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย อีกทั้งสามารถดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทุกสิทธิตลอด 24 ชั่วโมง และมีบริการรถ Mobile ICU เพื่อรองรับผู้ป่วยฉุกเฉิน สายด่วนศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพ โทร. 081-8703538-40
รถพยาบาลเคลื่อนย้ายผู้ป่วย Mobile ICU
ห้องปฏิบัติการเครื่องฉีดสี สวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath lab)
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)



กำลังโหลดความคิดเห็น