คนทั่วไปเมื่อรับรู้ว่าใครที่มีความรู้ดี วางแผนเก่ง หรือแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ก็อยากมีคุณสมบัติแบบนั้นบ้าง
แต่อันที่จริงแล้ว การจะเกิดผลที่ดีสมใจทำนองนั้น มันสำคัญที่การรู้จักตั้ง “คำถามที่ดี” ที่ผู้ถูกถามหรือแม้แต่เมื่อถามตัวเอง เกิดความ “ตระหนักรู้” หรือได้ฉุกคิด จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีคิดและวิธีการทำงานแบบใหม่ได้
มีนักคิดและนักบริหารจัดการเสนอข้อคิดและผลการวิจัยยืนยันเรื่องความสำคัญของการตั้งคำถามที่ดีจะมีผลกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างผลงานที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะกระบวนการโค้ชตามมาตรฐานสากลของ ICF หรือสมาพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation) ซึ่งใช้การถามด้วยคำถามที่ทรงพลัง (Powerful Question) ที่ก่อให้เกิดการตระหนักรู้จนพัฒนาไปสู่แนวทางการเดินหน้าต่ออย่างมีเป้าหมายที่ผู้รับการโค้ชบอกแผนและวิธีการได้เอง
เพื่อให้กระจ่างชัดในเรื่องนี้ ผมอ้างอิงสาระน่าสนใจจากหนังสือ THE ART OF ASKING GOOD QUESTIONS ที่ฉบับพากษ์ไทยใช้ชื่อว่า “ถามเป็น ชีวิตเปลี่ยน”
เคียวอิจิโร อาวาซึ มืออาชีพด้านการโค้ชบริหาร (Excutive Coaching) สังกัดบริษัท COACH A ที่นำเอางานโค้ชเข้าไปเผยแพร่ในญี่ปุ่นเป็นเจ้าแรก
ด้วยประสบการณ์การโค้ชผู้บริหารชั้นนำมากมาย เขายืนยันว่า “เส้นแบ่งระหว่างคนเก่งกับคนไม่เก่ง ก็คือ ความแตกต่างของ คำถาม”
ทั้งๆ ที่ในชีวิตประจำทุกคนก็ต้องติดต่อพูดคุยกับคนอื่น ซึ่งก็มีทั้งการถามและการตอบอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นผู้ถามหรือถูกถาม รวมทั้งการถามตัวเองโดยไม่รู้ตัว เช่น “วันนี้ฝนจะตกไหมนะ” “เอ...เรานัดประชุมกันกี่โมงนะ”
ปัญหาก็คือ มีทั้งคำถามที่ได้เรื่องและไม่ได้เรื่อง ที่ถามไปอย่างไม่รู้หลักเพื่อผลที่ดีไงครับ
ลองมาดูผลลัพธ์กันก็สามารถจัดประเภทคำถามได้ 4 แบบ
1. คำถามเบา ถามไปแล้วคนอยากตอบ เพราะพูดได้เลย เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรืออุ่นเครื่องการสนทนาหรือก่อนเริ่มการโค้ชครั้งแรก (Pre-coaching)
คำถามเบาๆ ที่ตอบง่าย ยินดีตอบและพูดจนชินแล้ว เช่น ประสบการณ์ความสำเร็จ งานอดิเรกที่ชอบ กิจกรรมหรือผลงานที่ภูมใจ
2. คำถามแย่ มักไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์กับผู้ถูกถาม เช่น เรื่องส่วนตัว เรื่องหนี้สิน หรือเรื่องที่เป็นปมด้อย แถมไม่ได้กระตุ้นให้ตระหนักรู้อีกด้วย
3. คำถามหนัก ใครก็ไม่อยากตอบ เพราะต้องคิดหนัก หรืออาจอึดอัดใจ จึงต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีก่อนถาม ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคำถามแย่ แต่อาจสร้างความตระหนักรู้ได้ หรือจี้ใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงต้องระวังไม่เป็นคำถามที่ล่วงล้ำเรื่องที่เขาไม่อยากให้แตะ
4. คำถามที่ดี คนอยากตอบด้วยความกระตือรือร้น และสามารถสร้างความตระหนักรู้ และเกิดผลทางการกระทำจากคำตอบได้
ลักษณะเด่นและตัวอย่าง “คำถามที่ดี”
1.ถามถึง “สิ่งที่อยากได้จริงๆ”
เพราะคนเรามักคิด “อยากเจริญก้าวหน้า” “อยากประสบความสำเร็จ”
คำถามที่ทำให้ตระหนักรู้ถึงสิ่งที่อยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือ “want to...” จึงนับเป็น “คำถามที่ดี” เพราะชีวิตทุกคนมีสิ่งที่ต้องทำ...(have to...) มากมายอยู่แล้ว เช่น เป้าการขาย กำหนดส่งงาน
2.ถามถึงคุณค่าของงานที่ทำ
การถามถึง “งานที่ทำมีความหมายอะไรต่อสังคม” “งานมีคุณค่าอะไรต่อสังคม”
3.ถามถึงคำจำกัดความของคำ
เป็นการถามถึงเรื่องพื้นฐาน ถ้าได้คุยกันคนที่ชอบใช้คำกล่าวใด ลองให้ “ช่วยบอกรายละเอียดประเด็นนี้หน่อย”
เช่น ผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับ “ความพึงพอใจของลูกค้า” ให้ถามว่า “ความพึงพอใจของลูกค้าที่ท่านคิดหมายถึงอะไรบ้าง”
4.ถามถึงแนวคิดตรงข้าม
ถ้าเป็นคำพูดที่เขาใช้บ่อย ลองถาม “แนวคิดตรงข้าม” หรือคำที่มีความหมายตรงข้าม จะเจาะลึกถึงแก่นแท้ของความคิดได้ง่าย
เช่น ลองถามคนที่ต้องการความสำเร็จว่า “ถ้าคุณไม่บรรลุเป้าหมายจะรู้สึกอย่างไร” “ถ้าไม่บรรลุเป้าหมายจะเกิดอะไรขึ้น”
5.คำถามที่สงสัยในสิ่งที่คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา
คนมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ก็กลายเป็นคำถามที่ดีได้ เช่น ถามประธานบริษัทใหญ่ว่า “ตอนเริ่มก่อตั้งกิจการ สภาพการณ์เป็นอย่างไร”
6.ลองให้เปลี่ยนจุดยืน
“ถ้าเป็นคุณอยู่ในสถานการณ์นั้น จะเป็นอย่างไร”
“ถ้าคุณเป็นพนักงานเข้ามาใหม่ คุณจะคิดอย่างไร กับวิธีการทำงานตอนนี้”
7.ถามถึงปัจจุบันและอนาคต
ถ้าแยกแยะคำถาม 4 แบบ จะเห็นได้ว่า “คำถามเบา” และ“คำถามที่ดี” มักถามถึงปัจจุบันหรืออนาคต ส่วน “คำถามที่แย่” กับ “คำถามหนัก” มักเป็นการถามถึงอดีต
8.คำถามที่ดีเป็นคำถามปลายเปิด
ผู้บริหารยิ่งมีตำแหน่งสูงเท่าไร มักมีแนวโน้มจะใช้คำถามปลายปิด ซึ่งจำกัดขอบเขตการตอบว่า ใช่หรือไม่ใช่ หรือเลือกอย่างใด ดังนั้น ความสัมพันธ์แบบสั่งการจึงมักใช้แบบปลายปิด
แต่คำถามแบบปลายปิดที่ระบบการโค้ชใช้ คือเปิดกว้าง ไม่จำกัดวิธีตอบของผู้ถูกถาม คำถามแบบนี้มักใช้ประโยคเริ่มด้วย 5W 1H คือ เรื่องอะไร (What) เมื่อไหร่ (When) เกี่ยวกับใคร (Who) ทำไม (Why) อย่างไร (How)
คำถามปลายเปิดจึงเป็น “คำถามที่ดี” ได้ง่ายกว่าแบบ “ปลายปิด” และเกิดความสัมพันธ์ที่ดี เพราะใส่ใจต่อความคิดเบื้องหลังคำตอบ สังเกตอารมณ์ที่ต้องการบอก เรียกว่าคำนึงถึงสาระจากท่าทีเหนือคำพูด
มาตั้งคำถามที่ดีกับตัวเอง
หลักการตั้งคำถามที่ดียังสมควรนำมาใช้กับตัวเองได้ด้วย แม้เคยทำแบบไม่รู้ตัว แต่คราวนี้ลองมาฝึกใช้กับตัวเองอย่างตั้งใจ รับรองว่าช่วยให้เรื่องส่วนตัวหรือชีวิตโดยรวมดีขึ้นแน่นอน
1.ค้นหาความสำคัญ 3 v เพื่อหาคำถามที่ฝังอยู่ในใจ
• Vision สิ่งที่ต้องการ อยากมี อยากเป็น
• Value คำนิยม คือ ความคิด ความเชื่อ ที่ยึดเป็นหลักในการตัดสินใจ
• Vocabulary คำที่ชอบใช้
ถ้ากำหนด Vision หรือเป้าหมาย (Goal) เป็นจุดที่จะไปให้ถึงในอนาคต จะคิดถึงสิ่งที่ควรทำในตอนนี้ เพื่อทำให้ “ภาพฝัน” นั้นเป็นจริง เช่น บรรลุเป้ายอดขายปลายปี 100 ล้านบาท ถ้าเช่นนี้ เราในฐานะผู้บริหารที่มีค่านิยม (Value) ที่มีสำนึกรับผิดชอบ คำถามที่จะเป็นจะผุดขึ้นมาเอง
คำถามดีกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่เชื่อมโยงกับ “ผลลัพธ์” ปลายทาง และ Vocabulary ที่พูดตอกย้ำถึง Vision มากเท่าไร อัตราความสำเร็จก็ยิ่งสูง ที่มีผลการวิจัยยืนยัน
2.หาเวลาตั้งคำถามกับตัวเอง
ถ้ามัวยุ่งกับงานจนตั้งคำถามที่ดีกับตัวเองไม่ได้ ก็คงต้องอยู่ไป บ่นไป ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทั้งๆ ที่การคิดและถามเป้าหมายตัวเองระหว่างนั่งรถเดินทางหรือ 5 นาทีก่อนนอนก็ยังได้
3.ตั้งคำถามกับตัวเองเป็นประจำ
เพื่อตรวจสอบตัวเองว่ายังมุ่งสู่เป้าหมายหรือไม่ จึงต้องตั้งคำถามเป็นประจำ เหมือนตรวจสุขภาพ
การรู้จักตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อพัฒนาวิธีคิดและปรับวิธีปฏิบัติก็จะพบว่า “เมื่อคำถามเปลี่ยน การกระทำก็เปลี่ยน ให้ผลดีขึ้น ใช้ได้ทั้งชีวิตในสังคมและครอบครัว”
ข้อมูลจากหนังสือ : ถามเป็นชีวิตเปลี่ยน THE ART OF ASKING GOOD QUESTION
ผู้เขียน : เคียวอิจิโร อาวาชึ
ผู้แปล : บัณฑิต ประดิษฐานุวงศ์
สำนักพิมพ์ : สุขภาพใจ
จากคอลัมน์ Inspiration โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล (suwatmgr@gmail.com) เซกชั่น Good Health & Well Being นิตยสารผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 25 - 26 ส.ค. 2561 |
แต่อันที่จริงแล้ว การจะเกิดผลที่ดีสมใจทำนองนั้น มันสำคัญที่การรู้จักตั้ง “คำถามที่ดี” ที่ผู้ถูกถามหรือแม้แต่เมื่อถามตัวเอง เกิดความ “ตระหนักรู้” หรือได้ฉุกคิด จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีคิดและวิธีการทำงานแบบใหม่ได้
มีนักคิดและนักบริหารจัดการเสนอข้อคิดและผลการวิจัยยืนยันเรื่องความสำคัญของการตั้งคำถามที่ดีจะมีผลกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างผลงานที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะกระบวนการโค้ชตามมาตรฐานสากลของ ICF หรือสมาพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation) ซึ่งใช้การถามด้วยคำถามที่ทรงพลัง (Powerful Question) ที่ก่อให้เกิดการตระหนักรู้จนพัฒนาไปสู่แนวทางการเดินหน้าต่ออย่างมีเป้าหมายที่ผู้รับการโค้ชบอกแผนและวิธีการได้เอง
เพื่อให้กระจ่างชัดในเรื่องนี้ ผมอ้างอิงสาระน่าสนใจจากหนังสือ THE ART OF ASKING GOOD QUESTIONS ที่ฉบับพากษ์ไทยใช้ชื่อว่า “ถามเป็น ชีวิตเปลี่ยน”
เคียวอิจิโร อาวาซึ มืออาชีพด้านการโค้ชบริหาร (Excutive Coaching) สังกัดบริษัท COACH A ที่นำเอางานโค้ชเข้าไปเผยแพร่ในญี่ปุ่นเป็นเจ้าแรก
ด้วยประสบการณ์การโค้ชผู้บริหารชั้นนำมากมาย เขายืนยันว่า “เส้นแบ่งระหว่างคนเก่งกับคนไม่เก่ง ก็คือ ความแตกต่างของ คำถาม”
ทั้งๆ ที่ในชีวิตประจำทุกคนก็ต้องติดต่อพูดคุยกับคนอื่น ซึ่งก็มีทั้งการถามและการตอบอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นผู้ถามหรือถูกถาม รวมทั้งการถามตัวเองโดยไม่รู้ตัว เช่น “วันนี้ฝนจะตกไหมนะ” “เอ...เรานัดประชุมกันกี่โมงนะ”
ปัญหาก็คือ มีทั้งคำถามที่ได้เรื่องและไม่ได้เรื่อง ที่ถามไปอย่างไม่รู้หลักเพื่อผลที่ดีไงครับ
ลองมาดูผลลัพธ์กันก็สามารถจัดประเภทคำถามได้ 4 แบบ
1. คำถามเบา ถามไปแล้วคนอยากตอบ เพราะพูดได้เลย เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรืออุ่นเครื่องการสนทนาหรือก่อนเริ่มการโค้ชครั้งแรก (Pre-coaching)
คำถามเบาๆ ที่ตอบง่าย ยินดีตอบและพูดจนชินแล้ว เช่น ประสบการณ์ความสำเร็จ งานอดิเรกที่ชอบ กิจกรรมหรือผลงานที่ภูมใจ
2. คำถามแย่ มักไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์กับผู้ถูกถาม เช่น เรื่องส่วนตัว เรื่องหนี้สิน หรือเรื่องที่เป็นปมด้อย แถมไม่ได้กระตุ้นให้ตระหนักรู้อีกด้วย
3. คำถามหนัก ใครก็ไม่อยากตอบ เพราะต้องคิดหนัก หรืออาจอึดอัดใจ จึงต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีก่อนถาม ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคำถามแย่ แต่อาจสร้างความตระหนักรู้ได้ หรือจี้ใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงต้องระวังไม่เป็นคำถามที่ล่วงล้ำเรื่องที่เขาไม่อยากให้แตะ
4. คำถามที่ดี คนอยากตอบด้วยความกระตือรือร้น และสามารถสร้างความตระหนักรู้ และเกิดผลทางการกระทำจากคำตอบได้
ลักษณะเด่นและตัวอย่าง “คำถามที่ดี”
1.ถามถึง “สิ่งที่อยากได้จริงๆ”
เพราะคนเรามักคิด “อยากเจริญก้าวหน้า” “อยากประสบความสำเร็จ”
คำถามที่ทำให้ตระหนักรู้ถึงสิ่งที่อยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือ “want to...” จึงนับเป็น “คำถามที่ดี” เพราะชีวิตทุกคนมีสิ่งที่ต้องทำ...(have to...) มากมายอยู่แล้ว เช่น เป้าการขาย กำหนดส่งงาน
2.ถามถึงคุณค่าของงานที่ทำ
การถามถึง “งานที่ทำมีความหมายอะไรต่อสังคม” “งานมีคุณค่าอะไรต่อสังคม”
3.ถามถึงคำจำกัดความของคำ
เป็นการถามถึงเรื่องพื้นฐาน ถ้าได้คุยกันคนที่ชอบใช้คำกล่าวใด ลองให้ “ช่วยบอกรายละเอียดประเด็นนี้หน่อย”
เช่น ผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับ “ความพึงพอใจของลูกค้า” ให้ถามว่า “ความพึงพอใจของลูกค้าที่ท่านคิดหมายถึงอะไรบ้าง”
4.ถามถึงแนวคิดตรงข้าม
ถ้าเป็นคำพูดที่เขาใช้บ่อย ลองถาม “แนวคิดตรงข้าม” หรือคำที่มีความหมายตรงข้าม จะเจาะลึกถึงแก่นแท้ของความคิดได้ง่าย
เช่น ลองถามคนที่ต้องการความสำเร็จว่า “ถ้าคุณไม่บรรลุเป้าหมายจะรู้สึกอย่างไร” “ถ้าไม่บรรลุเป้าหมายจะเกิดอะไรขึ้น”
5.คำถามที่สงสัยในสิ่งที่คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา
คนมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ก็กลายเป็นคำถามที่ดีได้ เช่น ถามประธานบริษัทใหญ่ว่า “ตอนเริ่มก่อตั้งกิจการ สภาพการณ์เป็นอย่างไร”
6.ลองให้เปลี่ยนจุดยืน
“ถ้าเป็นคุณอยู่ในสถานการณ์นั้น จะเป็นอย่างไร”
“ถ้าคุณเป็นพนักงานเข้ามาใหม่ คุณจะคิดอย่างไร กับวิธีการทำงานตอนนี้”
7.ถามถึงปัจจุบันและอนาคต
ถ้าแยกแยะคำถาม 4 แบบ จะเห็นได้ว่า “คำถามเบา” และ“คำถามที่ดี” มักถามถึงปัจจุบันหรืออนาคต ส่วน “คำถามที่แย่” กับ “คำถามหนัก” มักเป็นการถามถึงอดีต
8.คำถามที่ดีเป็นคำถามปลายเปิด
ผู้บริหารยิ่งมีตำแหน่งสูงเท่าไร มักมีแนวโน้มจะใช้คำถามปลายปิด ซึ่งจำกัดขอบเขตการตอบว่า ใช่หรือไม่ใช่ หรือเลือกอย่างใด ดังนั้น ความสัมพันธ์แบบสั่งการจึงมักใช้แบบปลายปิด
แต่คำถามแบบปลายปิดที่ระบบการโค้ชใช้ คือเปิดกว้าง ไม่จำกัดวิธีตอบของผู้ถูกถาม คำถามแบบนี้มักใช้ประโยคเริ่มด้วย 5W 1H คือ เรื่องอะไร (What) เมื่อไหร่ (When) เกี่ยวกับใคร (Who) ทำไม (Why) อย่างไร (How)
คำถามปลายเปิดจึงเป็น “คำถามที่ดี” ได้ง่ายกว่าแบบ “ปลายปิด” และเกิดความสัมพันธ์ที่ดี เพราะใส่ใจต่อความคิดเบื้องหลังคำตอบ สังเกตอารมณ์ที่ต้องการบอก เรียกว่าคำนึงถึงสาระจากท่าทีเหนือคำพูด
มาตั้งคำถามที่ดีกับตัวเอง
หลักการตั้งคำถามที่ดียังสมควรนำมาใช้กับตัวเองได้ด้วย แม้เคยทำแบบไม่รู้ตัว แต่คราวนี้ลองมาฝึกใช้กับตัวเองอย่างตั้งใจ รับรองว่าช่วยให้เรื่องส่วนตัวหรือชีวิตโดยรวมดีขึ้นแน่นอน
1.ค้นหาความสำคัญ 3 v เพื่อหาคำถามที่ฝังอยู่ในใจ
• Vision สิ่งที่ต้องการ อยากมี อยากเป็น
• Value คำนิยม คือ ความคิด ความเชื่อ ที่ยึดเป็นหลักในการตัดสินใจ
• Vocabulary คำที่ชอบใช้
ถ้ากำหนด Vision หรือเป้าหมาย (Goal) เป็นจุดที่จะไปให้ถึงในอนาคต จะคิดถึงสิ่งที่ควรทำในตอนนี้ เพื่อทำให้ “ภาพฝัน” นั้นเป็นจริง เช่น บรรลุเป้ายอดขายปลายปี 100 ล้านบาท ถ้าเช่นนี้ เราในฐานะผู้บริหารที่มีค่านิยม (Value) ที่มีสำนึกรับผิดชอบ คำถามที่จะเป็นจะผุดขึ้นมาเอง
คำถามดีกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่เชื่อมโยงกับ “ผลลัพธ์” ปลายทาง และ Vocabulary ที่พูดตอกย้ำถึง Vision มากเท่าไร อัตราความสำเร็จก็ยิ่งสูง ที่มีผลการวิจัยยืนยัน
2.หาเวลาตั้งคำถามกับตัวเอง
ถ้ามัวยุ่งกับงานจนตั้งคำถามที่ดีกับตัวเองไม่ได้ ก็คงต้องอยู่ไป บ่นไป ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทั้งๆ ที่การคิดและถามเป้าหมายตัวเองระหว่างนั่งรถเดินทางหรือ 5 นาทีก่อนนอนก็ยังได้
3.ตั้งคำถามกับตัวเองเป็นประจำ
เพื่อตรวจสอบตัวเองว่ายังมุ่งสู่เป้าหมายหรือไม่ จึงต้องตั้งคำถามเป็นประจำ เหมือนตรวจสุขภาพ
การรู้จักตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อพัฒนาวิธีคิดและปรับวิธีปฏิบัติก็จะพบว่า “เมื่อคำถามเปลี่ยน การกระทำก็เปลี่ยน ให้ผลดีขึ้น ใช้ได้ทั้งชีวิตในสังคมและครอบครัว”
ข้อมูลจากหนังสือ : ถามเป็นชีวิตเปลี่ยน THE ART OF ASKING GOOD QUESTION
ผู้เขียน : เคียวอิจิโร อาวาชึ
ผู้แปล : บัณฑิต ประดิษฐานุวงศ์
สำนักพิมพ์ : สุขภาพใจ
แนะนำหนังสือ 99 ปรัชญาหลักคิดและการทำงาน ผู้เขียน : บุญเกียรติ โชควัฒนา สำนักพิมพ์ : สุขภาพใจ ราคา 160 บาท 99 หลักคิดและปรัชญาการทำงานที่จะทำให้คุณพบกับความสุขและแรงบันดาลใจดีๆ ทั้งยังเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดีในการช่วยให้คุณดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าในโลกปัจจุบัน 10 วิถีสู่ความร่ำรวย ผู้เขียน : เคน ฟิชเชอร์, ลาร่า ดับเบิลยู ฮอฟแมนส์, เอลิซาเบท เดลลิงเกอร์ ผู้แปล : ชัชวนันท์ สันธิเดช สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ดยูเคชั่น ราคา 229 บาท ก้าวเดินตามรอยคนรวยไปบนถนน 10 สาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแผ้วถางเส้นทางรวยและสร้างความมั่นใจตลอดทุกย่างก้าว อีลอน มัสก์ ผู้เขียน : แอชลี แวนส์ ผู้แปล : จินดารัตน์ สำนักพิมพ์ : Shortcut ราคา 315 บาท จากรถยนต์ไฟฟ้า Tesla สู่อาณานิคมบนดาวอังคาร เรื่องราวชีวิตของผู้ประกอบการที่อาจหาญที่สุดในยุคของเรา โยคะสไตล์คนขี้เกียจ ผู้เขียน : มินะ ซาคิตะ ผู้แปล : สุชาติ ไชย์ปรมัตถ์ สำนักพิมพ์ : ไดฟูกุ ราคา 199 บาท หนังสือโยคะที่ง่ายที่สุด สำหรับคนไม่ถนัดออกกำลังกาย เพราะเป็นท่าง่ายๆ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา คนขี้เกียจก็ทำต่อเนื่องได้สำเร็จ |