ขึ้นชื่อว่า “ผัก” หลายคนคงคิดว่ากินแล้วต้องมีประโยชน์แก่ร่างกาย แต่รู้หรือไม่ว่า ผักบางชนิดก็ไม่ควรกินดิบ ควรนำไปปรุงให้สุกก่อนรับประทาน เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้ร่างกายได้รับโทษมากกว่าเป็นแน่
ผัก 7 ชนิด ไม่ควรกินดิบ ได้แก่
มันฝรั่ง
มันฝรั่งเป็นพืชที่ไม่ควรกินดิบโดยเด็ดขาด ก่อนกินต้องผ่านความร้อนก่อน เนื่องจากในมันฝรั่งดิบจะมีสาร “โซลานีน” สารพิษไกลโคแอลคาลอยด์ เป็นสารที่พืชสร้างมาเพื่อปกป้องตัวเองจากแมลงศัตรูพืช หากคนกินเข้าไปในปริมาณมากๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
กะหล่ำปลี
เนื่องจากในกะหล่ำปลีดิบ มีสารพิษที่เรียกว่า กอยโตรเจน (Goitrogen) เป็นสารที่จะไปขัดขวางไม่ให้ต่อมไทรอยด์จับไอโอดีน ถ้ากินกะหล่ำปลีดิบในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดโรคคอหอยพอก อีกทั้งยังทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์ไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบอย่างเด็ดขาด แต่ทว่าสารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการต้ม ดังนั้น กินกะหล่ำปลีสุกจึงน่าจะดีกว่า
ผักโขม
เป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรกินดิบ เพราะกรดในผักโขมจะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม และธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายเราไม่สามารถดูดซับแคลเซียมและธาตุเหล็กได้ เนื่องจากในผักโขมมีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ที่สามารถไปยับยั้งหรือขัดขวางการนำแคลเซียมและธาตุเหล็กไปใช้ในร่างกาย ทางที่ดีกินผักโขมสุกจะดีกว่า เพราะผักโขมสุกจะช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระได้ด้วย
ถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวดิบมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างสูง ทำให้ท้องอืด ไม่เหมาะกับคนที่มีปัญหาการย่อย และกลุ่มผู้สูงอายุ โดยก่อนกินต้องล้างให้สะอาด และนำไปทำให้สุกจะปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่า
ถั่วงอก
ในถั่วงอกดิบมีแบคทีเรียอันตรายหลายชนิด เช่น E. coli, Salmonella, Listeria ฯลฯ อีกทั้งในถั่วงอกดิบยังมีไฟเตทสูง โดยไฟเตทจะเข้าไปจับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุได้ ดังนั้น ควรทำให้สุกก่อนกินเพื่อป้องกันและทำลายแบคทีเรีย และสารไฟเตท
แครอต
การกินแครอตดิบจะทำให้การดูดซึมสารเบตาแคโรทีน (Beta-carotene) ที่เป็นตัวช่วยต้านอนุมูลอิสระได้น้อยลง แต่หากนำไปผ่านการปรุงอาหารด้วยความร้อนจะช่วยเพิ่มปริมาณสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoid)ได้มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง
หน่อไม้
หน่อไม้ดิบมีสารที่จะเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายได้ ก่อนกินจึงควรต้มในน้ำเดือดนานเกิน 10 นาทีก่อน จึงจะปลอดภัยที่สุด
ผัก 7 ชนิด ไม่ควรกินดิบ ได้แก่
มันฝรั่ง
มันฝรั่งเป็นพืชที่ไม่ควรกินดิบโดยเด็ดขาด ก่อนกินต้องผ่านความร้อนก่อน เนื่องจากในมันฝรั่งดิบจะมีสาร “โซลานีน” สารพิษไกลโคแอลคาลอยด์ เป็นสารที่พืชสร้างมาเพื่อปกป้องตัวเองจากแมลงศัตรูพืช หากคนกินเข้าไปในปริมาณมากๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
กะหล่ำปลี
เนื่องจากในกะหล่ำปลีดิบ มีสารพิษที่เรียกว่า กอยโตรเจน (Goitrogen) เป็นสารที่จะไปขัดขวางไม่ให้ต่อมไทรอยด์จับไอโอดีน ถ้ากินกะหล่ำปลีดิบในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดโรคคอหอยพอก อีกทั้งยังทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์ไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบอย่างเด็ดขาด แต่ทว่าสารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการต้ม ดังนั้น กินกะหล่ำปลีสุกจึงน่าจะดีกว่า
ผักโขม
เป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรกินดิบ เพราะกรดในผักโขมจะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม และธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายเราไม่สามารถดูดซับแคลเซียมและธาตุเหล็กได้ เนื่องจากในผักโขมมีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ที่สามารถไปยับยั้งหรือขัดขวางการนำแคลเซียมและธาตุเหล็กไปใช้ในร่างกาย ทางที่ดีกินผักโขมสุกจะดีกว่า เพราะผักโขมสุกจะช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระได้ด้วย
ถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวดิบมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างสูง ทำให้ท้องอืด ไม่เหมาะกับคนที่มีปัญหาการย่อย และกลุ่มผู้สูงอายุ โดยก่อนกินต้องล้างให้สะอาด และนำไปทำให้สุกจะปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่า
ถั่วงอก
ในถั่วงอกดิบมีแบคทีเรียอันตรายหลายชนิด เช่น E. coli, Salmonella, Listeria ฯลฯ อีกทั้งในถั่วงอกดิบยังมีไฟเตทสูง โดยไฟเตทจะเข้าไปจับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุได้ ดังนั้น ควรทำให้สุกก่อนกินเพื่อป้องกันและทำลายแบคทีเรีย และสารไฟเตท
แครอต
การกินแครอตดิบจะทำให้การดูดซึมสารเบตาแคโรทีน (Beta-carotene) ที่เป็นตัวช่วยต้านอนุมูลอิสระได้น้อยลง แต่หากนำไปผ่านการปรุงอาหารด้วยความร้อนจะช่วยเพิ่มปริมาณสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoid)ได้มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง
หน่อไม้
หน่อไม้ดิบมีสารที่จะเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายได้ ก่อนกินจึงควรต้มในน้ำเดือดนานเกิน 10 นาทีก่อน จึงจะปลอดภัยที่สุด