Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งจำนวนมาก เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม ผู้ป่วยจะมีอาการเบื้องต้นคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล แต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้ โดยไวรัสชนิดดังกล่าวนี้พบมากในเด็กทารกและเด็กเล็ก ในประเทศไทยมักจะพบไวรัส RSV (RSV Virus) ได้บ่อยในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV
การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ โดยไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก หรือสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือ ไวรัสชนิดนี้จะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยอาศัยอยู่ตามวัตถุต่างๆ และแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม
อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV ต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร
ไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่การติดเชื้อไวรัส RSV โดยปกติผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสในระยะเวลา 4-6 วัน มักพบอาการคล้ายไข้หวัด ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ แต่อาจพัฒนาไปสู่โรคขั้นรุนแรงส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เป็นต้น
โดยอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและสงสัยว่าลูกอาจได้รับเชื้อไวรัส RSV ได้แก่ หอบเหนื่อย, หายใจเร็ว หายใจแรง, หายใจครืดคราด, ตัวเขียว, มีเสียงหวีดในปอด, มีเสมหะมาก, ไอมาก ไอจนเหนื่อย เป็นต้น
เด็กหรือทารกที่มีอาการดังนี้ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ประสบภาวะขาดน้ำ สังเกตได้จากตอนร้องไห้จะไม่มีน้ำตาไหลออกมา
ไอและมีเสมหะเป็นสีเทา สีเขียว หรือสีเหลือง
หายใจลำบาก หายใจเร็วกว่าปกติ หรือหอบเหนื่อย
มีน้ำมูกเหนียวทำให้หายใจลำบาก
ปลายนิ้วหรือปากเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำจากภาวะขาดออกซิเจน
เด็กทารกที่มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร หรือมีผื่นขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ

การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV
ล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ ผู้ใหญ่ก็ควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งก่อนจะสัมผัสหรือดูแลเด็ก
หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจจะเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว
ทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังพบว่าเด็กที่ป่วยมาเล่นของเล่นนั้นๆ
ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น
หลีกเลี่ยงให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ เช่น ผู้ที่เป็นไข้หรือเป็นหวัด
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ใส่ทารก เพราะทารกที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่า
แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
ไม่นำบุตรหลานของท่านไปยังสถานที่แออัดหรือสถานที่ที่มีคนเยอะๆ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV
การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการและประคับประคองให้อาการหายใจดีขึ้น เพราะไวรัสดังกล่าวยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้น ควรกินยาลดไข้ตามอาการทุก 4-6 ชั่วโมง พร้อมกับเช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลด และนอนพักผ่อนเยอะๆ ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นอาการของการติดเชื้อไวรัส RSV จะดีขึ้นหลังได้รับการรักษาเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้อาจจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ
หมายเหตุ
นอกจากเด็กเล็กแล้ว กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส RSV ที่มีอาการรุนแรงได้สูง ได้แก่ เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอดและหัวใจ ผู้ที่อาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนแออัด หรือผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป
ข้อมูลประกอบ :
www.siphhospital.com
www.pobpad.com
www.honestdocs.co
สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV
การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ โดยไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก หรือสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือ ไวรัสชนิดนี้จะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยอาศัยอยู่ตามวัตถุต่างๆ และแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม
อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV ต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร
ไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่การติดเชื้อไวรัส RSV โดยปกติผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสในระยะเวลา 4-6 วัน มักพบอาการคล้ายไข้หวัด ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ แต่อาจพัฒนาไปสู่โรคขั้นรุนแรงส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เป็นต้น
โดยอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและสงสัยว่าลูกอาจได้รับเชื้อไวรัส RSV ได้แก่ หอบเหนื่อย, หายใจเร็ว หายใจแรง, หายใจครืดคราด, ตัวเขียว, มีเสียงหวีดในปอด, มีเสมหะมาก, ไอมาก ไอจนเหนื่อย เป็นต้น
เด็กหรือทารกที่มีอาการดังนี้ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ประสบภาวะขาดน้ำ สังเกตได้จากตอนร้องไห้จะไม่มีน้ำตาไหลออกมา
ไอและมีเสมหะเป็นสีเทา สีเขียว หรือสีเหลือง
หายใจลำบาก หายใจเร็วกว่าปกติ หรือหอบเหนื่อย
มีน้ำมูกเหนียวทำให้หายใจลำบาก
ปลายนิ้วหรือปากเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำจากภาวะขาดออกซิเจน
เด็กทารกที่มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร หรือมีผื่นขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ
การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV
ล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ ผู้ใหญ่ก็ควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งก่อนจะสัมผัสหรือดูแลเด็ก
หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจจะเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว
ทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังพบว่าเด็กที่ป่วยมาเล่นของเล่นนั้นๆ
ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น
หลีกเลี่ยงให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ เช่น ผู้ที่เป็นไข้หรือเป็นหวัด
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ใส่ทารก เพราะทารกที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่า
แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
ไม่นำบุตรหลานของท่านไปยังสถานที่แออัดหรือสถานที่ที่มีคนเยอะๆ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV
การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการและประคับประคองให้อาการหายใจดีขึ้น เพราะไวรัสดังกล่าวยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้น ควรกินยาลดไข้ตามอาการทุก 4-6 ชั่วโมง พร้อมกับเช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลด และนอนพักผ่อนเยอะๆ ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นอาการของการติดเชื้อไวรัส RSV จะดีขึ้นหลังได้รับการรักษาเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้อาจจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ
หมายเหตุ
นอกจากเด็กเล็กแล้ว กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส RSV ที่มีอาการรุนแรงได้สูง ได้แก่ เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอดและหัวใจ ผู้ที่อาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนแออัด หรือผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป
ข้อมูลประกอบ :
www.siphhospital.com
www.pobpad.com
www.honestdocs.co