การนับวันเริ่มปีใหม่ มีหลายตำนาน ก็ดีไปอย่าง เพราะมีทั้งแบบสากล ตรุษจีนและตรุษสงกรานต์ ให้ได้เตือนใจเมื่อถึงวันเริ่มต้นศักราชใหม่ที่น่าจะเป็นจุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายและพฤติกรรมที่ดีขึ้นเพื่อมุ่งสู่การเจริญก้าวหน้าของชีวิตและการงาน
วิถีทางใฝ่ดี ใฝ่พัฒนาเช่นนี้ ย่อมเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อตัวเองและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีคุณค่ากว่าเพียงการเฉลิมฉลองที่อาจได้ความรู้สึกดีช่วงสั้นๆ
จังหวะเวลาเช่นนี้จึงเหมาะที่จะแบ่งปันแนวคิดที่เอื้อต่อการเสริมสร้างทัศนคติและการดำเนินชีวิตสู่ผลลัพธ์ที่ดี
ผมขอกล่าวถึงหนังสือชื่อเก๋เล่มนี้ “เล็กน้อยxสม่ำเสมอ=มหาศาล” ที่เป็นผลงานการเขียนร่วมของศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ และ วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์ ซึ่งทั้ง 2 ผ่านประสบการณ์บริหารงานกับบริษัท โตโยต้าที่ญี่ปุนกว่า 10 ปี และยังได้รวบรวมและกลั่นกรองจากความรู้ระดับโลกผ่านแนวคิดและมุมมองของคนญี่ปุ่น สะสมเป็นบทความที่คัดเลือกและย่อยให้ง่ายเพื่อเป็นคู่มือพัฒนาศักยภาพคนไทยและคนทำงานในทุกระดับ ให้ได้เข้าถึงแก่นความสำเร็จของคนญี่ปุ่น ที่เริ่มต้นจากระบบความคิดที่ชาญฉลาด เรียบง่ายและนำไปใช้ได้จริง
เนื้อหาได้แบ่งเป็น ภาคที่ 1 กำลังใจดี จากเรื่องราวที่ทำให้ใจคุณมีพลัง พร้อมก้าวข้ามอุปสรรคและพิชิตเป้าหมายได้อย่างชาญฉลาด ภาคที่ 2 คิดดี ได้รับหลักคิดสไตล์คนญี่ปุ่นที่คุณนำไปพัฒนาตัวเองได้ทันที และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิดที่เฉียบคม วิธีนำเสนออย่างมืออาชีพ เป็นต้น และภาคที่ 3 ทำดี วิธีการลงมือทำที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เป็นขั้นเป็นตอน แต่ได้รับผลลัพธ์มหาศาล
ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ กล่าวว่า คนที่ประสบความสำเร็จบนโลกนั้น มีมากมายและวิธีการที่ใช้ในการสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นก็แตกต่างกันไป แต่จากประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตให้ประสบความสำเร็จทุกวันนี้ ได้แก่
1.จากคนที่เคยทำอะไรเยอะๆ จนหลายครั้งก็กระทบชีวิตหลายๆ ด้าน กลายมาเป็นคนที่ทำอะไรวันละเล็กละน้อย ไม่ฝืนตัวเอง 2.จากคนที่ทำอะไรนานๆ ครั้งหรือทำเป็นพักๆ แล้วทำเมื่อสะดวกหรือจะทำเฉพาะตอนที่มีพลังใจ ก็เปลี่ยนเป็นคนที่ทำอย่างสม่ำเสมอ หาเวลาให้กับการทำงานนั้นๆ ไม่ต้องรอให้มีเวลาว่างอีกต่อไป
พวกเราพบว่า นี่คือหนึ่งในสูตรของคนสำเร็จ และได้เห็นพลังของการทำสิ่งเล็กๆ แค่ทำอย่างต่อเนื่องได้เกิดผล
ขณะที่วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์ ยกตัวอย่างเมื่อ ปี 2013 มีคุณพ่อของเด็กน้อยคนหนึ่ง ได้โพสต์รูปป้ายที่ติดหน้าห้องของครูใหญ๋โรงเรียน Katsuyama ปรากฏว่าได้สร้างยอดแชร์กว่า11,000 ครั้ง เพราะข้อความในแผ่นป้ายระบุว่า
“1.01 ต่างจาก 1.00 อยู่ 1% และ 0.99 ก็ต่างจาก 1.00 อยู่ 1% เช่นกัน หากเราทำอะไรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ วันๆ ละ 1% ดังนั้น 1.01 เมื่อยกกำลัง 365= 37.8 นั่นก็หมายความว่า เราจะเก่งขึ้น ดีขึ้นในเรื่องนั้นๆ 38 เท่าโดยประมาณ แต่ถ้ากลับกัน หากเราหย่อนยานอะไรก็ตามอย่างต่อเนื่องเช่นกัน 0.99 ยกกำลัง 365 =0.03 ความสามารถที่เรามีก็แทบจะหายไป
หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งส่งเสริมหลักการเดียวกัน โดยชี้ให้เห็นว่า แม้ 1% จะดูเล็กน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับ 100% แต่มันกลับสามารถสร้างผลลัพธ์มหัศจรรย์ให้เราเห็นได้หากมีสิ่งที่เรียกว่า “ความสม่ำเสมอ” เติมเข้าไปก็จะกลายเป็นสูตรสำเร็จที่ "เล็กน้อยxสม่ำเสมอ=มหาศาล”
สอดคล้องกับคำกล่าวของ คาซุโอะ อินาโมริ นักบริหารวัย 78 ปี ที่รับอาสาภารกิจช่วยชาติ เข้ารับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด (CEO) ในการเข้าพลิกฟื้นชีวิตธุรกิจสายการบินแห่งชาติเจแปนแอร์ไลน์ส จนพ้นวิกฤติขาดทุนอย่างหนัก
อินาโมริสรุปว่า “ระหว่างคนที่ทำสำเร็จกับคนที่ไม่ใช่นั้น ต่างกันอยู่นิดเดียว นั่นคือ ความอึดและทน” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ให้วิธีคิดและวิธีทำที่เข้าใจง่าย ค่อยๆ สั่งสมนำไปประยุกต์ใช้ทีละนิดอย่างสม่ำเสมอทุกมิติ ทุกระดับของงาน ก็จะเกิดผลรวมที่ยิ่งใหญ่ได้
• คาถาความสำเร็จ “3 มั่น
(1) เชื่อมั่น ว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นเรื่องที่ดี ทั้งต่อตัวเองหรือองค์กร ดีต่อลูกค้าและต่อสังคม
(2) มุ่งมั่น เมื่อคิดรอบคอบแล้ว เชื่อมั่นว่า ดี ก็เดินหน้าทุ่มพลังเพื่อมุ่งให้สำเร็จตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรขึ้น ก็ไม่ยอมล้มเลิก อะไรที่ไม่รู้ ก็ถามผู้รู้ อะไรที่ไม่เก่ง ก็รู้จักฝึกฝน อะไรที่ไม่ถนัดก็หาผู้ช่วย
(3) มั่นใจ โดยมีภาพความสำเร็จรออยู่ข้างหน้าอย่างชัดเจนมาก
อินาโมริ เคยกล่าวไว้ในหนังสือ “Passion for a Success” ว่าคนที่ทำสำเร็จส่วนใหญ่มักเชื่อมั่นในตัวเองและมั่นใจว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน
• 3 เทคนิคเปลี่ยนตัวเองให้ดีกว่าเดิมทุกวัน
อาจารย์ทั้ง 2 ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ย้ำผู้ใฝ่พัฒนาตัวเองให้ตระหนักว่า “ไม่มีคำว่าดีที่สุด มีแต่คำว่าดีกว่าเดิมเสมอ” และให้กติกาดังนี้
(1) ชื่นชมตัวเองทุกครั้งที่ทำได้
(2) ให้ถามย้ำกับตัวเองเสมอว่า “ยังทำให้ดีกว่านี้ได้อีกไหม
(3) หาคนที่ไว้ใจได้มาทำหน้าที่กระจกเงาคอยมาสะท้อนผลงานของเรา
• ไม่ยอมแพ้ ก็ไม่แพ้
3 วิธีคิดที่ทำให้คุณไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ก็คือ
(1) ความผิดพลาด เป็นเพียงการล้มเหลวชั่วคราวให้เปลี่ยนเป็นคำว่า “ได้เรียนรู้”
(2) คำว่า “การเรียนรู้” คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
(3) รู้จักพักให้เป็น เพื่อสามารถเดินทางไกลต่อไป เพราะการล้มและหยุดพักในบางเวลา บางสถานการณ์ ไม่ได้หมายความว่า “แพ้” การยอมล้มเลิกต่างหากคือ แพ้
• เราสามารถให้โดยไม่เสียอะไรไป
H.Jackson Brown.Jr. นักเขียน นักสร้างแรงบันดาลใจเคยกล่าววรรคทองไว้ว่า
“คนที่มีความสุขที่สุด ไม่ใช่คนที่ได้รับมากขึ้น แต่เป็นคนที่ให้ได้มากขึ้นต่างหาก”
ขยายความของโค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย ก็เคยบอกว่า ในโลกนี้ยังมีหลายอย่างที่เราสามารถ “ให้โดยไม่เสียอะไรไป” เช่น คน2 คน แลกเปลี่ยนความคิดกัน
“แต่ละคนก็ได้ทั้งความคิดใหม่และความคิดเดิมที่พัฒนาขึ้นกลับไป”
ความคิดเช่นนี้เอง ที่มีคนรู้สึกอยากแบ่งปัน เพราะยิ่งให้ สิ่งที่มีไม่ได้ลดลง แต่กลับมากขึ้นและเพิ่มขึ้น เช่น ปีติสุขไงล่ะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงมีพระราชดำริเป็นวลีพระราชทานว่า “ขาดทุนคือกำไร”
ยิ่งเราให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสที่เดือดร้อน เราจะยิ่งได้รับความช่วยเหลือร่วมมือมากขึ้น
ยิ่งให้โอกาสคน เราก็ยิ่งได้รับโอกาสมากขึ้น ยิ่งเราแบ่งปันความรู้ เราจะยิ่งได้รับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มพูนกลับมา
สรุปแล้วมี 5 ประเภทที่ให้สิ่งดีๆ ไป โดยไม่ต้องสูญเสียอะไร ได้แก่
(1) ความรู้
(2) สิ่งของเหลือใช้
(3) กำลังแรงกาย
(4) ความคิดดีๆ
(5) กำลังใจและความเมตตาเอื้ออาทร
• หัวใจไม่ยอมแพ้
“อย่ายอมแพ้...
วันนี้อาจเจอเรื่องยากลำบาก
พรุ่งนี้อาจจะยิ่งแย่หนักขึ้นไปอีก
แต่ในที่สุด...วันถัดไปจะมีแสงสว่างรออยู่”
คำคมจากแจ็ค หม่า นักสู้ชีวิตที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจระดับโลกปัจจุบัน กล่าวคำข้างต้นพร้อมกับย้ำว่า
“เชื่อผมเถอะครับ....
ไม่เคยมีความพยายามใดสูญเปล่า
ถ้าเรามีหัวใจที่ไม่ยอมแพ้
ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นเสมอ
ถ้าเราไม่ทิ้งศรัทธา
ดังนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่าถอดใจจนกว่าจะหมดเวลา
เป้าหมายยิ่งใหญ่ มีโอกาสบรรลุได้
ไม่ใช่แค่พยายามแล้วจะสำเร็จเสมอไป แต่ต้องรู้ว่า เพื่ออะไร และเพื่อใคร
ยิ่งเป้าหมายมั่นคงและชัดเจน มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ เช่นช่วยคนที่กำลังทุกข์ยาก ขนาดของความมุ่งมั่นและพยายามของเราก็จะมากขึ้นด้วย เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคและความท้าทายให้ได้
ตัวอย่างนักเรียนวัย 6 ขวบ ที่ต้องผ่านการทดลองกระโดดข้ามแท่นสูงกว่าตัว เพื่อแสดงความพร้อมที่จะขึ้นชั้นเรียนถัดไปตามธรรมเนียมโรงเรียนเดิม เพื่อขอย้ายไปที่ใหม่อีกจังหวัด เพื่อมีโอกาสดูแลแม่ที่พักฟื้นจากการผ่าตัดหลอดเลือดสมอง
เมื่อเป้าหมายใหญ่ตามขนาดของฝัน มีใจมุ่งมั่น เพื่อนักเรียน ผู้ปกครองและครูต่างเป็นกำลังใจ เจ้าหนูเรียวคุง ก็ทำจนสำเร็จได้
• เริ่มต้นที่คำว่า “ทำอย่างไร” ไม่ใช่ “ทำไม่ได้”
ด้วยความคิดเปลี่ยนคำว่า “ทำไม่ได้” ให้คุณกลายเป็นคน “ทำได้”
(1) สังเกตคำตอบที่ได้จากคำถาม ที่นำไปสู่ผลบวก
(2) ใช้ตัวช่วยให้มากที่สุด ทั้งในโลกอินเทอร์เน็ต คนรอบข้าง โดยใช้คำถามที่ถูกกับคนที่ใช่
(3) รักษาความเหมาะสมระหว่างผลลัพธ์กับกรอบเวลา เช่น หาตัวอย่างที่ทำสำเร็จ มาเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้
• งานวัดที่คุณค่า ไม่ใช่เวลาที่ใช้ไป
โลกแห่งการแข่งขันปัจจุบัน เราต้องคำนึงถึงคำกล่าวของ เบรน เทรซี่ ที่ว่า
“ผู้จัดการในวันนี้ ต้องทำให้มากขึ้น ด้วยการใช้ทรัพยากรให้น้อยลง และให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า จากทรัพยากรที่จำกัด”
ดังนั้น 3 เทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
(1) จำแนกงานที่จำเป็นและไม่จำเป็นออกจากกัน
(2) ในงานที่จำเป็นต้องทำ มองหาสิ่งสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน เพื่อกำจัดความสูญเปล่า
(3) ในกระบวนการที่ต้องทำ หาวิธีปรับปรุงให้ทำงานดีขึ้น
ตัวอย่างองค์ความรู้เหล่านี้ น่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มทบทวน ปรับเปลี่ยนวิธีทำงานแบบเดิมให้กลายเป็นคนใหม่ที่มีคุณภาพและประสิทธิผล
ข้อมูลจากหนังสือ “เล็กน้อยxสม่ำเสมอ=มหาศาล”
ผู้เขียน : ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์, วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์
สำนักพิมพ์ : Wish Books
วิถีทางใฝ่ดี ใฝ่พัฒนาเช่นนี้ ย่อมเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อตัวเองและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีคุณค่ากว่าเพียงการเฉลิมฉลองที่อาจได้ความรู้สึกดีช่วงสั้นๆ
จังหวะเวลาเช่นนี้จึงเหมาะที่จะแบ่งปันแนวคิดที่เอื้อต่อการเสริมสร้างทัศนคติและการดำเนินชีวิตสู่ผลลัพธ์ที่ดี
ผมขอกล่าวถึงหนังสือชื่อเก๋เล่มนี้ “เล็กน้อยxสม่ำเสมอ=มหาศาล” ที่เป็นผลงานการเขียนร่วมของศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ และ วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์ ซึ่งทั้ง 2 ผ่านประสบการณ์บริหารงานกับบริษัท โตโยต้าที่ญี่ปุนกว่า 10 ปี และยังได้รวบรวมและกลั่นกรองจากความรู้ระดับโลกผ่านแนวคิดและมุมมองของคนญี่ปุ่น สะสมเป็นบทความที่คัดเลือกและย่อยให้ง่ายเพื่อเป็นคู่มือพัฒนาศักยภาพคนไทยและคนทำงานในทุกระดับ ให้ได้เข้าถึงแก่นความสำเร็จของคนญี่ปุ่น ที่เริ่มต้นจากระบบความคิดที่ชาญฉลาด เรียบง่ายและนำไปใช้ได้จริง
เนื้อหาได้แบ่งเป็น ภาคที่ 1 กำลังใจดี จากเรื่องราวที่ทำให้ใจคุณมีพลัง พร้อมก้าวข้ามอุปสรรคและพิชิตเป้าหมายได้อย่างชาญฉลาด ภาคที่ 2 คิดดี ได้รับหลักคิดสไตล์คนญี่ปุ่นที่คุณนำไปพัฒนาตัวเองได้ทันที และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิดที่เฉียบคม วิธีนำเสนออย่างมืออาชีพ เป็นต้น และภาคที่ 3 ทำดี วิธีการลงมือทำที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เป็นขั้นเป็นตอน แต่ได้รับผลลัพธ์มหาศาล
ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ กล่าวว่า คนที่ประสบความสำเร็จบนโลกนั้น มีมากมายและวิธีการที่ใช้ในการสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นก็แตกต่างกันไป แต่จากประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตให้ประสบความสำเร็จทุกวันนี้ ได้แก่
1.จากคนที่เคยทำอะไรเยอะๆ จนหลายครั้งก็กระทบชีวิตหลายๆ ด้าน กลายมาเป็นคนที่ทำอะไรวันละเล็กละน้อย ไม่ฝืนตัวเอง 2.จากคนที่ทำอะไรนานๆ ครั้งหรือทำเป็นพักๆ แล้วทำเมื่อสะดวกหรือจะทำเฉพาะตอนที่มีพลังใจ ก็เปลี่ยนเป็นคนที่ทำอย่างสม่ำเสมอ หาเวลาให้กับการทำงานนั้นๆ ไม่ต้องรอให้มีเวลาว่างอีกต่อไป
พวกเราพบว่า นี่คือหนึ่งในสูตรของคนสำเร็จ และได้เห็นพลังของการทำสิ่งเล็กๆ แค่ทำอย่างต่อเนื่องได้เกิดผล
ขณะที่วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์ ยกตัวอย่างเมื่อ ปี 2013 มีคุณพ่อของเด็กน้อยคนหนึ่ง ได้โพสต์รูปป้ายที่ติดหน้าห้องของครูใหญ๋โรงเรียน Katsuyama ปรากฏว่าได้สร้างยอดแชร์กว่า11,000 ครั้ง เพราะข้อความในแผ่นป้ายระบุว่า
“1.01 ต่างจาก 1.00 อยู่ 1% และ 0.99 ก็ต่างจาก 1.00 อยู่ 1% เช่นกัน หากเราทำอะไรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ วันๆ ละ 1% ดังนั้น 1.01 เมื่อยกกำลัง 365= 37.8 นั่นก็หมายความว่า เราจะเก่งขึ้น ดีขึ้นในเรื่องนั้นๆ 38 เท่าโดยประมาณ แต่ถ้ากลับกัน หากเราหย่อนยานอะไรก็ตามอย่างต่อเนื่องเช่นกัน 0.99 ยกกำลัง 365 =0.03 ความสามารถที่เรามีก็แทบจะหายไป
หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งส่งเสริมหลักการเดียวกัน โดยชี้ให้เห็นว่า แม้ 1% จะดูเล็กน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับ 100% แต่มันกลับสามารถสร้างผลลัพธ์มหัศจรรย์ให้เราเห็นได้หากมีสิ่งที่เรียกว่า “ความสม่ำเสมอ” เติมเข้าไปก็จะกลายเป็นสูตรสำเร็จที่ "เล็กน้อยxสม่ำเสมอ=มหาศาล”
สอดคล้องกับคำกล่าวของ คาซุโอะ อินาโมริ นักบริหารวัย 78 ปี ที่รับอาสาภารกิจช่วยชาติ เข้ารับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด (CEO) ในการเข้าพลิกฟื้นชีวิตธุรกิจสายการบินแห่งชาติเจแปนแอร์ไลน์ส จนพ้นวิกฤติขาดทุนอย่างหนัก
อินาโมริสรุปว่า “ระหว่างคนที่ทำสำเร็จกับคนที่ไม่ใช่นั้น ต่างกันอยู่นิดเดียว นั่นคือ ความอึดและทน” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ให้วิธีคิดและวิธีทำที่เข้าใจง่าย ค่อยๆ สั่งสมนำไปประยุกต์ใช้ทีละนิดอย่างสม่ำเสมอทุกมิติ ทุกระดับของงาน ก็จะเกิดผลรวมที่ยิ่งใหญ่ได้
• คาถาความสำเร็จ “3 มั่น
(1) เชื่อมั่น ว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นเรื่องที่ดี ทั้งต่อตัวเองหรือองค์กร ดีต่อลูกค้าและต่อสังคม
(2) มุ่งมั่น เมื่อคิดรอบคอบแล้ว เชื่อมั่นว่า ดี ก็เดินหน้าทุ่มพลังเพื่อมุ่งให้สำเร็จตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรขึ้น ก็ไม่ยอมล้มเลิก อะไรที่ไม่รู้ ก็ถามผู้รู้ อะไรที่ไม่เก่ง ก็รู้จักฝึกฝน อะไรที่ไม่ถนัดก็หาผู้ช่วย
(3) มั่นใจ โดยมีภาพความสำเร็จรออยู่ข้างหน้าอย่างชัดเจนมาก
อินาโมริ เคยกล่าวไว้ในหนังสือ “Passion for a Success” ว่าคนที่ทำสำเร็จส่วนใหญ่มักเชื่อมั่นในตัวเองและมั่นใจว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน
• 3 เทคนิคเปลี่ยนตัวเองให้ดีกว่าเดิมทุกวัน
อาจารย์ทั้ง 2 ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ย้ำผู้ใฝ่พัฒนาตัวเองให้ตระหนักว่า “ไม่มีคำว่าดีที่สุด มีแต่คำว่าดีกว่าเดิมเสมอ” และให้กติกาดังนี้
(1) ชื่นชมตัวเองทุกครั้งที่ทำได้
(2) ให้ถามย้ำกับตัวเองเสมอว่า “ยังทำให้ดีกว่านี้ได้อีกไหม
(3) หาคนที่ไว้ใจได้มาทำหน้าที่กระจกเงาคอยมาสะท้อนผลงานของเรา
• ไม่ยอมแพ้ ก็ไม่แพ้
3 วิธีคิดที่ทำให้คุณไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ก็คือ
(1) ความผิดพลาด เป็นเพียงการล้มเหลวชั่วคราวให้เปลี่ยนเป็นคำว่า “ได้เรียนรู้”
(2) คำว่า “การเรียนรู้” คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
(3) รู้จักพักให้เป็น เพื่อสามารถเดินทางไกลต่อไป เพราะการล้มและหยุดพักในบางเวลา บางสถานการณ์ ไม่ได้หมายความว่า “แพ้” การยอมล้มเลิกต่างหากคือ แพ้
• เราสามารถให้โดยไม่เสียอะไรไป
H.Jackson Brown.Jr. นักเขียน นักสร้างแรงบันดาลใจเคยกล่าววรรคทองไว้ว่า
“คนที่มีความสุขที่สุด ไม่ใช่คนที่ได้รับมากขึ้น แต่เป็นคนที่ให้ได้มากขึ้นต่างหาก”
ขยายความของโค้ชเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย ก็เคยบอกว่า ในโลกนี้ยังมีหลายอย่างที่เราสามารถ “ให้โดยไม่เสียอะไรไป” เช่น คน2 คน แลกเปลี่ยนความคิดกัน
“แต่ละคนก็ได้ทั้งความคิดใหม่และความคิดเดิมที่พัฒนาขึ้นกลับไป”
ความคิดเช่นนี้เอง ที่มีคนรู้สึกอยากแบ่งปัน เพราะยิ่งให้ สิ่งที่มีไม่ได้ลดลง แต่กลับมากขึ้นและเพิ่มขึ้น เช่น ปีติสุขไงล่ะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงมีพระราชดำริเป็นวลีพระราชทานว่า “ขาดทุนคือกำไร”
ยิ่งเราให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสที่เดือดร้อน เราจะยิ่งได้รับความช่วยเหลือร่วมมือมากขึ้น
ยิ่งให้โอกาสคน เราก็ยิ่งได้รับโอกาสมากขึ้น ยิ่งเราแบ่งปันความรู้ เราจะยิ่งได้รับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มพูนกลับมา
สรุปแล้วมี 5 ประเภทที่ให้สิ่งดีๆ ไป โดยไม่ต้องสูญเสียอะไร ได้แก่
(1) ความรู้
(2) สิ่งของเหลือใช้
(3) กำลังแรงกาย
(4) ความคิดดีๆ
(5) กำลังใจและความเมตตาเอื้ออาทร
• หัวใจไม่ยอมแพ้
“อย่ายอมแพ้...
วันนี้อาจเจอเรื่องยากลำบาก
พรุ่งนี้อาจจะยิ่งแย่หนักขึ้นไปอีก
แต่ในที่สุด...วันถัดไปจะมีแสงสว่างรออยู่”
คำคมจากแจ็ค หม่า นักสู้ชีวิตที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจระดับโลกปัจจุบัน กล่าวคำข้างต้นพร้อมกับย้ำว่า
“เชื่อผมเถอะครับ....
ไม่เคยมีความพยายามใดสูญเปล่า
ถ้าเรามีหัวใจที่ไม่ยอมแพ้
ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นเสมอ
ถ้าเราไม่ทิ้งศรัทธา
ดังนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่าถอดใจจนกว่าจะหมดเวลา
เป้าหมายยิ่งใหญ่ มีโอกาสบรรลุได้
ไม่ใช่แค่พยายามแล้วจะสำเร็จเสมอไป แต่ต้องรู้ว่า เพื่ออะไร และเพื่อใคร
ยิ่งเป้าหมายมั่นคงและชัดเจน มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ เช่นช่วยคนที่กำลังทุกข์ยาก ขนาดของความมุ่งมั่นและพยายามของเราก็จะมากขึ้นด้วย เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคและความท้าทายให้ได้
ตัวอย่างนักเรียนวัย 6 ขวบ ที่ต้องผ่านการทดลองกระโดดข้ามแท่นสูงกว่าตัว เพื่อแสดงความพร้อมที่จะขึ้นชั้นเรียนถัดไปตามธรรมเนียมโรงเรียนเดิม เพื่อขอย้ายไปที่ใหม่อีกจังหวัด เพื่อมีโอกาสดูแลแม่ที่พักฟื้นจากการผ่าตัดหลอดเลือดสมอง
เมื่อเป้าหมายใหญ่ตามขนาดของฝัน มีใจมุ่งมั่น เพื่อนักเรียน ผู้ปกครองและครูต่างเป็นกำลังใจ เจ้าหนูเรียวคุง ก็ทำจนสำเร็จได้
• เริ่มต้นที่คำว่า “ทำอย่างไร” ไม่ใช่ “ทำไม่ได้”
ด้วยความคิดเปลี่ยนคำว่า “ทำไม่ได้” ให้คุณกลายเป็นคน “ทำได้”
(1) สังเกตคำตอบที่ได้จากคำถาม ที่นำไปสู่ผลบวก
(2) ใช้ตัวช่วยให้มากที่สุด ทั้งในโลกอินเทอร์เน็ต คนรอบข้าง โดยใช้คำถามที่ถูกกับคนที่ใช่
(3) รักษาความเหมาะสมระหว่างผลลัพธ์กับกรอบเวลา เช่น หาตัวอย่างที่ทำสำเร็จ มาเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้
• งานวัดที่คุณค่า ไม่ใช่เวลาที่ใช้ไป
โลกแห่งการแข่งขันปัจจุบัน เราต้องคำนึงถึงคำกล่าวของ เบรน เทรซี่ ที่ว่า
“ผู้จัดการในวันนี้ ต้องทำให้มากขึ้น ด้วยการใช้ทรัพยากรให้น้อยลง และให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า จากทรัพยากรที่จำกัด”
ดังนั้น 3 เทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
(1) จำแนกงานที่จำเป็นและไม่จำเป็นออกจากกัน
(2) ในงานที่จำเป็นต้องทำ มองหาสิ่งสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน เพื่อกำจัดความสูญเปล่า
(3) ในกระบวนการที่ต้องทำ หาวิธีปรับปรุงให้ทำงานดีขึ้น
ตัวอย่างองค์ความรู้เหล่านี้ น่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มทบทวน ปรับเปลี่ยนวิธีทำงานแบบเดิมให้กลายเป็นคนใหม่ที่มีคุณภาพและประสิทธิผล
ข้อมูลจากหนังสือ “เล็กน้อยxสม่ำเสมอ=มหาศาล”
ผู้เขียน : ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์, วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์
สำนักพิมพ์ : Wish Books
แนะนำหนังสือ กินให้ถูกวิธี 4 โรคเรื้อรังไม่มาเยือน ผู้เขียน : ผศ.พญ. ศานิต วิชานศวกุล สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์ ราคา : 225 บาท เพราะกว่า 90% ของ 4 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้ง อ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง เกิดจากพฤติกรรมการกิน หาก “เลือกอาหาร” ถูก “คำนวณสารอาหาร” เป็น ก็สามารถป้องกันและช่วยควบคุมโรคได้ อ่านงบการเงิน ด้วยปากกา 3 สี ผู้เขียน : คันจิ โยชิดะ ผู้แปล : ทินพาทย์ พาหะนิชย์ สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น ราคา 230 บาท ไม่ว่าคุณจะอยากรู้ฐานะทางการเงินที่แท้จริงของบริษัทใดๆ ก็ตาม เพื่อลงทุนในหุ้น ตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจด้วย หรือแม้แต่สมัครเข้าทำงาน คุณก็สามารถอ่านงบการเงินของบริษัทแห่งนั้น ได้อย่างทะลุปรุโปร่งในเวลาเพียงไม่กี่นาที ด้วยปากกา 3 สีด้ามเดียวเท่านั้น! รู้อะไรไม่สู้ รู้ดาต้า ผู้เขียน : ANDREAS WEIGEND ผู้แปล : ดาวิษ ชาญชัยวานิช สำนักพิมพ์ : บันลือบุ๊คส์ ราคา 395 บาท เรื่องราว แง่คิด ประสบการณ์ตลอดการทำงานกว่า 20 ปี ของ ‘ANDREAS WEIGEND’ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Social Data Lab อดีตหัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ ของ Amazon รวมถึงบทบาทการเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจมากมาย อาทิ Alibaba, Hyatt, Lufthunsa และ MasterCard ในภาคธุรกิจและการสอนเพื่อให้รู้เท่าทันระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในยุคปฏิวัติข้อมูลทางโซเชียลแบบปัจจุบัน บ่อขุมทรัพย์แห่งอนาคต แตกต่าง แต่สำเร็จ ผู้เขียน : เคลลี่ แม็คโดนัลด์ ผู้แปล : ชัชวนันท์ สันธิเดช สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ด ราคา 185 บาท การทำงานโดยมีความแตกต่างหลากหลายเข้ามาเป็นปัจจัย เช่น เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา ความชอบ อาจทำให้เกิดปัญหาบางอย่างขึ้นมาได้ แต่จะทำอย่างไรให้ความแตกต่างหลากหลายเหล่านั้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ! |