จากคอลัมน์ Inspiration โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล (suwatmgr@gmail.com) เซกชั่น Good Health & Well Being นิตยสารผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22 - 23 ธ.ค.2561 |
วันเวลาเคลื่อนตัวมาถึงช่วงส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่แล้ว นับว่าเป็นบรรยากาศการเตรียมการฉลองศกใหม่อย่างรื่นเริงและดูมีความสุขกันดีนะครับ
หวังว่ามิตรรักนักอ่านทั้งมวลจะได้พบความสุขกายสบายใจ มีความสมบูรณ์ทั้งการงาน การเงิน สุขภาพ ความรัก ครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนพ้องและสภาพแวดล้อมที่ดี
แต่ถ้าจะให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีสุขสมใจนั้น ก็ขอชวนมาสร้างเหตุปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดผลให้ได้ดังใจกันนะครับ
บางคนอาจถามตัวเองว่า ปีที่ผ่านมาทำงานชุลมุนมากไปหรือไม่? หรือทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและผู้เกี่ยวข้องน้อยกว่าที่ควรหรือเปล่า?
อาจเป็นเพราะตัวเองมัวเอาเวลาไปทำเรื่องที่ไม่สำคัญจนรู้สึกว่ายุ่งทั้งวัน แต่ไม่ได้งานที่มีมูลค่าและคุณค่าเป็นชิ้นเป็นอันหรือเปล่า?
เอาละครับ จังหวะเวลานี้ที่เริ่มใช้ไดอารี่หรือสมุดบันทึกและปฏิทินใหม่ จึงเหมาะที่จะปรับเข็มทิศ แนวทางและกลยุทธ์การดำเนินชีวิตและการทำงานกันตั้งแต่ต้นทาง
ถ้าจะเริ่มกันที่การกำหนดนโยบายเป้าหมายและแผนดำเนินการประจำปี เหมือนดังที่กิจการและองค์กรที่ทันสมัยล้วนมีการจัดทำเป็นแผนธุรกิจและกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายเพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานที่ดี
ในแง่ตัวบุคคลที่อยากให้ชีวิตมีความหมาย มีคุณค่า ก็ควรมีเป้าหมายและแผนดำเนินชีวิตและการทำงาน เงื่อนไขสำคัญจึงอยู่ที่วิธีคิดว่าจะเอาทรัพยากรและเวลาที่มีจำกัดในขณะนั้นไปทำสิ่งใดที่คุ้มค่า
Grey Mckeown เขียนหนังสือที่น่าสนใจเรื่อง Essentialism : The Disciplined Pursuit of Less ซึ่งสำนึกพิมพ์วีเลิร์นจัดพิมพ์ฉบับพากษ์ไทย ชื่อ “จงทิ้งสิ่งที่ดี เพื่อสิ่งที่ดีที่สุด”
เราได้เรียนรู้กลยุทธ์ “ยึดมั่นในสิ่งสำคัญ” และวินัยการทำน้อยที่ได้ผลดีกว่า ตามความหมายชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
หลักคิดก็คือ โลกเรานี้ไม่ว่าจะเป็นวงการใดก็มีโอกาสและสิ่งดีๆ มากมายเกินกว่าเวลาและทรัพยากรที่เรามี
คนประเภทสารัตถนิยม Essentialism ที่เชื่อว่ามีเพียงไม่กี่สิ่งที่สำคัญจริงๆ จึงยึดมั่นว่าควรทำในสิ่งสำคัญเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด และเผลอคิดว่าทุกอย่างสำคัญเท่ากันหมด (นั่นเท่ากับว่าไม่มีสิ่งใดสำคัญเลย)
เราจึงควรกำหนดบทบาทชีวิตตัวเอง ในการเลือกใช้เวลาและพลังงานอย่างฉลาดที่สุดในการทำสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุด
เพราะคุณไม่จัดลำดับความสำคัญให้กับชีวิตและการงานของตัวเอง คนอื่นก็จะมาจัดให้คุณ
การยึดมั่นในสิ่งสำคัญ จึงเป็นวิธีการที่เป็นระบบเพื่อรับมือกับชีวิตเรา อย่างเป็นระเบียบวินัยที่ต้องตระหนักทุกครั้ง เมื่อต้องตัดสินใจว่าจะตอบรับหรือปฏิเสธอย่างสุภาพต่อคำร้องขอหรือเผชิญหน้าภารกิจ
กลวิธีจัดการ 2 แบบ
ทั้ง 2 แบบ แม้มีความพยายามเท่ากัน แต่ภาพซ้ายเพราะเห็นว่าทุกอย่างสำคัญเท่ากัน พลังงานจึงถูกกระจายไปใช้ทำกับหลายสิ่ง ผลเกิดขึ้นจึงขาดประสิทธิภาพและคุณภาพไม่โดดเด่น
แต่ภาพทางขวา เพราะมุ่งมั่นทุ่มเทพลังงานไปในสิ่งที่สำคัญที่สุด หรือเพื่อไม่กี่สิ่ง ทำให้มีพลังมากกว่า และเกิดผลลัพธ์ที่น่าพอใจมากกว่า
จะว่าไปแล้ว การแนะให้ “ยึดมั่นในสิ่งสำคัญ” ดูเหมือนจะรู้ๆ อยู่ แต่คนทั่วไปมักเผลอทำทุกเรื่องที่ใกล้มือ หรือคิดว่าทำเรื่องง่ายก่อน แล้วก็เลยหมดเวลาและหมดพลังงานไปกับเรื่องไม่สำคัญที่สุด
ถ้าจะให้สิ่งที่คาดหวังเป็นจริงก็มี 3 ขั้นตอน ควรทำให้ได้
1. สำรวจ จำแนกแยกแยะสิ่งที่สำคัญสำหรับเรา ซึ่งมีไม่กี่อย่าง ดึงออกมาจากสิ่งที่ไม่สำคัญ
2. กำจัด ตัดสิ่งที่ไม่สำคัญที่มีมากมายออกไป ดังที่ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เคยบอกว่า
“คนเรา มีประสิทธิภาพ ก็เพราะรู้จักปฏิเสธ
และย้ำว่า...สิ่งนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับฉัน”
3. ลงมือทำ เมื่อตัดตัวเลือกให้เหลือแต่สิ่งสำคัญจริงๆ ก็จะทำให้การลงมือทำเป็นไปอย่างง่ายๆ
เวฟฟ์ ไวเนอร์ ซีอีโอ ของลิงค์อินที่ยืนยันว่า “ทำน้อยแต่ดีกว่า” หรือ “Fewer things done better” เป็นแนวทางที่ทรงพลังที่สุดสำหรับผู้นำ คือ FCS ในการถ่ายทอดปรัชญานี้ในการทำงานแบบผู้นำที่ยึดมั่นในสิ่งสำคัญ
F : “Fewer things done better” (ทำน้อยแต่ดีกว่า)
C : Communication the right inform to the right people at the right time. (สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องกับถูกคนและถูกเวลา)
S : Speed and quality of decistion making (การตัดสินใจที่รวดเร็วและมีคุณภาพ)
ด้วยหลักการดังกล่าวนี้เอง “ผู้นำที่ยึดมั่นในสิ่งสำคัญ” จะพูดย้ำชัดเจนว่าสิ่งเดียวที่เขาต้องการคืออะไร ทำให้ติดตามผลงานได้ง่าย แล้วคอยให้กำลังใจ ช่วยขจัดอุปสรรค พร้อมสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานมุ่งมั่นจดจ่อให้กับงานได้มากขึ้น
การเป็นผู้นำที่ยึดหลัก “ทำน้อยแต่ดีกว่า” จึงช่วยให้ทีมงานตระหนักในเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถสร้างผลงานที่บรรลุเป้าหมายได้สำเร็จอย่างมีความสุข
มาเตรียมเข้าสู่ปีใหม่ด้วยสาระสำคัญหนังสือเล่มนี้ที่จะเกิดมิติใหม่ 4 ประการกันนะครับ
1. ทำให้ชิวิตและการทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
2. มีระบบแยกแยะสิ่งสำคัญออกมาจากสิ่งที่คิดว่าดีที่มีมากมาย
3. กำจัดสิ่งไม่สำคัญไม่ให้มาแย่งเวลาและพลังงานไปทำเรื่องไม่สำคัญ
4. ทำสิ่งสำคัญให้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำเป็นนิสัย
ข้อมูลจากหนังสือ : “จงทิ้งสิ่งที่ดี เพื่อสิ่งที่ดีที่สุด” Essentialism
ผู้เขียน Greg Mc Keown
ผู้แปล อัญชลี ชัยชนะวิจิตร์
สำนักพิมพ์ วีเลิร์น
แนะนำหนังสือ ทำงานยังไง ไม่ให้เหนื่อยคนเดียว ผู้เขียน : คิม ซองโฮ ผู้แปล : ภัททิรา จิตต์เกษม สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์ How To ราคา 245 บาท ไม่โดดเดี่ยว ไม่เหนื่อยคนเดียวอีกต่อไป แค่ทำงานตามหลัก "แชร์และร่วมมือ" ขององค์กรระดับโลกที่จะทำให้คนธรรมดากลายเป็นคนเก่ง คนเก่งรวมกันเป็นทีมแกร่ง เพราะหัวใจของความสำเร็จคือ คนเก่งไม่เท่าทีมเก่ง รถม้าแห่งผู้นํา ผู้เขียน : ขนิษฐา หล่อลักษณ์ สำนักพิมพ์ : PCC ราคา 200 บาท พัฒนาภาวะผู้นำด้วยจิตวิทยาบวก และหลักการโค้ชในแบบสากล สำหรับทุกคนที่มีหัวใจเป็นผู้นำ เสริมสร้างภาวะผู้นำพลังบวก ให้สุขสำเร็จสมดุล แล้วส่งพลังบวกต่อให้ผู้คนรอบข้างต่อไป เคล็ดลับและมารยาทในการมอบของขวัญ ผู้เขียน : โนริโกะ อิวาชิตะ ผู้แปล : ยุวลักษณ์ ลิขิตธนวัฒน์ มูระเซะ สำนักพิมพ์ : ภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ราคา 250 บาท เรียนรู้ไอเดียแปลกใหม่จากรูปภาพ ไอเดียเก๋ๆ กับเทคนิคในการแสดงออกถึงความรู้สึกดีๆ ที่มีต่ออีกฝ่าย เปลี่ยนธุรกิจในยุคดิจิทัล Step by Step ผู้เขียน : ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล สำนักพิมพ์ : วิช กรุ๊ป ราคา 295 บาท คุณเลือกได้ว่าจะเป็นผู้ถูก Disrupt หรือผู้ Transform ด้วยการปรับตัวและหาโอกาสจากดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ |