หลายคนที่อยู่ในช่วงวัยเรียนและวัยทำงาน ที่มักจะอ่านหนังสือสอบหรือทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำในช่วงวันธรรมดานั้น อาจจะมีความคิดที่ว่า ถ้าเก็บการนอนไปไว้ที่วันหยุดสุดสัปดาห์นั้นจะช่วยทดแทนเวลาในวันดังกล่าวได้ แต่แท้ที่จริงแล้วอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น แถมยังจะมีความเสี่ยงอีกด้วย

โดยผลการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย John Hopkins มีการยืนยันว่า การนอนไม่พอในระหว่างสัปดาห์ แล้วมานอนในช่วงสุดสัปดาห์ แทบจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะว่านอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหานอนไม่พอแล้วยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมถึงความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและอื่นๆ ได้ด้วย
จากการศึกษาผ่านทางพฤติกรรมการนอนชดเชยในวันหยุด มีการพบว่ากลุ่มที่นอนไม่พอและพยายามนอนชดเชยนั้นมักจะมีปัญหาในเรื่องน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากร่างกายจะเผาผลาญแคลอรีมากขึ้น ทำให้เกิดอาการหิวบ่อยขึ้น และมักกินผิดเวลา นอกจากนี้ การนอนไม่พอยังส่งผลฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกาย คือ ฮอร์โมน Leptin ที่ทำหน้าที่ควบคุมและลดความอยากอาหาร และฮอร์โมน Ghrelin ซึ่งเมื่อมีการนอนไม่พอจะทำให้ฮอร์โมนชนิดแรกลดลง และชนิดหลังมีความสูงขึ้น
แต่สิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพมากกว่าน้ำหนักตัวหรือรอบเอว คือ การกระทำดังกล่าวจะส่งผลต่ออินซูลินในกล้ามเนื้อและตับ หมายความว่า ร่างกายของคนที่นอนไม่พอจะสูญเสียความสามารถในการควบคุมน้ำตาลในเลือด และเพิ่มปัญหาความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้
สอดคล้องกับความเห็นของทางการแพทย์ที่บอกว่า การอดนอนนอกจากที่จะทำให้ระบบการย่อยอาหารเสียสมดุลแล้วยังจะมีปัญหาต่างๆ เช่น มีปัญหาที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีไขมันเกาะบริเวณเอว มีระดับคอเลสเตอรอลที่ผิดปกติ มีน้ำตาลหรือความดันในเลือดสูง แถมยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการเป็นโรคหัวใจ สมองขาดเลือดหล่อเลี้ยง และโรคเบาหวานอีกด้วย ทางที่ดีควรจะนอนอย่างน้อยคืนละ 7 ชั่วโมงน่าจะดีกว่า
โดยผลการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย John Hopkins มีการยืนยันว่า การนอนไม่พอในระหว่างสัปดาห์ แล้วมานอนในช่วงสุดสัปดาห์ แทบจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะว่านอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหานอนไม่พอแล้วยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมถึงความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและอื่นๆ ได้ด้วย
จากการศึกษาผ่านทางพฤติกรรมการนอนชดเชยในวันหยุด มีการพบว่ากลุ่มที่นอนไม่พอและพยายามนอนชดเชยนั้นมักจะมีปัญหาในเรื่องน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากร่างกายจะเผาผลาญแคลอรีมากขึ้น ทำให้เกิดอาการหิวบ่อยขึ้น และมักกินผิดเวลา นอกจากนี้ การนอนไม่พอยังส่งผลฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกาย คือ ฮอร์โมน Leptin ที่ทำหน้าที่ควบคุมและลดความอยากอาหาร และฮอร์โมน Ghrelin ซึ่งเมื่อมีการนอนไม่พอจะทำให้ฮอร์โมนชนิดแรกลดลง และชนิดหลังมีความสูงขึ้น
แต่สิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพมากกว่าน้ำหนักตัวหรือรอบเอว คือ การกระทำดังกล่าวจะส่งผลต่ออินซูลินในกล้ามเนื้อและตับ หมายความว่า ร่างกายของคนที่นอนไม่พอจะสูญเสียความสามารถในการควบคุมน้ำตาลในเลือด และเพิ่มปัญหาความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้
สอดคล้องกับความเห็นของทางการแพทย์ที่บอกว่า การอดนอนนอกจากที่จะทำให้ระบบการย่อยอาหารเสียสมดุลแล้วยังจะมีปัญหาต่างๆ เช่น มีปัญหาที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีไขมันเกาะบริเวณเอว มีระดับคอเลสเตอรอลที่ผิดปกติ มีน้ำตาลหรือความดันในเลือดสูง แถมยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการเป็นโรคหัวใจ สมองขาดเลือดหล่อเลี้ยง และโรคเบาหวานอีกด้วย ทางที่ดีควรจะนอนอย่างน้อยคืนละ 7 ชั่วโมงน่าจะดีกว่า