คนเราทุกคนย่อมมีความฝันและหวังอยากให้ชีวิตหรืออาชีพการงานก้าวหน้าได้สุขสมหวัง มีทางเป็นไปได้ครับ
ลองสังเกตดูในทุกสังคม ทุกยุคสมัยล้วนมีควรที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้สำเร็จ ไม่ว่าจะมาจากครอบครัวที่ด้อยโอกาส หรือมีอุปสรรคทางการศึกษามาก่อน แต่สิ่งที่ผู้ประสบความสำเร็จ มีคุณสมบัติบางอย่างเหมือนกัน ก็คือ..
แรงขับเคลื่อนที่จะลงมือทำและ “ลงมือทำทันที” เพื่อสั่งสมความคืบหน้าสู่แนวทางแห่งความก้าวหน้า
ดังนั้น เมื่อมีพร้อมทั้งความรู้และวิธีการ แล้วมีความมุ่งมั่นลงมือทำจริง คุณก็ต่างจากคนอื่นแล้ว
แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ขาดไฟในการพัฒนาตัวเองหรือขาดวินัยในการจัดการงานทันทีเพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ดี คนแบบนี้ชอบขี้เกียจมักมีข้ออ้างว่า เดี๋ยวค่อยทำ....วันหลังค่อยทำก็ได้
ทำจนเป็นนิสัย เหมือนติดโรค “ผัดวันประกันพรุ่ง” จนต้องมาวุ่นหัวฟูเร่งงานเมื่อถึงวันครบกำหนดเส้นตาย ซึ่งอาจไม่เรียบร้อยหรือเกิดผิดพลาดขึ้นได้

หนังสือเล่มนี้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่คนเป็นเช่นนั้น พร้อมกับแนะนำ 55 วิธี ในการช่วยคนชอบผัดวันประกันพรุ่งให้กลายเป็น “คนที่ชอบลงมือทำทันที
ผมขอเลือกวิธีการมาแบ่งปันกันดังนี้
• อย่าคาดหวังว่าอนาคตจะได้ทำ
ที่ชอบพูดว่า “เดี๋ยวค่อยทำ” หรือ “ค่อยทำวันหลัง” อาจคิดว่าวันข้างหน้าตัวเองจะทำได้ดีกว่า หรือสะดวกสบายกว่าที่จะทำ
แต่งานที่ยังไม่ได้ทำ มันก็ยังเป็นภาระอยู่ดี ดังนั้น ควรเตรียมตัวให้พร้อมจะลงมือทำได้ทุกเวลาที่ต้องการทันที แล้วความสุขใจจะตามมาหลังงานเสร็จจะดีกว่า
• อย่าจินตนาการถึงอนาคตที่เลวร้าย
ถ้ากำลังเพลินอยู่กับกิจกรรมใด เช่น กำลังดูรายการโทรทัศน์ และจำเป็นต้องทำงานสำคัญก็อย่า “จับปลาสองมือ” ขอให้จดจ่อการปิดโทรทัศน์ (หยุดความสุขสบาย) ไม่คิดว่า “ปิดโทรทัศน์เพื่อจะไปทำงาน”
นั่นคือ ไม่ต้องคิดล่วงหน้าว่าต้องไปทำอะไร หรือเผลอคิดไปในทางลบ คุณจะยิ่งไม่สามารถลงมือทำอะไรได้
• คาดการณ์ล่วงหน้า
บางคนกังวลที่จะลงมือทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพราะไม่อยากรับรู้สถานะปัจจุบัน แต่ลึกๆ ก็อยากรู้ความจริง ความคิดขัดแย้ง จึงยังไม่ลงมือทำบัญชี
เหมือนคนที่กลัวการชั่งน้ำหนักตัวเองหรือคนไม่อยากตรวจร่างกาย ที่กลัวจะรับรู้ความจริงเกี่ยวกับสุขภาพ
ลองทำความเข้าใจกับสภาพปัจจุบัน แล้วคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดในอนาคต คุณก็จะพอรู้ว่าควรทำอะไรในตอนนี้ ความรู้สึกอยากทำก็จะเกิดขึ้นเอง
• จดบันทึกเรื่องที่ผัดผ่อน
ขอให้ยอมรับว่า “การผัดวันประกันพรุ่ง” ก็คือ “ความล้มเหลว” นะครับ
แต่ก็ไม่ใช่ความผิดพลาดร้ายแรง หากเกิดขึ้นครั้งสองครั้ง และยังไม่เกิดผลเสียหายต่อชีวิตและการงาน
แต่ถ้าสะสมพฤติกรรมจนกลายเป็นนิสัย ก็ต้องรับแก้ไข
วิธีการที่ได้ผลมากคือ “จดบันทึก” ทุกครั้งที่ “ผัดวันประกันพรุ่ง” ซึ่งจะช่วยให้เราตระหนักว่าได้ทำผิดพลาดอะไรไปบ้าง
จะได้ไม่ลืมและสรุปบทเรียน เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
• อย่าหลงกลสมอง
สมองชอบคิดแบบ “รวบยอด” คือ หัวข้องาน เพราะสะดวกเวลาอยู่ในหัวหรือบนกระดาน แต่ลงมือทำทันทีไม่ได้
จึงต้องแตกหัวข้อย่อยของงานให้เล็กลง คุณจะลงมือทำได้ทันที ตัวอย่างออกกำลังกาย เมื่อระบุประเภท เช่น วิ่ง ย่อยเป็นอุปกรณ์ ชุดรองเท้าสำหรับวิ่ง ก็ต้องหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตว่าจะซื้อแบบไหน ที่ไหน ราคาเท่าไร
• ใช้ตัวล่อ
ยกตัวอย่างคิดจะ “เก็บกวาดห้อง” แต่ทำไม่ได้สักที ก่อนออกจากบ้านให้นำสิ่งของที่จะจัดเก็บมาวางกองให้เกะกะที่บริเวณประตู สิ่งของที่วางขวางประตูจะบังคับให้คุณต้องลงมือเก็บกวาด
พอได้เริ่มจัดนิดหน่อย ก็จะมีแรงจูงใจให้อยากทำมากขึ้นเอง
• กำจัดอิทธิพล “ทำอะไรก็ได้”
บางคนแม้ลงมือทำแต่งานไม่คืบหน้า เพราะไม่ทำอย่างมีกลยุทธ์ จึง “ทำอะไรก็ได้ไปก่อน” โดยไม่ไตร่ตรอง ทางแก้ก็คือ
ควรทำรายการสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดอย่างละเอียด โดยจัดลำดับงานหรือแผนการทำงานให้ชัดเจน จะช่วยให้ลงมือทำได้อย่างถูกต้องและฉับไว
วิธีนี้สามารถใช้กับ “การลดน้ำหนัก” หรือ “การเรียน”
• ใช้สายตา “คนอื่น” ให้เกิดประโยชน์
บอกเรื่องที่จะทำให้คนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทรับรู้ เพื่อทำให้รู้สึกว่า “มีคนอื่นจับตามอง” นี่จะกระตุ้นให้สามารถควบคุมตัวเองและลงมือทำต่อเนื่อง
เช่น บอกว่า “กำลังลดน้ำหนัก” จะกระตุ้นสัญชาตญาณอยากทำให้สำเร็จ คนรอบข้างรับรู้ก็เป็นตัวช่วยที่คอยเตือนสติอยู่เสมอ มีผลให้ทำสำเร็จได้
• คิดถึงตอนเริ่มทำ
เพื่อเตือนใจว่าทำสิ่งนั้นเพื่ออะไร ควรไตร่ตรองว่า “แรกเริ่มเดิมที คุณทำสิ่งนั้นเพื่ออะไร อะไรทำให้เกิดแรงจูงใจ”
อย่างช่วงท้อแท้กับการลดน้ำหนัก ขอให้ลองย้อนคิดดูว่า อะไรทำให้อยากลดน้ำหนัก อาจเพราะตอนนั้น “อายเพื่อนเวลาไปทะเลด้วยกัน” หรือ “อยากคบหากับใครสักคน”
สรุปแล้ว การอ้างว่า “เดี๋ยวค่อยทำ” สู้ “ทำเดี๋ยวนี้” ไม่ได้นะครับ ดังนั้น คนที่ชอบผัดผ่อนจนกลายเป็นนิสัย จนขาดวินัยและความรับผิดชอบ จนเสียทั้งงานและความน่าเชื่อถือ ต้อง “รีบแก้ไขทันที”
ข้อมูลจากหนังสือ : เทคนิคเปลี่ยนคุณให้เป็นคนไม่ผัดวันประกันพรุ่งและลงมือทำทันที
ผู้เขียน : ซะซะกิ โชโกะ
ผู้แปล : โยชุเกะ ปิยะรัฐ สุดศรี
บรรณาธิการ : พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ
สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น

ลองสังเกตดูในทุกสังคม ทุกยุคสมัยล้วนมีควรที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้สำเร็จ ไม่ว่าจะมาจากครอบครัวที่ด้อยโอกาส หรือมีอุปสรรคทางการศึกษามาก่อน แต่สิ่งที่ผู้ประสบความสำเร็จ มีคุณสมบัติบางอย่างเหมือนกัน ก็คือ..
แรงขับเคลื่อนที่จะลงมือทำและ “ลงมือทำทันที” เพื่อสั่งสมความคืบหน้าสู่แนวทางแห่งความก้าวหน้า
ดังนั้น เมื่อมีพร้อมทั้งความรู้และวิธีการ แล้วมีความมุ่งมั่นลงมือทำจริง คุณก็ต่างจากคนอื่นแล้ว
แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ขาดไฟในการพัฒนาตัวเองหรือขาดวินัยในการจัดการงานทันทีเพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ดี คนแบบนี้ชอบขี้เกียจมักมีข้ออ้างว่า เดี๋ยวค่อยทำ....วันหลังค่อยทำก็ได้
ทำจนเป็นนิสัย เหมือนติดโรค “ผัดวันประกันพรุ่ง” จนต้องมาวุ่นหัวฟูเร่งงานเมื่อถึงวันครบกำหนดเส้นตาย ซึ่งอาจไม่เรียบร้อยหรือเกิดผิดพลาดขึ้นได้
หนังสือเล่มนี้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่คนเป็นเช่นนั้น พร้อมกับแนะนำ 55 วิธี ในการช่วยคนชอบผัดวันประกันพรุ่งให้กลายเป็น “คนที่ชอบลงมือทำทันที
ผมขอเลือกวิธีการมาแบ่งปันกันดังนี้
• อย่าคาดหวังว่าอนาคตจะได้ทำ
ที่ชอบพูดว่า “เดี๋ยวค่อยทำ” หรือ “ค่อยทำวันหลัง” อาจคิดว่าวันข้างหน้าตัวเองจะทำได้ดีกว่า หรือสะดวกสบายกว่าที่จะทำ
แต่งานที่ยังไม่ได้ทำ มันก็ยังเป็นภาระอยู่ดี ดังนั้น ควรเตรียมตัวให้พร้อมจะลงมือทำได้ทุกเวลาที่ต้องการทันที แล้วความสุขใจจะตามมาหลังงานเสร็จจะดีกว่า
• อย่าจินตนาการถึงอนาคตที่เลวร้าย
ถ้ากำลังเพลินอยู่กับกิจกรรมใด เช่น กำลังดูรายการโทรทัศน์ และจำเป็นต้องทำงานสำคัญก็อย่า “จับปลาสองมือ” ขอให้จดจ่อการปิดโทรทัศน์ (หยุดความสุขสบาย) ไม่คิดว่า “ปิดโทรทัศน์เพื่อจะไปทำงาน”
นั่นคือ ไม่ต้องคิดล่วงหน้าว่าต้องไปทำอะไร หรือเผลอคิดไปในทางลบ คุณจะยิ่งไม่สามารถลงมือทำอะไรได้
• คาดการณ์ล่วงหน้า
บางคนกังวลที่จะลงมือทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพราะไม่อยากรับรู้สถานะปัจจุบัน แต่ลึกๆ ก็อยากรู้ความจริง ความคิดขัดแย้ง จึงยังไม่ลงมือทำบัญชี
เหมือนคนที่กลัวการชั่งน้ำหนักตัวเองหรือคนไม่อยากตรวจร่างกาย ที่กลัวจะรับรู้ความจริงเกี่ยวกับสุขภาพ
ลองทำความเข้าใจกับสภาพปัจจุบัน แล้วคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดในอนาคต คุณก็จะพอรู้ว่าควรทำอะไรในตอนนี้ ความรู้สึกอยากทำก็จะเกิดขึ้นเอง
• จดบันทึกเรื่องที่ผัดผ่อน
ขอให้ยอมรับว่า “การผัดวันประกันพรุ่ง” ก็คือ “ความล้มเหลว” นะครับ
แต่ก็ไม่ใช่ความผิดพลาดร้ายแรง หากเกิดขึ้นครั้งสองครั้ง และยังไม่เกิดผลเสียหายต่อชีวิตและการงาน
แต่ถ้าสะสมพฤติกรรมจนกลายเป็นนิสัย ก็ต้องรับแก้ไข
วิธีการที่ได้ผลมากคือ “จดบันทึก” ทุกครั้งที่ “ผัดวันประกันพรุ่ง” ซึ่งจะช่วยให้เราตระหนักว่าได้ทำผิดพลาดอะไรไปบ้าง
จะได้ไม่ลืมและสรุปบทเรียน เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
• อย่าหลงกลสมอง
สมองชอบคิดแบบ “รวบยอด” คือ หัวข้องาน เพราะสะดวกเวลาอยู่ในหัวหรือบนกระดาน แต่ลงมือทำทันทีไม่ได้
จึงต้องแตกหัวข้อย่อยของงานให้เล็กลง คุณจะลงมือทำได้ทันที ตัวอย่างออกกำลังกาย เมื่อระบุประเภท เช่น วิ่ง ย่อยเป็นอุปกรณ์ ชุดรองเท้าสำหรับวิ่ง ก็ต้องหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตว่าจะซื้อแบบไหน ที่ไหน ราคาเท่าไร
• ใช้ตัวล่อ
ยกตัวอย่างคิดจะ “เก็บกวาดห้อง” แต่ทำไม่ได้สักที ก่อนออกจากบ้านให้นำสิ่งของที่จะจัดเก็บมาวางกองให้เกะกะที่บริเวณประตู สิ่งของที่วางขวางประตูจะบังคับให้คุณต้องลงมือเก็บกวาด
พอได้เริ่มจัดนิดหน่อย ก็จะมีแรงจูงใจให้อยากทำมากขึ้นเอง
• กำจัดอิทธิพล “ทำอะไรก็ได้”
บางคนแม้ลงมือทำแต่งานไม่คืบหน้า เพราะไม่ทำอย่างมีกลยุทธ์ จึง “ทำอะไรก็ได้ไปก่อน” โดยไม่ไตร่ตรอง ทางแก้ก็คือ
ควรทำรายการสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดอย่างละเอียด โดยจัดลำดับงานหรือแผนการทำงานให้ชัดเจน จะช่วยให้ลงมือทำได้อย่างถูกต้องและฉับไว
วิธีนี้สามารถใช้กับ “การลดน้ำหนัก” หรือ “การเรียน”
• ใช้สายตา “คนอื่น” ให้เกิดประโยชน์
บอกเรื่องที่จะทำให้คนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทรับรู้ เพื่อทำให้รู้สึกว่า “มีคนอื่นจับตามอง” นี่จะกระตุ้นให้สามารถควบคุมตัวเองและลงมือทำต่อเนื่อง
เช่น บอกว่า “กำลังลดน้ำหนัก” จะกระตุ้นสัญชาตญาณอยากทำให้สำเร็จ คนรอบข้างรับรู้ก็เป็นตัวช่วยที่คอยเตือนสติอยู่เสมอ มีผลให้ทำสำเร็จได้
• คิดถึงตอนเริ่มทำ
เพื่อเตือนใจว่าทำสิ่งนั้นเพื่ออะไร ควรไตร่ตรองว่า “แรกเริ่มเดิมที คุณทำสิ่งนั้นเพื่ออะไร อะไรทำให้เกิดแรงจูงใจ”
อย่างช่วงท้อแท้กับการลดน้ำหนัก ขอให้ลองย้อนคิดดูว่า อะไรทำให้อยากลดน้ำหนัก อาจเพราะตอนนั้น “อายเพื่อนเวลาไปทะเลด้วยกัน” หรือ “อยากคบหากับใครสักคน”
สรุปแล้ว การอ้างว่า “เดี๋ยวค่อยทำ” สู้ “ทำเดี๋ยวนี้” ไม่ได้นะครับ ดังนั้น คนที่ชอบผัดผ่อนจนกลายเป็นนิสัย จนขาดวินัยและความรับผิดชอบ จนเสียทั้งงานและความน่าเชื่อถือ ต้อง “รีบแก้ไขทันที”
ข้อมูลจากหนังสือ : เทคนิคเปลี่ยนคุณให้เป็นคนไม่ผัดวันประกันพรุ่งและลงมือทำทันที
ผู้เขียน : ซะซะกิ โชโกะ
ผู้แปล : โยชุเกะ ปิยะรัฐ สุดศรี
บรรณาธิการ : พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ
สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น
แนะนำหนังสือ ขโมยสมองของที่ 1 ผู้เขียน : คาโอรุ นากาจิมะ ผู้แปล : กิษรา รัตนาภิรัต คุโด สำนักพิมพ์ : Amarin How to ราคา 265 บาท “คาโอรุ นากาจิมะ” ได้ชื่อว่าเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจแอมเวย์ มาเล่าประสบการณ์จากการได้พบเจอบุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับโลกในด้านต่างๆ มากมาย อย่างเช่น มาราย แครี่, เอลตัน จอห์น, โรเจอร์ เฟเดอเรอร์, ธอม บราวน์ และผู้อื่นอีกรวมแล้วทั้งสิ้น 37 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีวิถีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันไป แต่กระนั้นก็เป็นการใช้ชีวิตที่น่าสนใจ และให้ข้อคิดที่ดีกับคนอื่นๆ ได้มากมาย เลิกขี้เกียจซะที! ผู้เขียน : ชเว มยองกี ผู้แปล : วสุชา เขมการโกศล สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น ราคา 169 บาท ชวนคุณวิเคราะห์สาเหตุเบื้องลึกที่ทำให้คุณรู้สึกขี้เกียจ พร้อมแนะนำเคล็ดลับที่จะทำให้คุณสามารถสร้างนิสัยที่แท้จริงเพื่อกลายเป็นคนขยัน ฟื้นฟูภาวะผู้นำของชีวิตตนเองกลับคืนมา ใช้สมองเปลี่ยนชีวิต ผู้เขียน : โทะชิโนะริ คะโตะ ผู้แปล : วิธารณี จงสถิตย์วัฒนา สำนักพิมพ์ : INSPIRE ราคา 225 บาท เป็นผู้ใหญ่ต้องอ่าน! ถ้าไม่อยากทำงานแบบเด็กนักเรียน สมองกำหนดทุกอย่าง ทั้งการเรียน งาน เงิน และความรัก 5 ขั้นตอน 36 วิธีใช้สมอง กฎเพื่อความสำเร็จจากสมองคน 10,000 คน The Disruptor ผู้เขียน : รวิศ หาญอุตสาหะ สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น ราคา 250 บาท "The Disruptor" คิด ตัดสินใจ และใช้ชีวิตอย่างไร? อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้คนธรรมดา กลายเป็น "The Disruptor" แล้วคุณจะสามารถ Disrupt งานและธุรกิจของคุณได้อย่างไร? ค้นหาคำตอบได้ในหนังสือเล่มนี้ |