หลายๆ คนคงเคยประสบปัญหาในเรื่อง ‘ก้างปลา’ อยู่เสมอ อาจเป็นเพราะว่ายามที่เรารับประทานอาหารจำพวกปลานั้นมักจะหลีกเลี่ยงในการเจอกับสิ่งนี้ไม่ได้ แถมบางรายยังเผลอกลืนลงท้องอย่างไม่ตั้งใจ ทั้งก็มีความเชื่อที่ว่ากินข้าวปั้นแล้วจะแก้อาการดังกล่าวได้ แต่เมื่อมาดูตามความเข้าใจแล้ววิธีนี้จะช่วยได้จริงหรือ... มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

กลืนข้าวปั้นแล้วช่วยได้จริงหรือไม่
คำกล่าวนี้ถือว่าไม่เป็นความจริงเสมอไป เนื่องด้วยการกลืนอาหารเหนียวๆ แข็งๆ หรือคำโตๆ เพื่อให้ก้างปลาหลุดลงไปในท้องนั้นอาจทำให้เกิดการดันเข้าไปในเนื้อเยื่อของผนังในบริเวณที่ก้างปลาติดอยู่มากยิ่งขึ้น ฉะนั้น วิธีการกล่าวไม่ถือว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องในหลักทางการแพทย์
ยังมีวิธีเอาก้างปลาออกจากคออย่างผิดๆ
นอกจากการเอาข้าวปั้นออกจากคอ ยังมีอีกหลายวิธีการแบบผิดๆ ที่เราใช้เพื่อเอาก้างปลาออกจากคอ เช่น บีบมะนาวเข้าไปในคอโดยตรง, กลั้วคอด้วยน้ำส้มสายชู, กลั้วคอหรือดื่มน้ำอุ่นในปริมาณมากๆ เพื่อให้ก้างปลาอ่อนนิ่ม ทุกวิธีการที่ว่ามานี้ไม่สามารถช่วยให้ก้างปลาหลุดออกมาได้ แถมยังสร้างความระคายเคืองให้แก่คอเราอีกด้วย เพราะก้างปลาเป็นกระดูกที่มีปลายแหลม มีส่วนผสมหลักคือแคลเซียม ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยวิธีการที่ว่ามาทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้นได้
อันตรายจากภัยก้างปลาติดคอ
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ระบุว่า โดยส่วนใหญ่ก้างปลามักจะติดคออยู่บริเวณใกล้ต่อมทอนซิล เพดานอ่อน โคนลิ้น ฝาปิดกล่องเสียง และในหลอดอาหาร ซึ่งจะมีการเจ็บตรงบริเวณที่มีก้างตำ ที่ยิ่งกลืนยิ่งเจ็บ และหากมีก้างติดอยู่นานหลายวันอาจจะทำให้เกิดการอีกเสบ ติดเชื้อเป็นหนอง และมีไข้ตามมา แล้วบางรายอาจจะมีเลือดปนออกมากับน้ำลายด้วย หากปล่อยไว้นานอาจจะมีอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น หลอดอาหารทะลุ มีหนองลามเข้าไปในช่องอก หรือเยื่อหุ้มหัวใจ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
ถ้าก้างปลาติดคอควรทำยังไง
หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ขอแนะนำว่าควรให้แพทย์ทางหู คอ จมูก ช่วยเหลือดีกว่า เพราะมีเครื่องมือที่เป็นกล้องตรวจพิเศษแบบหักมุมที่จะช่วยให้เห็นก้างปลาที่ติดอยู่ในลำคอได้อย่างชัดเจน และง่ายขึ้นมาก อีกทั้งหากมีบริเวณที่ก้างปลาติดอยู่เหนือกล่องเสียง และลูกกระเดือก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีความโค้งงอหลากหลายมุมคืบออกมาได้ แต่ถ้าเป็นก้างปลาที่ติดบริเวณที่ต่ำกว่าลุกกระเดือก แพทย์อาจต้องใช้วิธีเอกซเรย์และการผ่าตัดเข้ามาช่วย
แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานอาหารก็ควรระมัดระวังลวดเย็บกระดาษที่อาจติดมากับบรรจุภัณฑ์ของอาหารด้วยเช่นกัน
กลืนข้าวปั้นแล้วช่วยได้จริงหรือไม่
คำกล่าวนี้ถือว่าไม่เป็นความจริงเสมอไป เนื่องด้วยการกลืนอาหารเหนียวๆ แข็งๆ หรือคำโตๆ เพื่อให้ก้างปลาหลุดลงไปในท้องนั้นอาจทำให้เกิดการดันเข้าไปในเนื้อเยื่อของผนังในบริเวณที่ก้างปลาติดอยู่มากยิ่งขึ้น ฉะนั้น วิธีการกล่าวไม่ถือว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องในหลักทางการแพทย์
ยังมีวิธีเอาก้างปลาออกจากคออย่างผิดๆ
นอกจากการเอาข้าวปั้นออกจากคอ ยังมีอีกหลายวิธีการแบบผิดๆ ที่เราใช้เพื่อเอาก้างปลาออกจากคอ เช่น บีบมะนาวเข้าไปในคอโดยตรง, กลั้วคอด้วยน้ำส้มสายชู, กลั้วคอหรือดื่มน้ำอุ่นในปริมาณมากๆ เพื่อให้ก้างปลาอ่อนนิ่ม ทุกวิธีการที่ว่ามานี้ไม่สามารถช่วยให้ก้างปลาหลุดออกมาได้ แถมยังสร้างความระคายเคืองให้แก่คอเราอีกด้วย เพราะก้างปลาเป็นกระดูกที่มีปลายแหลม มีส่วนผสมหลักคือแคลเซียม ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยวิธีการที่ว่ามาทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้นได้
อันตรายจากภัยก้างปลาติดคอ
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ระบุว่า โดยส่วนใหญ่ก้างปลามักจะติดคออยู่บริเวณใกล้ต่อมทอนซิล เพดานอ่อน โคนลิ้น ฝาปิดกล่องเสียง และในหลอดอาหาร ซึ่งจะมีการเจ็บตรงบริเวณที่มีก้างตำ ที่ยิ่งกลืนยิ่งเจ็บ และหากมีก้างติดอยู่นานหลายวันอาจจะทำให้เกิดการอีกเสบ ติดเชื้อเป็นหนอง และมีไข้ตามมา แล้วบางรายอาจจะมีเลือดปนออกมากับน้ำลายด้วย หากปล่อยไว้นานอาจจะมีอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น หลอดอาหารทะลุ มีหนองลามเข้าไปในช่องอก หรือเยื่อหุ้มหัวใจ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
ถ้าก้างปลาติดคอควรทำยังไง
หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ขอแนะนำว่าควรให้แพทย์ทางหู คอ จมูก ช่วยเหลือดีกว่า เพราะมีเครื่องมือที่เป็นกล้องตรวจพิเศษแบบหักมุมที่จะช่วยให้เห็นก้างปลาที่ติดอยู่ในลำคอได้อย่างชัดเจน และง่ายขึ้นมาก อีกทั้งหากมีบริเวณที่ก้างปลาติดอยู่เหนือกล่องเสียง และลูกกระเดือก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีความโค้งงอหลากหลายมุมคืบออกมาได้ แต่ถ้าเป็นก้างปลาที่ติดบริเวณที่ต่ำกว่าลุกกระเดือก แพทย์อาจต้องใช้วิธีเอกซเรย์และการผ่าตัดเข้ามาช่วย
แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานอาหารก็ควรระมัดระวังลวดเย็บกระดาษที่อาจติดมากับบรรจุภัณฑ์ของอาหารด้วยเช่นกัน