แน่นอนว่า “รสเผ็ด” เป็นรสที่ช่วยเพิ่มความอร่อยให้แก่อาหาร อีกทั้งช่วยในเรื่องต่างๆ มากมาย เช่น ละลายเสมหะ หรือช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ก็ใช่ว่าการกินเผ็ดเยอะๆ นั้นจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ เพราะหากกินเผ็ดมากเกินไปก็สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน

อันตรายจากการกินเผ็ด
รสเผ็ดจากพริกจะทำให้รู้สึกแสบร้อนได้ตั้งแต่ลิ้นไปถึงกระเพาะอาหาร ดังนั้น การรับประทานอาหารถ้ามีรสเผ็ดมากๆ อาจทำให้กระเพาะอาหารรวมถึงระบบทางเดินอาหารระคายเคืองได้ พญ.ศุภมาศ เชิญอักษร แพทย์สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สารแคปไซซินในพริกนั้นจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน และทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ ร่างกาย
กินเผ็ด ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้หรือ
โรคกระเพาะอาหารเกิดได้หลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักเกิดจากการรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้การป้องกันของเยื่อบุในทางเดินอาหาร หรือกระเพาะอาหารเสียไป อีกส่วนหนึ่งคือการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสเผ็ดจึงเกิดอาการระคายเคืองจนแสบร้อนท้องได้ ยิ่งถ้าคนเป็นโรคนี้อยู่แล้วจะทำให้แสบท้องได้มากขึ้น
กินเผ็ดเท่าไรถึงจะดี?
การกินเผ็ดนั้น ควรปรุงรสรสชาติให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่เผ็ดมากจนเกินไป หากรับประทานพริก หรือเครื่องปรุงที่มีรสเผ็ดแล้วรู้สึกทรมาน แสบปาก แสบท้อง ควรหยุดแล้วดื่มน้ำตามเพื่อลดอาการระคายเคืองจากพริกได้ ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสียท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ฯลฯ ไม่ควรกินเผ็ด เพราะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง รวมถึงผู้ป่วยที่มีไข้ เพิ่งผ่าตัด ควรงดการรับประทานอาหารเผ็ดชั่วคราวด้วย
วิธีรับประทานอาหารที่ช่วยถนอมรักษากระเพาะอาหาร
1.ไม่กินอาหารมันมากเกินไป มีส่วนในการเกิดโรคกระเพาะอาหารได้
2.ดื่มน้ำในปริมาณที่มากพอ
3.กินอาหารที่มีกากใยอาหารที่เหมาะสม ใครที่ไม่ค่อยได้กินผักผลไม้ที่มีกากใยอาหาร ให้ค่อยๆ เพิ่มปริมาณในการกินในแต่ละมื้อ
4.รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
5.ไม่กินเยอะเกินไป
อันตรายจากการกินเผ็ด
รสเผ็ดจากพริกจะทำให้รู้สึกแสบร้อนได้ตั้งแต่ลิ้นไปถึงกระเพาะอาหาร ดังนั้น การรับประทานอาหารถ้ามีรสเผ็ดมากๆ อาจทำให้กระเพาะอาหารรวมถึงระบบทางเดินอาหารระคายเคืองได้ พญ.ศุภมาศ เชิญอักษร แพทย์สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สารแคปไซซินในพริกนั้นจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน และทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ ร่างกาย
กินเผ็ด ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้หรือ
โรคกระเพาะอาหารเกิดได้หลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักเกิดจากการรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้การป้องกันของเยื่อบุในทางเดินอาหาร หรือกระเพาะอาหารเสียไป อีกส่วนหนึ่งคือการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารรสเผ็ดจึงเกิดอาการระคายเคืองจนแสบร้อนท้องได้ ยิ่งถ้าคนเป็นโรคนี้อยู่แล้วจะทำให้แสบท้องได้มากขึ้น
กินเผ็ดเท่าไรถึงจะดี?
การกินเผ็ดนั้น ควรปรุงรสรสชาติให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่เผ็ดมากจนเกินไป หากรับประทานพริก หรือเครื่องปรุงที่มีรสเผ็ดแล้วรู้สึกทรมาน แสบปาก แสบท้อง ควรหยุดแล้วดื่มน้ำตามเพื่อลดอาการระคายเคืองจากพริกได้ ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสียท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ฯลฯ ไม่ควรกินเผ็ด เพราะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง รวมถึงผู้ป่วยที่มีไข้ เพิ่งผ่าตัด ควรงดการรับประทานอาหารเผ็ดชั่วคราวด้วย
วิธีรับประทานอาหารที่ช่วยถนอมรักษากระเพาะอาหาร
1.ไม่กินอาหารมันมากเกินไป มีส่วนในการเกิดโรคกระเพาะอาหารได้
2.ดื่มน้ำในปริมาณที่มากพอ
3.กินอาหารที่มีกากใยอาหารที่เหมาะสม ใครที่ไม่ค่อยได้กินผักผลไม้ที่มีกากใยอาหาร ให้ค่อยๆ เพิ่มปริมาณในการกินในแต่ละมื้อ
4.รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
5.ไม่กินเยอะเกินไป