By: Pharmchompoo
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้อ่านอาจจะได้ทราบข่าวการจับกุมสารที่ระบุว่าเป็นตัวกระตุ้นความต้องการทางเพศให้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับแอลกอฮอล์ ชื่อว่า “POPPERS” หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นสารเคมีอะไร สรรพคุณดีจริงหรือไม่ มีอันตรายหรือไม่ อย่างไร

POPPERS เป็นสารระเหยกลุ่มไนไตรท์ (volatile nitrites) สารเคมีกลุ่มนี้ที่นิยมนำมาใช้คือ isobutyl nitrite ซึ่งสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง
แต่เดิม volatile nitrite ที่นำมาใช้คือ amyl nitrite บรรจุในหลอดแก้วที่เป็นกระเปาะ เมื่อจะนำมาใช้ก็จะหักกระเปาะแก้วออกเพื่อสูดดม เกิดเสียงดัง “POP” กลายเป็นชื่อ “poppers”
ในสมัยก่อน amyl nitrite เป็นไนไตรท์ที่มีการใช้ในทางการแพทย์ โดยใช้ในผู้ที่เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะเมื่อสูดดมเข้าสู่ร่างกายแล้ว nitrite ที่ได้จาก amyl nitrite จะทำให้เกิดฤทธิ์การขยายตัวของหลอดเลือด (vasodilatation) ทำให้อาการเจ็บหน้าอกหายไป
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสมัยต่อมา มียาอื่นที่มีความปลอดภัยมากกว่า amyl nitrite และใช้สะดวกกว่า จึงเลิกใช้ amyl nitrite ในทางการแพทย์ไปโดยปริยาย
Isobutyl nitrite เป็น nitrite ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากฤทธิ์ขยายหลอดเลือด คลายกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้เกิดความง่ายในการมีเพศสัมพันธ์ ในการสอดใส่อวัยวะเพศ โดยเฉพาะในการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย
นอกจากนี้ ฤทธิ์การคลายหลอดเลือดทำให้หัวใจเต้นแรง และเร็วขึ้น ให้รู้สึกตื่นเต้น และยังมีฤทธิ์ทำให้เคลิบเคลิ้มได้ด้วย จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้เพื่อการผ่อนคลาย (recreational purpose)
อย่างไรก็ตาม อันตรายจากการใช้ POPPERS ก็คือ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการที่จะลืมป้องกันตนเอง ทำให้สุ่มเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย หรือไม่ได้ป้องกัน (unprotected sex) ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้วยเหตุผลคือ POPPERS ทำให้หลอดเลือดในร่างกายขยายตัว ทำให้เลือดมาคั่งบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงในการรับเชื้อโรคหากเกิดบาดแผล หรือมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน
อีกประการคือ isobutyl nitrite หรือ POPPERS นั้นมีฤทธิ์กดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว รวมทั้งทำให้ประสิทธิภาพของการหลั่งสารเคมีในระบบภูมิคุ้มกันหลายชนิดบกพร่อง ทำให้เกิดสภาวะการกดภูมิคุ้มกันชั่วคราว จึงเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้นแล้ว POPPERS ยังไวไฟ จึงไม่สามารถใช้ POPPERS ร่วมกับการสูบบุหรี่ได้ POPPERS มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดได้ไม่ต่างจากยาที่ช่วยภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือยาลดความดันโลหิตกลุ่มไนเตรท เช่น isosorbide dinitrate, isosorbide mononitrate ดังนั้น จึงเป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาดในการใช้ POPPERS ร่วมกับสารเคมีหรือยากลุ่มดังกล่าว เพราะจะทำให้เกิดความดันโลหิตตกอย่างรุนแรง (severe hypotension) ช็อก เสียชีวิตได้ง่ายๆ
ในทางกฎหมาย POPPERS จัดเป็นสารระเหยที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พุทธศักราช 2533 การซื้อขาย ครอบครอง ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายดังกล่าวด้วย
แหล่งอ้างอิง : ประกาศกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุตสาหกรรม. การระบุชื่อประเภท ชนิด หรือขนาดบรรจุ ของสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารระเหย 2554. http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/wp-content/uploads/2012/03/VC_027.pdf. Accessed on Nov 30, 2017.
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้อ่านอาจจะได้ทราบข่าวการจับกุมสารที่ระบุว่าเป็นตัวกระตุ้นความต้องการทางเพศให้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับแอลกอฮอล์ ชื่อว่า “POPPERS” หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นสารเคมีอะไร สรรพคุณดีจริงหรือไม่ มีอันตรายหรือไม่ อย่างไร
POPPERS เป็นสารระเหยกลุ่มไนไตรท์ (volatile nitrites) สารเคมีกลุ่มนี้ที่นิยมนำมาใช้คือ isobutyl nitrite ซึ่งสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง
แต่เดิม volatile nitrite ที่นำมาใช้คือ amyl nitrite บรรจุในหลอดแก้วที่เป็นกระเปาะ เมื่อจะนำมาใช้ก็จะหักกระเปาะแก้วออกเพื่อสูดดม เกิดเสียงดัง “POP” กลายเป็นชื่อ “poppers”
ในสมัยก่อน amyl nitrite เป็นไนไตรท์ที่มีการใช้ในทางการแพทย์ โดยใช้ในผู้ที่เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะเมื่อสูดดมเข้าสู่ร่างกายแล้ว nitrite ที่ได้จาก amyl nitrite จะทำให้เกิดฤทธิ์การขยายตัวของหลอดเลือด (vasodilatation) ทำให้อาการเจ็บหน้าอกหายไป
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสมัยต่อมา มียาอื่นที่มีความปลอดภัยมากกว่า amyl nitrite และใช้สะดวกกว่า จึงเลิกใช้ amyl nitrite ในทางการแพทย์ไปโดยปริยาย
Isobutyl nitrite เป็น nitrite ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากฤทธิ์ขยายหลอดเลือด คลายกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้เกิดความง่ายในการมีเพศสัมพันธ์ ในการสอดใส่อวัยวะเพศ โดยเฉพาะในการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย
นอกจากนี้ ฤทธิ์การคลายหลอดเลือดทำให้หัวใจเต้นแรง และเร็วขึ้น ให้รู้สึกตื่นเต้น และยังมีฤทธิ์ทำให้เคลิบเคลิ้มได้ด้วย จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้เพื่อการผ่อนคลาย (recreational purpose)
อย่างไรก็ตาม อันตรายจากการใช้ POPPERS ก็คือ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการที่จะลืมป้องกันตนเอง ทำให้สุ่มเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย หรือไม่ได้ป้องกัน (unprotected sex) ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้วยเหตุผลคือ POPPERS ทำให้หลอดเลือดในร่างกายขยายตัว ทำให้เลือดมาคั่งบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงในการรับเชื้อโรคหากเกิดบาดแผล หรือมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน
อีกประการคือ isobutyl nitrite หรือ POPPERS นั้นมีฤทธิ์กดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว รวมทั้งทำให้ประสิทธิภาพของการหลั่งสารเคมีในระบบภูมิคุ้มกันหลายชนิดบกพร่อง ทำให้เกิดสภาวะการกดภูมิคุ้มกันชั่วคราว จึงเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้นแล้ว POPPERS ยังไวไฟ จึงไม่สามารถใช้ POPPERS ร่วมกับการสูบบุหรี่ได้ POPPERS มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดได้ไม่ต่างจากยาที่ช่วยภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือยาลดความดันโลหิตกลุ่มไนเตรท เช่น isosorbide dinitrate, isosorbide mononitrate ดังนั้น จึงเป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาดในการใช้ POPPERS ร่วมกับสารเคมีหรือยากลุ่มดังกล่าว เพราะจะทำให้เกิดความดันโลหิตตกอย่างรุนแรง (severe hypotension) ช็อก เสียชีวิตได้ง่ายๆ
ในทางกฎหมาย POPPERS จัดเป็นสารระเหยที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พุทธศักราช 2533 การซื้อขาย ครอบครอง ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายดังกล่าวด้วย
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |
แหล่งอ้างอิง : ประกาศกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุตสาหกรรม. การระบุชื่อประเภท ชนิด หรือขนาดบรรจุ ของสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารระเหย 2554. http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/wp-content/uploads/2012/03/VC_027.pdf. Accessed on Nov 30, 2017.