แดดร้อนๆ ตอนบ่ายๆ คงจะมีอะไรที่มาคลายร้อนได้ นอกจาก “น้ำแข็ง” เพราะมันเป็นสิ่งที่คลายร้อนอย่างรวดเร็วและเป็นเบื้องต้น หากตอบโจทย์อย่างเดียวก็คงจะไม่มีอะไร แต่หากมีการเคี้ยวน้ำแข็งด้วยแล้ว นั่นคือความเสี่ยงที่จะต้องแก้ไข เพราะนั่นคือที่มาที่จะเป็น “โรคติดน้ำแข็ง” โดยไม่รู้ตัวได้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายอยู่พอสมควร
โรคติดน้ำแข็ง คืออะไร?
แพทย์หญิง ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ได้ระบุว่า โรคติดน้ำแข็งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรค Pagophagia เป็นภาษากรีกที่มาจากคำว่า Pagos ที่แปลว่าน้ำแข็ง บวกกับ Phago ที่แปลว่ากิน เป็นอาการชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีนิสัยย้ำคิดย้ำทำกับการกินน้ำแข็งจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและใจ
อาการของผู้ป่วยโรคนี้
สำหรับอาการนี้จะมีการบริโภคน้ำแข็งอยู่ประจำ เสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งตลอดทั้งวันจนไม่สามารถหยุดการเคี้ยวได้ หรือมีความอยากเคี้ยวน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา มากกว่าที่จะอยากดื่มน้ำเย็นๆ เพราะเครื่องดื่มที่เย็นก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ของตัวเองได้นัก และส่วนใหญ่จะชอบเคี้ยวมากกว่ามาอมน้ำแข็งเฉยๆ
ผลกระทบของการเป็นโรคติดน้ำแข็ง
1.ฟันอาจจะบิ่น หัก แตก หรืออาจฟันหลุดได้ หากมีอาการกัดก้อนน้ำแข็งไปเรื่อยๆ
2.เมื่อเสพติดอาการนี้ไป บางรายอาจจะเคี้ยวน้ำแข็งอย่างไม่รู้ตัว หรือไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนทำให้ดูเป็นเรื่องเสียมารยาทบนโต๊ะอาหาร
3.ผู้ที่ชอบเคี้ยวน้ำแข็งเป็นประจำ อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ความเครียด พฤติกรรมย้ำคิด-ย้ำทำ พัฒนาการผิดปกติในเด็ก
4.เช่นเดียวกัน สำหรับผู้ป่วยที่ชอบมีพฤติกรรมดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กถึง 50% ของผู้ป่วยโรคนี้ แต่ก็ไม่เสมอไป ต้องมีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด
5.ถ้ามีการบริโภคน้ำแข็งที่ไม่สะอาดหรือคุณภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐาน อาจจะเสี่ยงติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องร่วงท้องเสีย หรือติดพยาธิจากน้ำแข็งที่แช่อาหารสด รวมถึงสารพิษสารเคมีอื่นๆ ที่มาปนเปื้อนอยู่ในน้ำแข็งที่ม่สะอาดอีกด้วย
วิธีแก้ปัญหาติดการเคี้ยวน้ำแข็ง
1.ลดการปริมาณน้ำแข็งที่กินลงในแต่ละวันลงเรื่อยๆ รวมถึงบังคับตัวเองให้ได้
2.เลือกกินน้ำเย็นแทนการเคี้ยวน้ำแข็ง
3.เลือกกินน้ำแข็งก้อนเล็ก และหลีกเลี่ยงการเคี้ยวน้ำแข็งก้อนใหญ่ หรือแข็งมากเกินไป
4.หากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องของการตรวจทั้งร่างกาย หรือทางสุขภาพจิตว่ามีปัญหาหรือไม่
โรคติดน้ำแข็ง คืออะไร?
แพทย์หญิง ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ได้ระบุว่า โรคติดน้ำแข็งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรค Pagophagia เป็นภาษากรีกที่มาจากคำว่า Pagos ที่แปลว่าน้ำแข็ง บวกกับ Phago ที่แปลว่ากิน เป็นอาการชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีนิสัยย้ำคิดย้ำทำกับการกินน้ำแข็งจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและใจ
อาการของผู้ป่วยโรคนี้
สำหรับอาการนี้จะมีการบริโภคน้ำแข็งอยู่ประจำ เสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งตลอดทั้งวันจนไม่สามารถหยุดการเคี้ยวได้ หรือมีความอยากเคี้ยวน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา มากกว่าที่จะอยากดื่มน้ำเย็นๆ เพราะเครื่องดื่มที่เย็นก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ของตัวเองได้นัก และส่วนใหญ่จะชอบเคี้ยวมากกว่ามาอมน้ำแข็งเฉยๆ
ผลกระทบของการเป็นโรคติดน้ำแข็ง
1.ฟันอาจจะบิ่น หัก แตก หรืออาจฟันหลุดได้ หากมีอาการกัดก้อนน้ำแข็งไปเรื่อยๆ
2.เมื่อเสพติดอาการนี้ไป บางรายอาจจะเคี้ยวน้ำแข็งอย่างไม่รู้ตัว หรือไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนทำให้ดูเป็นเรื่องเสียมารยาทบนโต๊ะอาหาร
3.ผู้ที่ชอบเคี้ยวน้ำแข็งเป็นประจำ อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ความเครียด พฤติกรรมย้ำคิด-ย้ำทำ พัฒนาการผิดปกติในเด็ก
4.เช่นเดียวกัน สำหรับผู้ป่วยที่ชอบมีพฤติกรรมดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กถึง 50% ของผู้ป่วยโรคนี้ แต่ก็ไม่เสมอไป ต้องมีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด
5.ถ้ามีการบริโภคน้ำแข็งที่ไม่สะอาดหรือคุณภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐาน อาจจะเสี่ยงติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องร่วงท้องเสีย หรือติดพยาธิจากน้ำแข็งที่แช่อาหารสด รวมถึงสารพิษสารเคมีอื่นๆ ที่มาปนเปื้อนอยู่ในน้ำแข็งที่ม่สะอาดอีกด้วย
วิธีแก้ปัญหาติดการเคี้ยวน้ำแข็ง
1.ลดการปริมาณน้ำแข็งที่กินลงในแต่ละวันลงเรื่อยๆ รวมถึงบังคับตัวเองให้ได้
2.เลือกกินน้ำเย็นแทนการเคี้ยวน้ำแข็ง
3.เลือกกินน้ำแข็งก้อนเล็ก และหลีกเลี่ยงการเคี้ยวน้ำแข็งก้อนใหญ่ หรือแข็งมากเกินไป
4.หากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องของการตรวจทั้งร่างกาย หรือทางสุขภาพจิตว่ามีปัญหาหรือไม่