xs
xsm
sm
md
lg

สาระน่ารู้กับโรงพยาบาลธนบุรี การบาดเจ็บของเส้นเอ็น และ ข้อเข่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ข้อเข่าเป็นข้อต่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย และมีโครงสร้างอันละเอียดซับซ้อน โดยประกอบด้วยปลายกระดูกต้นขา (Femur) และส่วนต้นของกระดูกแข้ง (Tibea) มีการเคลื่อนไหวในลักษณะ งอ – เหยียด แบบบานพับ (Hinge joint) และหมุนได้เล็กน้อย (Rotation) โดยมีหมอนรองข้อ (Meniscus) เพิ่มความมั่นคงของข้อและลดแรงกระแทกของกระดูกอ่อนผิวข้อที่กระทบกันขณะเคลื่อนไหวในมุมต่างๆ มีกระดูกสะบ้า (Patella) ประกบวางอยู่ทางด้านหน้า อีกทั้งยังมีเอ็นยึดกระดูกข้อต่อเอาไว้ไม่ให้ข้อต่อนั้นหลุดแยกออกจากกันขณะทีมีการเคลื่อนไหวของข้อนั้นๆ เอ็นที่สำคัญ มี เอ็นไขว่หน้า (Anterior cruciate ligament : ACL) , เอ็นประกับเข่าด้านนอก (Lateral collateral ligament : LCL) ,เอ็นประกับเข่าด้านใน (Medial collateral ligament : MCL) และ เอ็นไขว้หลัง (Posterior cruciate ligament :PCL) ซึ่งการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและข้อเข่าจะมีหลายระดับด้วยกันขึ้นกับแรงที่มากระแทกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่ารวมไปถึงทักษะและความแข็งแรงของร่างกาย

อาการแสดง
• เกิดเสียงภายในข้อขณะเกิดอุบัติเหตุ
• ร้อน บวม แดง หลังการบาดเจ็บ ภายใน 1 ชั่วโมง
• เกิดความรู้สึกว่าข้อเข่าหลวม ไม่มั่นคง
• ปวดมากเมื่องอเข่า และเกิดการเคลื่อนของ ส่วนต้นของกระดูกแข้ง (Tibea)

การรักษา
• พัก (Rest) โดยการงดการใช้ข้อเข่าที่บาดเจ็บ แล้วประคบเย็น (Cold compression )เพื่อลดอาการปวด บวมรวมทั้งการยกส่วนที่บาดเจ็บไว้สูงเพื่อลดอาการบวม
• เลี่ยงการลงน้ำหนัก โดยใช้ไม้ค้ำยันช่วย ถ้าต้องเดิน
• ถ้ายังปวดมากอาจพิจารณาทำกายภาพบำบัดช่วย ในรายที่แพทย์พิจารณา
• การผ่าตัด แพทย์จะพิจารณา เมื่อมีความเสียหาย ของข้อและเอ็นเป็นจำนวนมาก โดยการผ่าตัดจะมีหลายชนิด เช่น

1. การผ่าตัดซ่อมเอ็นไขว้หน้า หรือ ACL Reconstruction
2. การผ่าตัดซ่อมเอ็นไขว้หลัง หรือ PCL Reconstruction
3. การเลาะหมอนรองกระดูกข้อส่วนที่ฉีกขาดออก หรือ Arthroscopic partial meniscectomy

ศูนย์โรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี โทร 02-412-3870



1645 กด 1 หรือ 02-487-2000
th@thonburihospital.com
http://thonburihospital.com/2015_new/
https://www.facebook.com/thonburihospitalclub
https://www.instagram.com/thonburi_hospital/
@THONBURIHOSPITAL
กำลังโหลดความคิดเห็น