ยุคที่อะไรก็รวดเร็วแบบนี้ โรคภัยเองก็ปรับตามวิถีชีวิตของเราเช่นกัน เดี๋ยวนี้อายุยังไม่ขึ้นเลข 5 หรือ 6 ก็เป็นโรคร้ายแรงกันแล้ว สาเหตุอาจมีได้มากมาย เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เองอยู่แล้ว
แต่ก็ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่มาจากตัวเราล้วนๆ นั่นก็คือ “การเลือกกิน” อาหารบางอย่างส่งผลเสียต่อร่างกาย หากเรากินเข้าไปเรื่อยๆ บ่อยๆ เข้า สารพิษจากอาหารจะถูกสะสมไว้ในร่างกายเรา กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว ฉะนั้นเราจึงควรเลือกกินแต่สิ่งดีๆ นำแต่สิ่งดีๆ เข้าร่างกาย
จากการสำรวจของสถาบันมะเร็งแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 พบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยมาจาก “มะเร็ง” และ ณ ปัจจุบันนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ถูกพบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย และอันดับ 4 ในผู้หญิง
จากสถิติในปี พ.ศ. 2560 จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่า
-มะเร็งลำไส้มีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 34 คน หรือ 12,467 คน/ปี เป็นเพศชาย 6,874 คน และเพศหญิง 5,593 คน
-มีผู้เสียชีวิตวันละ 13 คน หรือ 4,781 คน/ปี โดยเป็นเพศชาย 2,679 คน เพศหญิง 2,102 คน
โดยสถิติช่วงอายุของคนไทยพบว่า อายุ 18-34 ปี นิยมกินเนื้อสัตว์ที่มีสารก่อมะเร็งปนเปื้อน จนเมื่ออายุ 50-75 ปี การกินสารพิษเหล่านั้นได้สะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ

“มะเร็งลำไส้ใหญ่” เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากอาหารการกิน ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากินกันแทบทุกวันโดยที่อาจไม่รู้ว่ามันทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากแค่ไหน และอาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ก็คือ
1.อาหารที่ใส่โปรตีนหมัก มีสารไนเตรทและไนไตรท์ หรือดินประสิว เป็นสารเพื่อให้เนื้อสัตว์มีสีแดงน่ากิน และใส่ในเนื้อแปรรูป เช่น กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน แหนมสด ปลาร้า หมูส้ม สารนี้มีประโยชน์ในการถนอมอาหาร แต่เมื่อเรากินเข้าไปในปริมาณมาก สะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ร่วมกับสภาวะความเป็นกรดในกระเพาะจะทำให้เกิดสารไนโตรซามีน ที่เป็นสารก่อมะเร็ง
2.อาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะปลาน้ำจืดดิบ หรืออาหารที่มีเชื้อรา เช่น พริกแห้ง ถั่วลิสงบด กระเทียมขึ้นรา
3.อาหารที่มีไขมันสูง เช่น มันสัตว์ ของทอด อาหารที่ใส่กะทิ และอาหารที่มีน้ำตาลสูง ของหวานต่างๆ ทางที่ดีความกินโปรตีนที่ได้จากถั่วเหลือง และเต้าหู้จะดีกว่า
4.อาหารที่มีการรมควัน ปิ้ง ย่าง ทอด จนไหม้เกรียม อย่าง “หมูกะทะ” หรือ “บุฟเฟต์ปิ้งย่าง” ที่วัยรุ่นหนุ่มสาวทั้งหลายนิยมกินกันเป็นอย่างมาก ซึ่งการปิ้งย่างจนไหม้เกรียมจะทำให้มีสาร PAHs สารก่อมะเร็ง ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้มากขึ้นไปอีกด้วย

โดยปัจจัยอื่นๆ นอกจากอาหารการกินที่ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มีเช่นกัน คือ
-ภาวน้ำหนักเกิน การที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
-ขาดการออกกำลังกาย
-การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
-ในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน
บางครั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการที่ใช้บ่งชี้ได้แน่ชัด บางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ดังนั้นจึงความสังเกตตนเองเมื่อมีอาการต่อไปนี้ แล้วรีบพบแพทย์
-ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด จุกเสียด
-อุจจาระมีเลือดปน บางครั้งเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำ
-ไม่สบายท้อง ปวดแสบปวดร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง
-ถ่ายอุจจาระบ่อย และถ่ายไม่สุด
-ขนาดลำอุจจาระเล็กลง
-น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
-อ่อนเพลีย หรือมีอาการอ่อนแรง
-โลหิตจาง
ทั้งนี้ อาหารการกินเป็นส่วนสำคัญมากในการเพิ่มหรือลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคร้าย จึงควรกินผักและผลไม้ให้มากขึ้น เช่น ผักใบเขียว ผักกะหล่ำ ดอกกะหล่ำ คะน้า เผือก แครอท ส่วนผลไม้ เช่น กล้วย ฝรั่ง แอปเปิล มะละกอ องุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ เมล็ดธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวกล้อง งา ลูกเดือย เพราะอาหารเหล่านี้มีสารช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น กากใย สารฟีนอล สารฟลาโวน สารแคโรทีน และออกกำลังกายเป็นประจำ

ข่าวโดย : ศศิธร ตะนัยสี
แต่ก็ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่มาจากตัวเราล้วนๆ นั่นก็คือ “การเลือกกิน” อาหารบางอย่างส่งผลเสียต่อร่างกาย หากเรากินเข้าไปเรื่อยๆ บ่อยๆ เข้า สารพิษจากอาหารจะถูกสะสมไว้ในร่างกายเรา กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว ฉะนั้นเราจึงควรเลือกกินแต่สิ่งดีๆ นำแต่สิ่งดีๆ เข้าร่างกาย
จากการสำรวจของสถาบันมะเร็งแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 พบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยมาจาก “มะเร็ง” และ ณ ปัจจุบันนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ถูกพบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย และอันดับ 4 ในผู้หญิง
จากสถิติในปี พ.ศ. 2560 จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่า
-มะเร็งลำไส้มีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 34 คน หรือ 12,467 คน/ปี เป็นเพศชาย 6,874 คน และเพศหญิง 5,593 คน
-มีผู้เสียชีวิตวันละ 13 คน หรือ 4,781 คน/ปี โดยเป็นเพศชาย 2,679 คน เพศหญิง 2,102 คน
โดยสถิติช่วงอายุของคนไทยพบว่า อายุ 18-34 ปี นิยมกินเนื้อสัตว์ที่มีสารก่อมะเร็งปนเปื้อน จนเมื่ออายุ 50-75 ปี การกินสารพิษเหล่านั้นได้สะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ
“มะเร็งลำไส้ใหญ่” เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากอาหารการกิน ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากินกันแทบทุกวันโดยที่อาจไม่รู้ว่ามันทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากแค่ไหน และอาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ก็คือ
1.อาหารที่ใส่โปรตีนหมัก มีสารไนเตรทและไนไตรท์ หรือดินประสิว เป็นสารเพื่อให้เนื้อสัตว์มีสีแดงน่ากิน และใส่ในเนื้อแปรรูป เช่น กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน แหนมสด ปลาร้า หมูส้ม สารนี้มีประโยชน์ในการถนอมอาหาร แต่เมื่อเรากินเข้าไปในปริมาณมาก สะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ร่วมกับสภาวะความเป็นกรดในกระเพาะจะทำให้เกิดสารไนโตรซามีน ที่เป็นสารก่อมะเร็ง
2.อาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะปลาน้ำจืดดิบ หรืออาหารที่มีเชื้อรา เช่น พริกแห้ง ถั่วลิสงบด กระเทียมขึ้นรา
3.อาหารที่มีไขมันสูง เช่น มันสัตว์ ของทอด อาหารที่ใส่กะทิ และอาหารที่มีน้ำตาลสูง ของหวานต่างๆ ทางที่ดีความกินโปรตีนที่ได้จากถั่วเหลือง และเต้าหู้จะดีกว่า
4.อาหารที่มีการรมควัน ปิ้ง ย่าง ทอด จนไหม้เกรียม อย่าง “หมูกะทะ” หรือ “บุฟเฟต์ปิ้งย่าง” ที่วัยรุ่นหนุ่มสาวทั้งหลายนิยมกินกันเป็นอย่างมาก ซึ่งการปิ้งย่างจนไหม้เกรียมจะทำให้มีสาร PAHs สารก่อมะเร็ง ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้มากขึ้นไปอีกด้วย
โดยปัจจัยอื่นๆ นอกจากอาหารการกินที่ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มีเช่นกัน คือ
-ภาวน้ำหนักเกิน การที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
-ขาดการออกกำลังกาย
-การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
-ในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน
บางครั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการที่ใช้บ่งชี้ได้แน่ชัด บางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ดังนั้นจึงความสังเกตตนเองเมื่อมีอาการต่อไปนี้ แล้วรีบพบแพทย์
-ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด จุกเสียด
-อุจจาระมีเลือดปน บางครั้งเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำ
-ไม่สบายท้อง ปวดแสบปวดร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง
-ถ่ายอุจจาระบ่อย และถ่ายไม่สุด
-ขนาดลำอุจจาระเล็กลง
-น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
-อ่อนเพลีย หรือมีอาการอ่อนแรง
-โลหิตจาง
ทั้งนี้ อาหารการกินเป็นส่วนสำคัญมากในการเพิ่มหรือลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคร้าย จึงควรกินผักและผลไม้ให้มากขึ้น เช่น ผักใบเขียว ผักกะหล่ำ ดอกกะหล่ำ คะน้า เผือก แครอท ส่วนผลไม้ เช่น กล้วย ฝรั่ง แอปเปิล มะละกอ องุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ เมล็ดธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวกล้อง งา ลูกเดือย เพราะอาหารเหล่านี้มีสารช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น กากใย สารฟีนอล สารฟลาโวน สารแคโรทีน และออกกำลังกายเป็นประจำ
ข่าวโดย : ศศิธร ตะนัยสี