ไข่เป็นอาหารที่มนุษย์คุ้นเคยและเป็นส่วนหนึ่งของเมนูอาหาร คนบางกลุ่มกลับเชื่อว่าไข่นั้นเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ถึงขั้นไม่กินไข่เลยก็มี ในทางตรงกันข้ามคนบางกลุ่มกลับเชื่อว่าการบริโภคไข่นั้นน่าจะดีต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

ที่ว่าถกเถียงกันมากที่สุดก็ประเด็นที่ว่าไข่นั้นเป็นอาหารที่เพิ่มคอเลสเตอรอล จึงทำให้คนที่เชื่องานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ว่าคอเลสเตอรอลสูงทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง เลยกลัวการบริโภคไข่ไปด้วย
แต่ความจริงแล้วงานวิจัยหลายชิ้นที่สำคัญ ได้ค้นพบแล้วว่าความจริงคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงแล้วมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเกิดขึ้นเฉพาะคนวัยหนุ่มสาวก่อนอายุ 50 ปีเท่านั้น และเกิดความเสี่ยงไม่มากนักด้วย
แต่คนที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป แล้วมีคอเลสเตอรอลลดลงนั้น กลับเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างชัดเจน และมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่คอเลสเตอรอลสูงในวัยก่อน 50 ปี เป็นอย่างมาก
วารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน JAMA ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยเป็นการติดตามผลวัดคอเลสเตอรอลทั้งชายและหญิง 4,374 คนต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ภายใต้โครงการการศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกคือ “การศึกษาฟรามิงแฮม” พบเรื่องที่เป็นสาระสำคัญว่า
1. คนที่อายุน้อยกว่า 50 ปีลงมา ระดับของคอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
“คอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 5% และเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 9%”
แต่ข้อมูลผลการวิจัยที่ “ร้ายแรงมากกว่า” อยู่ด้านล่างความว่า
2. สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ระดับของคอเลสเตอรอลที่ต่ำหรือสูงไม่ได้มีความสัมพันธ์ทำให้ความเสี่ยงการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ “การลดลง”ของคอเลสเตอรอลกลับมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
“คอเลสเตอรอลที่ลดลงเพียงทุกๆ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 14 %” [2]
สอดคล้องกับผลการศึกษาที่สำคัญ “กลุ่มผู้สูงวัย” ทั้งในสหรัฐอเมริกา และสแกนดิเนเวียน ก็มีทิศทางเดียวกันว่า “ผู้สูงวัยที่มีคอเลสเตอรอลที่ลดลงกลับยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น”[3]-[4]
อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่สำคัญได้พบสถิติว่า หากเรานำ “สัดส่วน” ระหว่าง “คอเลสเตอรอลโดยรวม หารด้วยเอชดีแอล (HDL)” กลับพบว่าจะช่วยเป็นดัชนีชี้วัดเรื่องความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าทั้งในชายและหญิง [5] - [10]
จากงานวิจัยข้างต้นที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน คือ“คอเลสเตอรอลหารด้วย HDL สำหรับชายไม่ควรเกิน 5.0 และผู้หญิงก็ไม่ควรเกิน 4.4” ถ้าเกินกว่านี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยิ่งสัดส่วนน้อยลง ยิ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง ดังนั้นถ้าจะให้เข้าใจประมาณการให้ง่ายขึ้นคือ ให้ต่ำกว่า 4.0 ไว้ก่อนโดยมีตัวเลขสัดส่วนประมาณ 3.3 เป็นเป้าหมายในอุดมคติ
จากงานวิจัยข้างต้น สำหรับผู้สูงวัยแล้วคอลเลสเตอรอลสูงเพิ่มขึ้น อาจจะดีกว่าคอเลสเตอรอลลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลนั้นเมื่อนำมาหารด้วย เอชดีแอล (HDL) แล้วผลที่ได้มีตัวเลขน้อยๆ หรือตัวเลขลดลง
เมื่อจับหลักได้แล้วจึงมาพิจารณาเรื่องการบริโภคไข่กันต่อว่าจะมีผลต่อไปอย่างไร?
ผลการศึกษาวารสารด้านโภชนาการ Journal of the American College of Nutrition ซึ่งเผยแพร่งานวิจัยชิ้นหนี่งทางออนไลน์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis) ในการทดลองในมนุษย์แบบสุ่มตัวอย่างจากงานวิจัยจำนวน 28 ชิ้น ระหว่างกลุ่มประชากรที่บริโภคไข่ กับไม่บริโภคไข่เลยว่าจะเป็นเช่นไร
ผลปรากฏว่าคนที่บริโภคไข่มีคอเลสเตอรอล แอลดีแอล (LDL) และเอชดีแอล (LDL) สูงกว่าคนที่ไม่บริโภคไข่ แต่กลับไม่มีผลต่อสัดส่วนระหว่าง คอเลสเตอรอลหารด้วย เอชดีแอล (HDL) แต่ประการใด [11]
ถ้าพิจารณาจากไขมันในเลือดเช่นนี้แล้วอย่างน้อยไข่ก็อาจจะเหมาะกับผู้สูงวัยจริงหรือไม่ เพราะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น แต่ไม่ได้เพิ่มสัดส่วนคอลเลสเตรอลหารด้วยเอชดีแอล (HDL) ก็ไม่น่าจะเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้
แต่เนื่องจากปัญหาความเข้าใจผิดของคอลเรสเตอรอลนั้นมีมาอย่างยาวนาน แม้จะรับรู้ผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ท่านผู้อ่านหลายคนก็อาจจะไม่วางใจที่จะบริโภคไข่ต่อไปได้หรือไม่ หากไม่ได้มีการสำรวจการบริโภคไข่กับความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองแบบตรงๆ จริงหรือไม่?
หากเป็นเช่นนั้น ก็ลองพิจารณาดูงานวิจัยชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารในเครือวาสารทางการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ The BMJ ด้านหัวใจ Heart คือการวิจัยที่ประเทศจีน ซึ่งได้ทำการศึกษาประชากรกว่า 5 แสนคน ที่มีอายุระหว่าง 30-79 ปี ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 - 2551 เพื่อเปรียบเทียบระหว่างประชากรประมาณ 13% ที่บริโภคไข่เกือบ 1 ฟอง (0.74 ฟองต่อวัน) กับกลุ่มประชากรประมาณ 9.1% ที่ไม่ได้บริโภคหรือแทบจะไม่ได้บริโภคไข่เลย (0.29 ฟองต่อวัน)ว่าจะมีผลเป็นอย่างไร
ผลปรากฏว่ากลุ่มประชากรที่บริโภคไข่วันละเกือบ 1 ฟอง มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงไป 18% และมีความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกลดลงไป 28% [12]
อย่างไรก็ตาม แม้การบริโภคไข่ดังที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำมันที่ผัดทอดด้วย เพราะหากผัดทอดด้วยไขมันไม่อิ่มตัว (น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันมะกอก, น้ำมันรำข้าว) เราก็อาจจะได้สารพิษในกลุ่มอัลดีไฮด์ได้มากกว่าไขมันไม่อิ่มตัว (เช่น น้ำมันมะพร้าว, เนย) [13]
ดังนั้น สำหรับกลุ่มประชากรที่ต้องการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองจึงควรบริโภค ไข่ลวก, ไข่ตุ๋น หรือหากจะต้องการผัดทอดก็ให้ใช้น้ำมันมะพร้าว หรือเนย
และถ้าจะให้ดียิ่งไปกว่านั้นก็ควรจะต้องงน้ำตาล และงดแป้งและข้าวขัดขาว รวมถึงการงดอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงๆร่วมด้วย [14] ก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้นไปอีก
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง:
[1] ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, อ่านบทความนี้จบ แล้วคุณจะรักคอเลสเตอรอลมากขึ้น!?, คอลัมน์ ณ บ้านพระอาทิตย์, ผู้จัดการออนไลน์, เผยแพร่: 7 ก.ย. 2561 17:56 ปรับปรุง: 8 ก.ย. 2561 09:47
https://mgronline.com/daily/detail/9610000089706
[2] Anderson KM, Castelli WP, Levy D., Cholesterol and mortality. 30 years of follow-up from the Framingham study. JAMA. 1987 Apr 24;257(16):2176-80.
[3] Ramsden CE, Zamora D, Majchrzak-Hong S, et al. Re-evaluation of the traditional diet-heart hypothesis: analysis of recovered data from Minnesota Coronary Experiment (1968-73). The BMJ. 2016;353:i1246. doi:10.1136/bmj.i1246.
[4] Tuikkala P, Hartikainen S, Korhonen MJ, et al. Serum total cholesterol levels and all-cause mortality in a home-dwelling elderly population: a six-year follow-up. Scandinavian Journal of Primary Health Care. 2010;28(2):121-127. doi:10.3109/02813432.2010.487371.
[5] Kinosian B, Glick H, Garland G , Cholesterol and coronary heart disease: predicting risks by levels and ratios.Ann Intern Med. 1994 Nov 1;121(9):641-7. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7944071
[6] Stampfer MJ, Krauss RM, Ma J, et al. A prospective study of triglyceride level, low-density lipoprotein particle diameter, and risk of myocardial infarction. JAMA. 1996;276:882-888. [PubMed]
[7] Ridker PM, Hennekens CH, Buring JE, Rifai N. C-reactive protein and other markers of inflammation in the prediction of cardiovascular disease in women. N Engl J Med. 2000;342:836-843. [PubMed]
[8] Hong MK, Romm PA, Reagan K, Green CE, Rackley CE. Usefulness of the total cholesterol to high-density lipoprotein cholesterol ratio in predicting angiographic coronary artery disease in women. Am J Cardiol. 1991;68:1646-1650. [PubMed]
[9] Nielsen NE, Olsson AG, Swahn E. Plasma lipoprotein particle concentrations in postmenopausal women with unstable coronary artery disease. Analysis of diagnostic accuracy using receiver operating characteristics. J Intern Med. 2000;247:43-52. [PubMed]
[10] Pintó X, Meco JF, Corbella E, et al. Programa de prevención secundaria de la arteriosclerosis de un hospital universitario. Resultados y factores predictivos del curso clínico. Med Clin (Barc) 2003;120:768-772.[PubMed]
[11] Mohammad Hossein Rouhani, Nafiseh Rashidi-Pourfard, Amin Salehi-Abargouei, Majid Karimi & Fahimeh Haghighatdoost(2018) Effects of Egg Consumption on Blood Lipids: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Clinical Trials,Journal of the American College of Nutrition, 37:2, 99-110, DOI: 10.1080/07315724.2017.1366878
[12]
Qin C, Lv J, Guo Y on behalf of the China Kadoorie Biobank Collaborative Group, et al
Associations of egg consumption with cardiovascular disease in a cohort study of 0.5 million Chinese adults,
Heart 2018;104:1756-1763.
https://heart.bmj.com/content/104/21/1756
[13] Robert Mendick, Chief Reporter, Cooking with vegetable oils releases toxic cancer-causing chemicals, say experts, The Telegraph, Health News, 8:13 PM, GMT 07 November 2015.
[14] Danxia Yu, et al. , High Intakes of Dietary Carbohydrate and Rice were Associated with Increased Risk of Coronary Heart Disease in Chinese Men and Women, NUTRITIONAL EPIDEMIOLOGY, Originally published23 Mar 2018Circulation. 2018;127:AMP24
ที่ว่าถกเถียงกันมากที่สุดก็ประเด็นที่ว่าไข่นั้นเป็นอาหารที่เพิ่มคอเลสเตอรอล จึงทำให้คนที่เชื่องานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ว่าคอเลสเตอรอลสูงทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง เลยกลัวการบริโภคไข่ไปด้วย
แต่ความจริงแล้วงานวิจัยหลายชิ้นที่สำคัญ ได้ค้นพบแล้วว่าความจริงคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงแล้วมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเกิดขึ้นเฉพาะคนวัยหนุ่มสาวก่อนอายุ 50 ปีเท่านั้น และเกิดความเสี่ยงไม่มากนักด้วย
แต่คนที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป แล้วมีคอเลสเตอรอลลดลงนั้น กลับเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างชัดเจน และมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่คอเลสเตอรอลสูงในวัยก่อน 50 ปี เป็นอย่างมาก
วารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน JAMA ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยเป็นการติดตามผลวัดคอเลสเตอรอลทั้งชายและหญิง 4,374 คนต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ภายใต้โครงการการศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกคือ “การศึกษาฟรามิงแฮม” พบเรื่องที่เป็นสาระสำคัญว่า
1. คนที่อายุน้อยกว่า 50 ปีลงมา ระดับของคอเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
“คอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 5% และเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 9%”
แต่ข้อมูลผลการวิจัยที่ “ร้ายแรงมากกว่า” อยู่ด้านล่างความว่า
2. สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ระดับของคอเลสเตอรอลที่ต่ำหรือสูงไม่ได้มีความสัมพันธ์ทำให้ความเสี่ยงการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ “การลดลง”ของคอเลสเตอรอลกลับมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
“คอเลสเตอรอลที่ลดลงเพียงทุกๆ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 14 %” [2]
สอดคล้องกับผลการศึกษาที่สำคัญ “กลุ่มผู้สูงวัย” ทั้งในสหรัฐอเมริกา และสแกนดิเนเวียน ก็มีทิศทางเดียวกันว่า “ผู้สูงวัยที่มีคอเลสเตอรอลที่ลดลงกลับยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น”[3]-[4]
อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่สำคัญได้พบสถิติว่า หากเรานำ “สัดส่วน” ระหว่าง “คอเลสเตอรอลโดยรวม หารด้วยเอชดีแอล (HDL)” กลับพบว่าจะช่วยเป็นดัชนีชี้วัดเรื่องความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าทั้งในชายและหญิง [5] - [10]
จากงานวิจัยข้างต้นที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน คือ“คอเลสเตอรอลหารด้วย HDL สำหรับชายไม่ควรเกิน 5.0 และผู้หญิงก็ไม่ควรเกิน 4.4” ถ้าเกินกว่านี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยิ่งสัดส่วนน้อยลง ยิ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง ดังนั้นถ้าจะให้เข้าใจประมาณการให้ง่ายขึ้นคือ ให้ต่ำกว่า 4.0 ไว้ก่อนโดยมีตัวเลขสัดส่วนประมาณ 3.3 เป็นเป้าหมายในอุดมคติ
จากงานวิจัยข้างต้น สำหรับผู้สูงวัยแล้วคอลเลสเตอรอลสูงเพิ่มขึ้น อาจจะดีกว่าคอเลสเตอรอลลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลนั้นเมื่อนำมาหารด้วย เอชดีแอล (HDL) แล้วผลที่ได้มีตัวเลขน้อยๆ หรือตัวเลขลดลง
เมื่อจับหลักได้แล้วจึงมาพิจารณาเรื่องการบริโภคไข่กันต่อว่าจะมีผลต่อไปอย่างไร?
ผลการศึกษาวารสารด้านโภชนาการ Journal of the American College of Nutrition ซึ่งเผยแพร่งานวิจัยชิ้นหนี่งทางออนไลน์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis) ในการทดลองในมนุษย์แบบสุ่มตัวอย่างจากงานวิจัยจำนวน 28 ชิ้น ระหว่างกลุ่มประชากรที่บริโภคไข่ กับไม่บริโภคไข่เลยว่าจะเป็นเช่นไร
ผลปรากฏว่าคนที่บริโภคไข่มีคอเลสเตอรอล แอลดีแอล (LDL) และเอชดีแอล (LDL) สูงกว่าคนที่ไม่บริโภคไข่ แต่กลับไม่มีผลต่อสัดส่วนระหว่าง คอเลสเตอรอลหารด้วย เอชดีแอล (HDL) แต่ประการใด [11]
ถ้าพิจารณาจากไขมันในเลือดเช่นนี้แล้วอย่างน้อยไข่ก็อาจจะเหมาะกับผู้สูงวัยจริงหรือไม่ เพราะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น แต่ไม่ได้เพิ่มสัดส่วนคอลเลสเตรอลหารด้วยเอชดีแอล (HDL) ก็ไม่น่าจะเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้
แต่เนื่องจากปัญหาความเข้าใจผิดของคอลเรสเตอรอลนั้นมีมาอย่างยาวนาน แม้จะรับรู้ผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ท่านผู้อ่านหลายคนก็อาจจะไม่วางใจที่จะบริโภคไข่ต่อไปได้หรือไม่ หากไม่ได้มีการสำรวจการบริโภคไข่กับความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองแบบตรงๆ จริงหรือไม่?
หากเป็นเช่นนั้น ก็ลองพิจารณาดูงานวิจัยชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารในเครือวาสารทางการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ The BMJ ด้านหัวใจ Heart คือการวิจัยที่ประเทศจีน ซึ่งได้ทำการศึกษาประชากรกว่า 5 แสนคน ที่มีอายุระหว่าง 30-79 ปี ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 - 2551 เพื่อเปรียบเทียบระหว่างประชากรประมาณ 13% ที่บริโภคไข่เกือบ 1 ฟอง (0.74 ฟองต่อวัน) กับกลุ่มประชากรประมาณ 9.1% ที่ไม่ได้บริโภคหรือแทบจะไม่ได้บริโภคไข่เลย (0.29 ฟองต่อวัน)ว่าจะมีผลเป็นอย่างไร
ผลปรากฏว่ากลุ่มประชากรที่บริโภคไข่วันละเกือบ 1 ฟอง มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงไป 18% และมีความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกลดลงไป 28% [12]
อย่างไรก็ตาม แม้การบริโภคไข่ดังที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำมันที่ผัดทอดด้วย เพราะหากผัดทอดด้วยไขมันไม่อิ่มตัว (น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันมะกอก, น้ำมันรำข้าว) เราก็อาจจะได้สารพิษในกลุ่มอัลดีไฮด์ได้มากกว่าไขมันไม่อิ่มตัว (เช่น น้ำมันมะพร้าว, เนย) [13]
ดังนั้น สำหรับกลุ่มประชากรที่ต้องการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองจึงควรบริโภค ไข่ลวก, ไข่ตุ๋น หรือหากจะต้องการผัดทอดก็ให้ใช้น้ำมันมะพร้าว หรือเนย
และถ้าจะให้ดียิ่งไปกว่านั้นก็ควรจะต้องงน้ำตาล และงดแป้งและข้าวขัดขาว รวมถึงการงดอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงๆร่วมด้วย [14] ก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้นไปอีก
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง:
[1] ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, อ่านบทความนี้จบ แล้วคุณจะรักคอเลสเตอรอลมากขึ้น!?, คอลัมน์ ณ บ้านพระอาทิตย์, ผู้จัดการออนไลน์, เผยแพร่: 7 ก.ย. 2561 17:56 ปรับปรุง: 8 ก.ย. 2561 09:47
https://mgronline.com/daily/detail/9610000089706
[2] Anderson KM, Castelli WP, Levy D., Cholesterol and mortality. 30 years of follow-up from the Framingham study. JAMA. 1987 Apr 24;257(16):2176-80.
[3] Ramsden CE, Zamora D, Majchrzak-Hong S, et al. Re-evaluation of the traditional diet-heart hypothesis: analysis of recovered data from Minnesota Coronary Experiment (1968-73). The BMJ. 2016;353:i1246. doi:10.1136/bmj.i1246.
[4] Tuikkala P, Hartikainen S, Korhonen MJ, et al. Serum total cholesterol levels and all-cause mortality in a home-dwelling elderly population: a six-year follow-up. Scandinavian Journal of Primary Health Care. 2010;28(2):121-127. doi:10.3109/02813432.2010.487371.
[5] Kinosian B, Glick H, Garland G , Cholesterol and coronary heart disease: predicting risks by levels and ratios.Ann Intern Med. 1994 Nov 1;121(9):641-7. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7944071
[6] Stampfer MJ, Krauss RM, Ma J, et al. A prospective study of triglyceride level, low-density lipoprotein particle diameter, and risk of myocardial infarction. JAMA. 1996;276:882-888. [PubMed]
[7] Ridker PM, Hennekens CH, Buring JE, Rifai N. C-reactive protein and other markers of inflammation in the prediction of cardiovascular disease in women. N Engl J Med. 2000;342:836-843. [PubMed]
[8] Hong MK, Romm PA, Reagan K, Green CE, Rackley CE. Usefulness of the total cholesterol to high-density lipoprotein cholesterol ratio in predicting angiographic coronary artery disease in women. Am J Cardiol. 1991;68:1646-1650. [PubMed]
[9] Nielsen NE, Olsson AG, Swahn E. Plasma lipoprotein particle concentrations in postmenopausal women with unstable coronary artery disease. Analysis of diagnostic accuracy using receiver operating characteristics. J Intern Med. 2000;247:43-52. [PubMed]
[10] Pintó X, Meco JF, Corbella E, et al. Programa de prevención secundaria de la arteriosclerosis de un hospital universitario. Resultados y factores predictivos del curso clínico. Med Clin (Barc) 2003;120:768-772.[PubMed]
[11] Mohammad Hossein Rouhani, Nafiseh Rashidi-Pourfard, Amin Salehi-Abargouei, Majid Karimi & Fahimeh Haghighatdoost(2018) Effects of Egg Consumption on Blood Lipids: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Clinical Trials,Journal of the American College of Nutrition, 37:2, 99-110, DOI: 10.1080/07315724.2017.1366878
[12]
Qin C, Lv J, Guo Y on behalf of the China Kadoorie Biobank Collaborative Group, et al
Associations of egg consumption with cardiovascular disease in a cohort study of 0.5 million Chinese adults,
Heart 2018;104:1756-1763.
https://heart.bmj.com/content/104/21/1756
[13] Robert Mendick, Chief Reporter, Cooking with vegetable oils releases toxic cancer-causing chemicals, say experts, The Telegraph, Health News, 8:13 PM, GMT 07 November 2015.
[14] Danxia Yu, et al. , High Intakes of Dietary Carbohydrate and Rice were Associated with Increased Risk of Coronary Heart Disease in Chinese Men and Women, NUTRITIONAL EPIDEMIOLOGY, Originally published23 Mar 2018Circulation. 2018;127:AMP24