เปิดตัวอย่างผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง กับเรื่องราวของ “น้องไบรท์” เด็กน้อยวัย 4 ขวบ ที่ต้องเผชิญกับโรคหลายโรค ทั้งติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ชัก ไข้สูง มีโรคชักทางสมอง ปอดติดเชื้ออักเสบขั้นเรื้อรัง หลอดลมติดเชื้อ หัวใจรั่ว และหัวใจโต โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดโรคก็คือ การได้รับควันบุหรี่มือสอง
ภาพคุณแม่วรรณเพ็ญ ยิ้มปิ่น ที่กำลังดูแลลูกสาว น้องไบรท์-ด.ญ.ปัทมวรรณ ยิ้มปิ่น ด้วยความอาทรอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย กับภาพน้องไบรท์ที่ดูเป็นเด็กอารมณ์ดี มีแววตาเป็นประกายสนใจสิ่งรอบตัว ดูแล้วก็เหมือนภาพครอบครัวแสนสุขที่เราพบเห็นได้ทั่วไป แต่ในความเป็นจริงนั้น ใครจะรู้ว่า ครอบครัวนี้กำลังถูกหมอกควันของโรคร้ายรุมเร้าตัวลูกสาวอยู่ ซึ่งสาเหตุแห่งความทุกข์นี้ เกิดจากความไม่เข้าใจถึงพิษของควันบุหรี่ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กน้อย
“แม่มีลูก 3 คนค่ะ คนโตอายุ 19 ปี สุขภาพแข็งแรงดี คนที่สองอายุ 12 ปี เดิมอยู่ชุมชนก่อสร้าง แต่หมอบอกว่าสิ่งแวดล้อมไม่ดี พอเข้าโรงเรียน แม่เลยเอากลับไปอยู่บ้านนอกกับยาย ตอนนี้ก็เลยแข็งแรงดี” คุณแม่วรรณเพ็ญ บอกเล่าถึงสภาพความเป็นไปภายในครอบครัว
“แต่คนที่สามคือน้องไบรท์อายุ 4 ขวบ ตอนตั้งท้อง แม่อยู่ในแคมป์ก่อสร้าง ด้วยความเคยชินก็ไม่ได้ป้องกันอะไร คลอดออกมาใหม่ๆ น้องก็ปกติดี มาเริ่มป่วยตอนอายุ 2 เดือนครึ่ง ป่วยหลายโรค ทั้งติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ชัก ไข้สูง มีโรคชักทางสมอง ต่อมาก็ปอดติดเชื้ออักเสบขั้นเรื้อรัง หลอดลมติดเชื้อ แล้วมาเจอหัวใจรั่ว ตามด้วยหัวใจโต ทุกวันนี้น้องต้องกินยาสารพัด วันนึงไม่ต่ำกว่า 10 อย่างต่อมื้อ”
นอกจากนี้แล้ว คุณแม่วรรณเพ็ญยังบอกอีกว่า ยิ่งถ้าน้องไบรท์เจอฝุ่นหรือควันบุหรี่ น้องจะยิ่งหายใจไม่ออก เกิดอาการหอบ ถึงขั้นปอดติดเชื้อ เคยเป็นหนักสุดคือหายใจเองไม่ได้ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ อยู่โรงพยาบาลนานเป็นเดือน ตอนนี้อาการทรงๆ หมอไม่ได้ให้ความหวังอะไร ต้องรักษากันไปวันต่อวัน
“พอถามถึงสาเหตุ คุณหมอบอกแม่ว่า สภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคปอดและหลอดลม”
อย่างไรก็ตาม ด้วยความจำเป็นของคนหาเช้ากินค่ำที่ต้องอยู่ในชุมชนก่อสร้าง สภาพแวดล้อมควบคุมยาก มีทั้งควันบุหรี่ลอยตามลม หรือควันบุหรี่ที่ติดตามผิวหนัง เส้นผมและเสื้อผ้า แม้แต่ห้องพักติดกันในแคมป์คนงานก็สูบบุหรี่
“เราก็ทำได้แค่บอกเขาให้ไปสูบไกลๆ หน่อย บางทีเขาก็ดับให้ แล้วเราก็ต้องรีบอุ้มน้องเดินหนีไปเลย ส่วนพ่อของไบรท์ก็สูบบุหรี่ แม่ก็พยายามบอกให้เขาเลิก พ่อแข็งแรงดี แต่พอเห็นลูกป่วยบ่อย เขาก็ไม่มาสูบใกล้ลูก จะล้างหน้า แปรงฟันก่อนมาหาลูก แล้วก็พยายามลดบุหรี่ แต่ยังเลิกไม่ได้ ก็ค่อยๆ ลดทีละน้อย" คุณแม่วรรณเพ็ญบอกพร้อมรอยยิ้มจางๆ ก่อนจะทิ้งท้ายถึงลูกคนนี้ว่า
“หวังให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ก็พอ แค่เขาไปโรงเรียนได้ แม่ก็ดีใจแล้ว”
จากสิ่งที่ครอบครัว 'ยิ้มปิ่น' ต้องเผชิญ คงพอทำให้เห็นว่า เรื่องนี้สังคมต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งคนสูบบุหรี่เองที่ต้องระวังถึงผลกระทบจากควันบุหรี่ที่คนอื่นจะได้รับ รวมไปถึงการจัดการในระดับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดพื้นที่สูบบุหรี่อย่างเป็นสัดเป็นส่วน ไม่ปล่อยให้หน้าบ้านหรือหลังบ้านของใครเป็นที่สูบบุหรี่อีกต่อไป เพื่อที่ว่า นับแต่นี้เป็นต้นไป ควันบุหรี่ตัวร้าย จะไม่ไปพรากอนาคตอันสดใสของเด็กน้อยคนไหนได้อีก
อยากเลิกบุหรี่ สามารถโทร. ปรึกษาขอคำแนะนำ และข้อมูลได้ฟรีที่ 1600 หรือ http://www.thailandquitline.or.th/site/
ภาพคุณแม่วรรณเพ็ญ ยิ้มปิ่น ที่กำลังดูแลลูกสาว น้องไบรท์-ด.ญ.ปัทมวรรณ ยิ้มปิ่น ด้วยความอาทรอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย กับภาพน้องไบรท์ที่ดูเป็นเด็กอารมณ์ดี มีแววตาเป็นประกายสนใจสิ่งรอบตัว ดูแล้วก็เหมือนภาพครอบครัวแสนสุขที่เราพบเห็นได้ทั่วไป แต่ในความเป็นจริงนั้น ใครจะรู้ว่า ครอบครัวนี้กำลังถูกหมอกควันของโรคร้ายรุมเร้าตัวลูกสาวอยู่ ซึ่งสาเหตุแห่งความทุกข์นี้ เกิดจากความไม่เข้าใจถึงพิษของควันบุหรี่ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กน้อย
“แม่มีลูก 3 คนค่ะ คนโตอายุ 19 ปี สุขภาพแข็งแรงดี คนที่สองอายุ 12 ปี เดิมอยู่ชุมชนก่อสร้าง แต่หมอบอกว่าสิ่งแวดล้อมไม่ดี พอเข้าโรงเรียน แม่เลยเอากลับไปอยู่บ้านนอกกับยาย ตอนนี้ก็เลยแข็งแรงดี” คุณแม่วรรณเพ็ญ บอกเล่าถึงสภาพความเป็นไปภายในครอบครัว
“แต่คนที่สามคือน้องไบรท์อายุ 4 ขวบ ตอนตั้งท้อง แม่อยู่ในแคมป์ก่อสร้าง ด้วยความเคยชินก็ไม่ได้ป้องกันอะไร คลอดออกมาใหม่ๆ น้องก็ปกติดี มาเริ่มป่วยตอนอายุ 2 เดือนครึ่ง ป่วยหลายโรค ทั้งติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ชัก ไข้สูง มีโรคชักทางสมอง ต่อมาก็ปอดติดเชื้ออักเสบขั้นเรื้อรัง หลอดลมติดเชื้อ แล้วมาเจอหัวใจรั่ว ตามด้วยหัวใจโต ทุกวันนี้น้องต้องกินยาสารพัด วันนึงไม่ต่ำกว่า 10 อย่างต่อมื้อ”
นอกจากนี้แล้ว คุณแม่วรรณเพ็ญยังบอกอีกว่า ยิ่งถ้าน้องไบรท์เจอฝุ่นหรือควันบุหรี่ น้องจะยิ่งหายใจไม่ออก เกิดอาการหอบ ถึงขั้นปอดติดเชื้อ เคยเป็นหนักสุดคือหายใจเองไม่ได้ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ อยู่โรงพยาบาลนานเป็นเดือน ตอนนี้อาการทรงๆ หมอไม่ได้ให้ความหวังอะไร ต้องรักษากันไปวันต่อวัน
“พอถามถึงสาเหตุ คุณหมอบอกแม่ว่า สภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคปอดและหลอดลม”
อย่างไรก็ตาม ด้วยความจำเป็นของคนหาเช้ากินค่ำที่ต้องอยู่ในชุมชนก่อสร้าง สภาพแวดล้อมควบคุมยาก มีทั้งควันบุหรี่ลอยตามลม หรือควันบุหรี่ที่ติดตามผิวหนัง เส้นผมและเสื้อผ้า แม้แต่ห้องพักติดกันในแคมป์คนงานก็สูบบุหรี่
“เราก็ทำได้แค่บอกเขาให้ไปสูบไกลๆ หน่อย บางทีเขาก็ดับให้ แล้วเราก็ต้องรีบอุ้มน้องเดินหนีไปเลย ส่วนพ่อของไบรท์ก็สูบบุหรี่ แม่ก็พยายามบอกให้เขาเลิก พ่อแข็งแรงดี แต่พอเห็นลูกป่วยบ่อย เขาก็ไม่มาสูบใกล้ลูก จะล้างหน้า แปรงฟันก่อนมาหาลูก แล้วก็พยายามลดบุหรี่ แต่ยังเลิกไม่ได้ ก็ค่อยๆ ลดทีละน้อย" คุณแม่วรรณเพ็ญบอกพร้อมรอยยิ้มจางๆ ก่อนจะทิ้งท้ายถึงลูกคนนี้ว่า
“หวังให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ก็พอ แค่เขาไปโรงเรียนได้ แม่ก็ดีใจแล้ว”
จากสิ่งที่ครอบครัว 'ยิ้มปิ่น' ต้องเผชิญ คงพอทำให้เห็นว่า เรื่องนี้สังคมต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งคนสูบบุหรี่เองที่ต้องระวังถึงผลกระทบจากควันบุหรี่ที่คนอื่นจะได้รับ รวมไปถึงการจัดการในระดับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดพื้นที่สูบบุหรี่อย่างเป็นสัดเป็นส่วน ไม่ปล่อยให้หน้าบ้านหรือหลังบ้านของใครเป็นที่สูบบุหรี่อีกต่อไป เพื่อที่ว่า นับแต่นี้เป็นต้นไป ควันบุหรี่ตัวร้าย จะไม่ไปพรากอนาคตอันสดใสของเด็กน้อยคนไหนได้อีก
อยากเลิกบุหรี่ สามารถโทร. ปรึกษาขอคำแนะนำ และข้อมูลได้ฟรีที่ 1600 หรือ http://www.thailandquitline.or.th/site/