“ป่าช้าเหงา” หรือ “หนานเฉาเหว่ย” ยอดสมุนไพรมีมากสรรพคุณ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vernonia amygdalina พืชพันธุ์ไม้จากแถบทวีปแอฟริกาใต้ตั้งแต่โบราณ ใช้เข้าตำรับรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคขาง โรคสาน (โรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย) และใช้แก้พิษ ส่วนงานวิจัยระบุว่าสารสกัดน้ำของใบมีผลในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย และต้านอนุมูลอิสระ
ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงการทดสอบระดับเซลล์ และสัตว์ทดลองเท่านั้น ก่อนจะเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อราวประมาณ 10-20 ปีก่อน และถูกจัดให้เป็นยอดสมุนไพรในปี 2547 จากโครงการ ‘ชะลอวัยไกลโรค’ ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่เริ่มทำงานวิจัยพบว่าสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายโดยสารอัลฟาท็อกซิน ป้องกันสารพิษไม่ให้ตับเสียหายจากเบาหวานและไตวาย ป้องกันโรคความดัน

ทั้งนี้ทั้งนั้นควรบริโภคเป็นยาหลักเนื่องจากปัจจัยในแต่ละบุคคลย่อมมีความแตกต่างกัน เนื่องจากหลังพบคนไข้ป่วยน้ำตาลในเลือดตกจนน็อกหมดสติเข้าโรงพยาบาล โดยแพทย์ชี้สาเหตุเกิดจากรับประทานสมุนไพรป่าช้าเหงามากเกินจำนวน ซึ่งจากประวัติผู้ป่วยเป็นชายไทยสูงวัย อายุ 64 ปี มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดัน ไขมันและหัวใจ เข้ารักษาด้วยอาการหน้ามืด ใจสั่น อ่อนแรง เจาะวัดน้ำตาลในเลือดเหลือเพียง 50 มก./ดล. จากการรับประทานป่าช้าเหงาอย่างเกินขนาดเนื่องจากไม่ทราบถึงปริมาณที่ถูกต้อง
โดยผู้ป่วยได้เล่าว่าถึงจุดเริ่มต้นที่ได้รู้สรรพคุณการกินป่าช้าเหงาจากเพื่อน ซึ่งเพื่อนนั้นน้ำตาลจาก 500 กว่าลดลงมาปกติเหลือที่ 140 มก./ดล. แต่ไม่ได้บอกวิธีกิน จึงได้นำใบป่าช้าเหงา 10 ใบ ต้มกับน้ำ 1 กา คิดเป็นประมาณขนาด 1 ลิตรกว่า ต้มเคี่ยวนานประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทาน1 แก้ว เช้า-เย็น ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนมา 7 วัน หยุด 7 วัน ช่วงที่รับประทานรู้สึกปัสสาวะบ่อย ขาที่เคยบวมยุบลง ค่าความดันโลหิตปกติตัวบนปกติจะอยู่ราวๆ 170 เหลือ 110 มม.ปรอท จากนั้นรอบที่ 2 เริ่มกินในลักษณะเดิมเมื่อ จันทร์ที่ 17 กันยายน ก่อนที่วันถัดมาเพียงหนึ่งวัน วันที่ 18 กันยายน พบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวเอง โดยวันเกิดเหตุการณ์ได้ฉีดยาเบาหวานมื้อเช้า และกินยาเบาหวานก่อนอาหารเช้าร่วมกับจิบน้ำป่าช้าเหงาไปประมาณ 3 แก้วกาแฟขนาดกลาง หลังจากนั้นช่วง 12.00 น. เริ่มมีอาการหน้ามืด ใจสั่น อ่อนแรงต้องแอดมิตเข้าโรงพยาบาลเป็นการด่วน
เภสัชกรโรงพยาบาลอภัยภูเบศรจึงได้ชี้แจงพร้อมแนะนำให้ระมัดระวังและสังเกตความผิดปกติควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนรับประทานด้วยปัจจัยต่างๆ ของร่างกายไม่เหมือนกัน และควรใช้ยาแพทย์เป็นหลักสำหรับ ผู้ป่วยโรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคเรื้อรัง โดยขนาดรับประทานที่แนะนำ เช่น
กินเป็นอาหารเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน
ให้ใช้รองกระทงห่อหมกแทนใบยอ ยำดอกขจรใส่ดอกป่าช้าเหงา คนพื้นบ้านนิยมกินช่วงเปลี่ยนฤดู ปลายฝนต้นหนาว เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ไม่ให้เจ็บป่วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นให้นำมาลวกน้ำร้อนก่อนรับประทานเพื่อลดความขมและลดฤทธิ์ยา
กินเป็นยาบรรเทา
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือกินบำรุงร่างกาย ไม่ควรเกิน 3-5 ใบ แบ่งออกเป็น การกินแบบใบสด ถ้ากินใบใหญ่เท่าฝ่ามือวันละ 1 ใบ กินบ้างหยุดบ้าง เช่น กินวันเว้นวัน หรือ 2-3 วันกินที ติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน อาจเว้น 1 เดือน แล้วเริ่มกินใหม่ การกินแบบต้มกิน ขนาดของใบควรเท่าฝ่ามือ ใช้ปริมาณ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มพอเดือด 3-5 นาที ดื่ม 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหารเช้าตอนตื่นนอน วันละ 1 ครั้งเท่านั้นแบบวันเว้นวัน และที่สำคัญในทุกกรณีไม่ควรรับประทานทุกวันหรือกินต่อเนื่องเพราะเป็นฤทธิ์เย็นและไม่ได้ทำให้โรคดังกล่าวหายขาด
อย่างไรก็ตาม นอกจากรูปแบบการรับประทานกินในขนาดและปริมาณที่พอเหมาะยังมีข้อห้ามสำหรับผู้รับประทานอีกด้วยเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยในการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ได้แก่
ห้ามใช้ในคนไข้กินยาละลายลิ่มเลือดชื่อ ‘วาร์ฟาริน’ เพราะอาจเสริมฤทธิ์ยา
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์
ห้ามผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่อง (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำว่าหากค่าการทำงานของไต GFR < 60 ไม่ควรกิน)
ห้ามกินเป็นยา โดยเฉพาะในผู้ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คุมความดันโลหิตได้ดีอยู่แล้ว
ห้ามหยุดยาแผนปัจจุบัน ห้ามขาดการรักษา
และท้ายที่สุด ผู้ป่วยควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ความดันตก (BP < 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาจมีวิงเวียน หน้ามืด) น้ำตาลตก (ระดับน้ำตาล < 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจมีวิงเวียนหน้ามืด ใจสั่น เหงื่อกออก) ต้องหยุดกินทันที เพราะมีรายงานการใช้พบว่าให้ผลลดความดันและน้ำตาลได้เร็วและลดได้มากในผู้ป่วยบางราย และระวังการใช้ในผู้ป่วยเลือดจางเนื่องจากบางรายงานพบฤทธิ์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก (Haemolytic properties)
ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงการทดสอบระดับเซลล์ และสัตว์ทดลองเท่านั้น ก่อนจะเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อราวประมาณ 10-20 ปีก่อน และถูกจัดให้เป็นยอดสมุนไพรในปี 2547 จากโครงการ ‘ชะลอวัยไกลโรค’ ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่เริ่มทำงานวิจัยพบว่าสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายโดยสารอัลฟาท็อกซิน ป้องกันสารพิษไม่ให้ตับเสียหายจากเบาหวานและไตวาย ป้องกันโรคความดัน
ทั้งนี้ทั้งนั้นควรบริโภคเป็นยาหลักเนื่องจากปัจจัยในแต่ละบุคคลย่อมมีความแตกต่างกัน เนื่องจากหลังพบคนไข้ป่วยน้ำตาลในเลือดตกจนน็อกหมดสติเข้าโรงพยาบาล โดยแพทย์ชี้สาเหตุเกิดจากรับประทานสมุนไพรป่าช้าเหงามากเกินจำนวน ซึ่งจากประวัติผู้ป่วยเป็นชายไทยสูงวัย อายุ 64 ปี มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดัน ไขมันและหัวใจ เข้ารักษาด้วยอาการหน้ามืด ใจสั่น อ่อนแรง เจาะวัดน้ำตาลในเลือดเหลือเพียง 50 มก./ดล. จากการรับประทานป่าช้าเหงาอย่างเกินขนาดเนื่องจากไม่ทราบถึงปริมาณที่ถูกต้อง
โดยผู้ป่วยได้เล่าว่าถึงจุดเริ่มต้นที่ได้รู้สรรพคุณการกินป่าช้าเหงาจากเพื่อน ซึ่งเพื่อนนั้นน้ำตาลจาก 500 กว่าลดลงมาปกติเหลือที่ 140 มก./ดล. แต่ไม่ได้บอกวิธีกิน จึงได้นำใบป่าช้าเหงา 10 ใบ ต้มกับน้ำ 1 กา คิดเป็นประมาณขนาด 1 ลิตรกว่า ต้มเคี่ยวนานประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทาน1 แก้ว เช้า-เย็น ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนมา 7 วัน หยุด 7 วัน ช่วงที่รับประทานรู้สึกปัสสาวะบ่อย ขาที่เคยบวมยุบลง ค่าความดันโลหิตปกติตัวบนปกติจะอยู่ราวๆ 170 เหลือ 110 มม.ปรอท จากนั้นรอบที่ 2 เริ่มกินในลักษณะเดิมเมื่อ จันทร์ที่ 17 กันยายน ก่อนที่วันถัดมาเพียงหนึ่งวัน วันที่ 18 กันยายน พบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวเอง โดยวันเกิดเหตุการณ์ได้ฉีดยาเบาหวานมื้อเช้า และกินยาเบาหวานก่อนอาหารเช้าร่วมกับจิบน้ำป่าช้าเหงาไปประมาณ 3 แก้วกาแฟขนาดกลาง หลังจากนั้นช่วง 12.00 น. เริ่มมีอาการหน้ามืด ใจสั่น อ่อนแรงต้องแอดมิตเข้าโรงพยาบาลเป็นการด่วน
เภสัชกรโรงพยาบาลอภัยภูเบศรจึงได้ชี้แจงพร้อมแนะนำให้ระมัดระวังและสังเกตความผิดปกติควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนรับประทานด้วยปัจจัยต่างๆ ของร่างกายไม่เหมือนกัน และควรใช้ยาแพทย์เป็นหลักสำหรับ ผู้ป่วยโรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคเรื้อรัง โดยขนาดรับประทานที่แนะนำ เช่น
กินเป็นอาหารเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน
ให้ใช้รองกระทงห่อหมกแทนใบยอ ยำดอกขจรใส่ดอกป่าช้าเหงา คนพื้นบ้านนิยมกินช่วงเปลี่ยนฤดู ปลายฝนต้นหนาว เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ไม่ให้เจ็บป่วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นให้นำมาลวกน้ำร้อนก่อนรับประทานเพื่อลดความขมและลดฤทธิ์ยา
กินเป็นยาบรรเทา
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือกินบำรุงร่างกาย ไม่ควรเกิน 3-5 ใบ แบ่งออกเป็น การกินแบบใบสด ถ้ากินใบใหญ่เท่าฝ่ามือวันละ 1 ใบ กินบ้างหยุดบ้าง เช่น กินวันเว้นวัน หรือ 2-3 วันกินที ติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน อาจเว้น 1 เดือน แล้วเริ่มกินใหม่ การกินแบบต้มกิน ขนาดของใบควรเท่าฝ่ามือ ใช้ปริมาณ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มพอเดือด 3-5 นาที ดื่ม 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหารเช้าตอนตื่นนอน วันละ 1 ครั้งเท่านั้นแบบวันเว้นวัน และที่สำคัญในทุกกรณีไม่ควรรับประทานทุกวันหรือกินต่อเนื่องเพราะเป็นฤทธิ์เย็นและไม่ได้ทำให้โรคดังกล่าวหายขาด
อย่างไรก็ตาม นอกจากรูปแบบการรับประทานกินในขนาดและปริมาณที่พอเหมาะยังมีข้อห้ามสำหรับผู้รับประทานอีกด้วยเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยในการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ได้แก่
ห้ามใช้ในคนไข้กินยาละลายลิ่มเลือดชื่อ ‘วาร์ฟาริน’ เพราะอาจเสริมฤทธิ์ยา
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์
ห้ามผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่อง (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำว่าหากค่าการทำงานของไต GFR < 60 ไม่ควรกิน)
ห้ามกินเป็นยา โดยเฉพาะในผู้ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คุมความดันโลหิตได้ดีอยู่แล้ว
ห้ามหยุดยาแผนปัจจุบัน ห้ามขาดการรักษา
และท้ายที่สุด ผู้ป่วยควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ความดันตก (BP < 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาจมีวิงเวียน หน้ามืด) น้ำตาลตก (ระดับน้ำตาล < 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจมีวิงเวียนหน้ามืด ใจสั่น เหงื่อกออก) ต้องหยุดกินทันที เพราะมีรายงานการใช้พบว่าให้ผลลดความดันและน้ำตาลได้เร็วและลดได้มากในผู้ป่วยบางราย และระวังการใช้ในผู้ป่วยเลือดจางเนื่องจากบางรายงานพบฤทธิ์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก (Haemolytic properties)