ภาวะโรคซีดหรืออีกชื่อเรียกคือภาวะโลหิตจาง (Anemia) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบันของเด็กไทยวัย 6-12 เดือน โดยจำนวนเฉลี่ยที่พบมากถึงเด็ก 1 ใน 4 คนต้องมีเป็นโรคนี้ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและสมอง แม้ว่าบุตรหลานของท่านรับประทานอาหารครบถ้วนทว่าก็สามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน
เรามาทำความรู้จักโรคนี้ว่าปฐมบทต้นเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราสามารถป้องกันรักษาแก้ไขด้วยวิธีใด
ภาวะโรคซีดหรือภาวะโลหิตจางเกิดจากการที่ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โฟเลต วิตามินบี 12 โดยส่วนส่วนใหญ่จะเกิดจากการขาด “ธาตุเหล็ก” ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเปลือกตาล่าง ริมฝีปากหรือผิวมีสีซีด ไม่มีเลือดฝาดเหมือนผิวเด็กปกติ มีอาการอ่อนเพลียบ่อยครั้ง รับประทานอาหารได้น้อย เบื่ออาหารและมักจะมีอาการเป็นลม ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายด้านความสูง กระดูกไม่แข็งแรง เปราะง่าย เนื่องจากขาดสารอาหาร เจ็บป่วยบ่อยและง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อภาวะสมองทำงานได้น้อยลง เรียนรู้ช้ากว่าปกติ เฉื่อยชา เพราะได้รับออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงน้อยลง
วิธีการป้องกันและรักษา
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ทั้ง ข้าว ไข่แดง เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ เนื่องจากเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กสามารถพบได้ในเนื้อแดง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ตับหมู เลือดหมู ผักใบเขียว ธัญพืช
รับประทานนมแม่
เพราะนมแม่ประกอบไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด เช่น แอนติบอดีและโปรตีนต่างๆ ที่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน นอกจากนี้ยังมีเซลล์ที่มีชีวิตต่างๆ ทั้งเซลล์จากแม่ รวมทั้งแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางอาหารของทารกอีกด้วย
อย่างไรก็ตามทั้งนี้ทั้งนั้นหากพบว่าบุตรหลานของท่านมีอาการเบื้องต้นใกล้เคียงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามอาการของโรค
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล
เรามาทำความรู้จักโรคนี้ว่าปฐมบทต้นเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราสามารถป้องกันรักษาแก้ไขด้วยวิธีใด
ภาวะโรคซีดหรือภาวะโลหิตจางเกิดจากการที่ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โฟเลต วิตามินบี 12 โดยส่วนส่วนใหญ่จะเกิดจากการขาด “ธาตุเหล็ก” ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเปลือกตาล่าง ริมฝีปากหรือผิวมีสีซีด ไม่มีเลือดฝาดเหมือนผิวเด็กปกติ มีอาการอ่อนเพลียบ่อยครั้ง รับประทานอาหารได้น้อย เบื่ออาหารและมักจะมีอาการเป็นลม ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายด้านความสูง กระดูกไม่แข็งแรง เปราะง่าย เนื่องจากขาดสารอาหาร เจ็บป่วยบ่อยและง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อภาวะสมองทำงานได้น้อยลง เรียนรู้ช้ากว่าปกติ เฉื่อยชา เพราะได้รับออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงน้อยลง
วิธีการป้องกันและรักษา
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ทั้ง ข้าว ไข่แดง เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ เนื่องจากเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กสามารถพบได้ในเนื้อแดง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ตับหมู เลือดหมู ผักใบเขียว ธัญพืช
รับประทานนมแม่
เพราะนมแม่ประกอบไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด เช่น แอนติบอดีและโปรตีนต่างๆ ที่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน นอกจากนี้ยังมีเซลล์ที่มีชีวิตต่างๆ ทั้งเซลล์จากแม่ รวมทั้งแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางอาหารของทารกอีกด้วย
อย่างไรก็ตามทั้งนี้ทั้งนั้นหากพบว่าบุตรหลานของท่านมีอาการเบื้องต้นใกล้เคียงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามอาการของโรค
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล