BY: Pharmchompoo
ในชีวิตประจำวัน การกินการอยู่เป็นเรื่องปกติ หลายครั้งที่มีความแปรปรวนของระบบการย่อยอาหาร ท้องแน่น อืดเฟ้อ เรอเปรี้ยว หรือเราเห็นตามโฆษณา ยาที่มักจะถูกนึกถึงคือ “ยาลดกรด” (Antacids) ซึ่งมีหลายยี่ห้อ แต่โดยส่วนประกอบหลักๆ ที่ใช้ในการลดกรด (หรือเอาตามหลักจริงๆ คือการ “สะเทิน” [neutralize] กรดในกระเพาะอาหาร) คือ aluminium hydroxide, magnesium hydroxide, magnesium trisilicate อาจเพิ่มยาดูดซับแก๊ส “ไซเมทิโคน” (simethicone) เข้าไปด้วย
นอกจากนั้นแล้วในปัจจุบันยังมียาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีการใช้สูงมากและลักษณะของสรรพคุณอาจชวนให้สับสนได้นั่นคือ “ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร” (acid suppressants, gastric acid secretion inhibitors) ได้แก่ยา omeprazole, esomeprazole, lansoprazole, rabeprazole, pantoprazole
ยากลุ่มนี้มีความนิยมใช้สูงขึ้นเพราะยากลุ่มนี้มีที่ใช้หลายอย่าง เช่น สำหรับรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นส่วนประกอบในสูตรยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อ H. pylori ใช้ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารอันเกิดจากยา NSAIDs (NSAIDs-induced ulcer prophylaxis) ใช้ป้องกันแผลในทางเดินอาหาร (stress-induced ulcer prophylaxis)
และสำหรับภาวะกรดไหลย้อน (GERD) ซึ่งโดยธรรมชาติยานี้ไม่ทนกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้ผลิตต้องมีสารเคลือบแกรนูลยา เพื่อให้ยาทนกรดในทางเดินอาหาร และยานี้ต้องกินก่อนอาหารประมาร 30-60 นาที การออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ยับยั้งการผลิตและหลั่งกรดออกมาในกระเพาะอาหาร จึงเป็นการป้องกันที่ต้นทาง คือก่อนที่กรดจะถูกหลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ในขณะที่ “ยาลดกรด” นั้นเป็นการที่ยาไปทำปฏิกิริยากับกรดที่ออกมาอยู่ในกระเพาะอาหารแล้ว
หลายคนอาจเคยอ่านเอกสารกำกับยาหรือฉลากยาแล้ว เขียนว่า “ห้ามรับประทานพร้อมนมหรือยาลดกรด” เช่น ยาฆ่าเชื้อ ofloxacin แล้วอาจจะกังวลว่าตนเองกินยา pantoprazole ซึ่งเป็นยาลดการหลั่งกรด จะเกี่ยวไหม มีผลกระทบไหม ก็บอกได้ว่าไม่มี เพราะเป็นยาคนละชนิดดังได้กล่าวแล้ว
ยาลดกรดในที่นี้ที่ห้ามคือ ยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม อลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบ เพราะว่าอะลูมิเนียม หรือแมกนีเซียมที่เป็นองค์ประกอบยาลดกรดจะไปจับกับตัวยา ofloxacin จนยา ofloxacin จะไม่สามารถดูดซึมได้ ขณะที่ยาลดการหลั่งกรดจะไม่มีกลไกที่เกี่ยวข้องแบบนั้น
ดังนั้น อาจจะต้องทำความเข้าใจกันเสียใหม่ เพื่อให้ใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ในชีวิตประจำวัน การกินการอยู่เป็นเรื่องปกติ หลายครั้งที่มีความแปรปรวนของระบบการย่อยอาหาร ท้องแน่น อืดเฟ้อ เรอเปรี้ยว หรือเราเห็นตามโฆษณา ยาที่มักจะถูกนึกถึงคือ “ยาลดกรด” (Antacids) ซึ่งมีหลายยี่ห้อ แต่โดยส่วนประกอบหลักๆ ที่ใช้ในการลดกรด (หรือเอาตามหลักจริงๆ คือการ “สะเทิน” [neutralize] กรดในกระเพาะอาหาร) คือ aluminium hydroxide, magnesium hydroxide, magnesium trisilicate อาจเพิ่มยาดูดซับแก๊ส “ไซเมทิโคน” (simethicone) เข้าไปด้วย
นอกจากนั้นแล้วในปัจจุบันยังมียาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีการใช้สูงมากและลักษณะของสรรพคุณอาจชวนให้สับสนได้นั่นคือ “ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร” (acid suppressants, gastric acid secretion inhibitors) ได้แก่ยา omeprazole, esomeprazole, lansoprazole, rabeprazole, pantoprazole
ยากลุ่มนี้มีความนิยมใช้สูงขึ้นเพราะยากลุ่มนี้มีที่ใช้หลายอย่าง เช่น สำหรับรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นส่วนประกอบในสูตรยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อ H. pylori ใช้ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารอันเกิดจากยา NSAIDs (NSAIDs-induced ulcer prophylaxis) ใช้ป้องกันแผลในทางเดินอาหาร (stress-induced ulcer prophylaxis)
และสำหรับภาวะกรดไหลย้อน (GERD) ซึ่งโดยธรรมชาติยานี้ไม่ทนกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้ผลิตต้องมีสารเคลือบแกรนูลยา เพื่อให้ยาทนกรดในทางเดินอาหาร และยานี้ต้องกินก่อนอาหารประมาร 30-60 นาที การออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ยับยั้งการผลิตและหลั่งกรดออกมาในกระเพาะอาหาร จึงเป็นการป้องกันที่ต้นทาง คือก่อนที่กรดจะถูกหลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ในขณะที่ “ยาลดกรด” นั้นเป็นการที่ยาไปทำปฏิกิริยากับกรดที่ออกมาอยู่ในกระเพาะอาหารแล้ว
หลายคนอาจเคยอ่านเอกสารกำกับยาหรือฉลากยาแล้ว เขียนว่า “ห้ามรับประทานพร้อมนมหรือยาลดกรด” เช่น ยาฆ่าเชื้อ ofloxacin แล้วอาจจะกังวลว่าตนเองกินยา pantoprazole ซึ่งเป็นยาลดการหลั่งกรด จะเกี่ยวไหม มีผลกระทบไหม ก็บอกได้ว่าไม่มี เพราะเป็นยาคนละชนิดดังได้กล่าวแล้ว
ยาลดกรดในที่นี้ที่ห้ามคือ ยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม อลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบ เพราะว่าอะลูมิเนียม หรือแมกนีเซียมที่เป็นองค์ประกอบยาลดกรดจะไปจับกับตัวยา ofloxacin จนยา ofloxacin จะไม่สามารถดูดซึมได้ ขณะที่ยาลดการหลั่งกรดจะไม่มีกลไกที่เกี่ยวข้องแบบนั้น
ดังนั้น อาจจะต้องทำความเข้าใจกันเสียใหม่ เพื่อให้ใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |