หากพูดถึง “บ้าน” ในความรู้สึกของทุกคนคือ สถานที่ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะกับลูกๆ ด้วยแล้ว เพราะในบ้านมีพ่อแม่ที่คอยดูแลปกป้องให้พวกเขามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีอนาคตที่ดี แต่บางครั้งเพียงความชะล่าใจ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของพ่อกับแม่ อาจทำให้ “บ้าน” กลายเป็นสถานที่อันตรายที่ลูกต้องเผชิญกับภัยร้ายโดยไม่รู้ตัว
ภัยร้ายที่เราพูดถึงที่ว่านี้ก็คือ “ควันบุหรี่” เพราะไม่เพียงควันที่คนสูบสูดดมเข้าไปในร่างกาย แต่ยังรวมถึง “ควันบุหรี่มือสอง” ที่ผู้สูบบุหรี่สูดเข้าไปและหายใจออกมา รวมถึงควันจากปลายมวนบุหรี่ที่จุดไฟที่ลอยอยู่ในอากาศในขณะที่ไม่มีการสูบ ซึ่งควันบุหรี่มือสองนี้เอง ที่เป็นภัยร้ายคุกคามไปยังลูกรักของคุณได้ และถึงแม้ว่าคุณจะพยายามออกไปสูบบุหรี่นอกบ้านให้ห่างจากลูกแล้วก็ตาม แต่ความห่วงใยเหล่านั้นยังไม่เพียงพอ เพราะคุณอาจกำลังทำร้ายลูกรักของคุณทางอ้อม ดังนั้นด้วยความปรารถนาดี เราจึงอยากขอให้คุณหยุดอ่านตรงนี้
มีสถิติที่น่าตกใจ โดยการสำรวจขององค์การอนามัยโลกร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2558 พบว่า เด็กนักเรียนไทย 1 ใน 3 ได้รับควันบุหรี่มือสองจากที่บ้าน โดยควันบุหรี่มือสองมีปริมาณนิโคติน และสารเคมีอันตรายไม่ต่างกับที่ผู้สูบบุหรี่สูดควันเข้าไปเอง แถมยังมีส่วนประกอบของสารประกอบเคมีมากกว่า 7,000 ตัว ซึ่งมากกว่า 250 ชนิดมีอันตราย และอีกกว่า 50 ชนิดเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง
นอกจากนี้ มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า ครอบครัวที่พ่อแม่สูบบุหรี่ บนมือของลูกจะมีสารนิโคตินติดอยู่ แม้พ่อแม่จะไม่ได้สูบบุหรี่ใกล้ตัวลูกก็ตาม เพราะนิโคตินจากบุหรี่มักติดอยู่ตามเสื้อผ้า พื้นผิวบ้าน ผนังบ้าน สิ่งของเครื่องใช้ หรือเครื่องเรือนภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง โซฟา ฯลฯ ซึ่งสารพิษเหล่านี้สามารถคงค้างอยู่ได้หลายเดือน แม้ว่าจะมีการทำความสะอาดบ้าน หรือทาสีใหม่แล้วก็ตาม และเด็กๆ มักจะสัมผัส เช่น แตะ ลูบ คลำ สิ่งของต่างๆ และเอานิ้วเข้าปาก ซึ่งหมายความว่า เด็กเหล่านั้นกำลังหยิบสารพิษเข้าปากอยู่นั่นเอง
โดยสารนิโคตินที่ลูกรับเข้าไปจะสามารถแพร่ถึงสมองได้ภายในเวลาเพียง 7 วินาที ซึ่งสมองส่วนที่ได้รับผลกระทบจากนิโคตินมากที่สุด คือสมองส่วนคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ซึ่งมีหน้าที่วางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับบุคลิก การตัดสินใจ และการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการของลูก
อีกเหตุผลหนึ่งที่พ่อแม่ไม่ควรสูบบุหรี่อย่างยิ่งเลยก็คือ หากบ้านไหนพ่อหรือแม่สูบบุหรี่ อาจทำให้เมื่อโตขึ้นลูกอาจมีแนวโน้มสูบบุหรี่ตามพ่อกับแม่ โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น ซึ่งบ่งชี้ว่า ครอบครัวไหนที่มีการสูบบุหรี่ในบ้านจะมีแนวโน้มทำให้เด็กวัยรุ่นสูบบุหรี่ถึง 3 เท่า ส่วนเด็กวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีการสูบบุหรี่ในบ้าน การวิจัยพบว่า ร้อยละ 79 ในอนาคตจะไม่สูบบุหรี่อย่างแน่นอน
ดังนั้น หากรักลูก อย่าให้คำว่า “บ้าน” เป็นแหล่งกักเก็บสารพิษจากควันบุหรี่ที่พร้อมจะทำอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยโดยไม่รู้ตัว มาร่วมสร้างบ้านให้ปลอดภัยสำหรับลูกรักของคุณ โดยเลิกบุหรี่กันเสียตั้งแต่วันนี้
อยากเลิกบุหรี่ สามารถโทร. ปรึกษาขอคำแนะนำ และข้อมูลได้ฟรีที่ 1600 หรือ http://www.thailandquitline.or.th/site/
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.reuters.com/article/us-teen-smoking-parents/the-longer-parents-smoke-the-more-likely-their-kids-will-too-study-idUSKBN0DT1QV20140513
https://www.sciencenewsforstudents.org/article/explainer-nico-teen-brain
https://www.sciencedaily.com/releases/2017/04/170406105746.htm
https://news.nationalgeographic.com/news/2014/03/140320-thirdhand-smoke-cigarettes-cancer/
https://www.honestdocs.co/the-effects-of-secondhand-smoke
http://www.thaihealth.or.th/Content/39878
ภัยร้ายที่เราพูดถึงที่ว่านี้ก็คือ “ควันบุหรี่” เพราะไม่เพียงควันที่คนสูบสูดดมเข้าไปในร่างกาย แต่ยังรวมถึง “ควันบุหรี่มือสอง” ที่ผู้สูบบุหรี่สูดเข้าไปและหายใจออกมา รวมถึงควันจากปลายมวนบุหรี่ที่จุดไฟที่ลอยอยู่ในอากาศในขณะที่ไม่มีการสูบ ซึ่งควันบุหรี่มือสองนี้เอง ที่เป็นภัยร้ายคุกคามไปยังลูกรักของคุณได้ และถึงแม้ว่าคุณจะพยายามออกไปสูบบุหรี่นอกบ้านให้ห่างจากลูกแล้วก็ตาม แต่ความห่วงใยเหล่านั้นยังไม่เพียงพอ เพราะคุณอาจกำลังทำร้ายลูกรักของคุณทางอ้อม ดังนั้นด้วยความปรารถนาดี เราจึงอยากขอให้คุณหยุดอ่านตรงนี้
มีสถิติที่น่าตกใจ โดยการสำรวจขององค์การอนามัยโลกร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2558 พบว่า เด็กนักเรียนไทย 1 ใน 3 ได้รับควันบุหรี่มือสองจากที่บ้าน โดยควันบุหรี่มือสองมีปริมาณนิโคติน และสารเคมีอันตรายไม่ต่างกับที่ผู้สูบบุหรี่สูดควันเข้าไปเอง แถมยังมีส่วนประกอบของสารประกอบเคมีมากกว่า 7,000 ตัว ซึ่งมากกว่า 250 ชนิดมีอันตราย และอีกกว่า 50 ชนิดเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง
นอกจากนี้ มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า ครอบครัวที่พ่อแม่สูบบุหรี่ บนมือของลูกจะมีสารนิโคตินติดอยู่ แม้พ่อแม่จะไม่ได้สูบบุหรี่ใกล้ตัวลูกก็ตาม เพราะนิโคตินจากบุหรี่มักติดอยู่ตามเสื้อผ้า พื้นผิวบ้าน ผนังบ้าน สิ่งของเครื่องใช้ หรือเครื่องเรือนภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง โซฟา ฯลฯ ซึ่งสารพิษเหล่านี้สามารถคงค้างอยู่ได้หลายเดือน แม้ว่าจะมีการทำความสะอาดบ้าน หรือทาสีใหม่แล้วก็ตาม และเด็กๆ มักจะสัมผัส เช่น แตะ ลูบ คลำ สิ่งของต่างๆ และเอานิ้วเข้าปาก ซึ่งหมายความว่า เด็กเหล่านั้นกำลังหยิบสารพิษเข้าปากอยู่นั่นเอง
โดยสารนิโคตินที่ลูกรับเข้าไปจะสามารถแพร่ถึงสมองได้ภายในเวลาเพียง 7 วินาที ซึ่งสมองส่วนที่ได้รับผลกระทบจากนิโคตินมากที่สุด คือสมองส่วนคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ซึ่งมีหน้าที่วางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับบุคลิก การตัดสินใจ และการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการของลูก
อีกเหตุผลหนึ่งที่พ่อแม่ไม่ควรสูบบุหรี่อย่างยิ่งเลยก็คือ หากบ้านไหนพ่อหรือแม่สูบบุหรี่ อาจทำให้เมื่อโตขึ้นลูกอาจมีแนวโน้มสูบบุหรี่ตามพ่อกับแม่ โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น ซึ่งบ่งชี้ว่า ครอบครัวไหนที่มีการสูบบุหรี่ในบ้านจะมีแนวโน้มทำให้เด็กวัยรุ่นสูบบุหรี่ถึง 3 เท่า ส่วนเด็กวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีการสูบบุหรี่ในบ้าน การวิจัยพบว่า ร้อยละ 79 ในอนาคตจะไม่สูบบุหรี่อย่างแน่นอน
ดังนั้น หากรักลูก อย่าให้คำว่า “บ้าน” เป็นแหล่งกักเก็บสารพิษจากควันบุหรี่ที่พร้อมจะทำอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยโดยไม่รู้ตัว มาร่วมสร้างบ้านให้ปลอดภัยสำหรับลูกรักของคุณ โดยเลิกบุหรี่กันเสียตั้งแต่วันนี้
อยากเลิกบุหรี่ สามารถโทร. ปรึกษาขอคำแนะนำ และข้อมูลได้ฟรีที่ 1600 หรือ http://www.thailandquitline.or.th/site/
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.reuters.com/article/us-teen-smoking-parents/the-longer-parents-smoke-the-more-likely-their-kids-will-too-study-idUSKBN0DT1QV20140513
https://www.sciencenewsforstudents.org/article/explainer-nico-teen-brain
https://www.sciencedaily.com/releases/2017/04/170406105746.htm
https://news.nationalgeographic.com/news/2014/03/140320-thirdhand-smoke-cigarettes-cancer/
https://www.honestdocs.co/the-effects-of-secondhand-smoke
http://www.thaihealth.or.th/Content/39878