เราเคยได้ยินได้ฟังในเรื่องของอาหารค้างคืนอันตรายและไม่ดีต่อสุขภาพเอาเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องโภชนาการที่ลดลง ยิ่งเคี่ยว ต้ม ตุ๋น อาจเกิดสารก่อมะเร็ง ที่สำคัญหากเก็บอาหารไม่ดี อาจปนเปื้อนเชื้อจนท้องเสียทันทีในวันรุ่งขึ้น กระนั้นอย่างไรก็ตามใช้ไม่ได้กับ “ข้าว” เพราะยิ่งหุงสุกนำไปแช่เย็นนอกจากสรรพคุณยังคงตัวเหมือนเดิม ที่เพิ่มขึ้นกว่านั้นคือ ยิงกินยิ่งผอม ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน แถมลดอาการเสี่ยงโรคร้ายอย่างมะเร็งได้อีกด้วย
โดยอาหารประเภทแป้งสามารถจำแนกแบ่งประเภทหลากหลาย อาทิ ขนมปัง เส้นก๊วยเตี๋ยว สปาเก็ตตี้ และ ข้าว เป็นต้น แป้งของเหล่านี้เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วร่างกายจะทำปฏิกิริยาย่อยเป็นโมเลกุลน้ำตาล จากนั้นเข้าสู่กระบวนการดูดซึมสู่กระแสเลือด ทว่าจะมีแป้งบางส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายและดูดซึมในลำไส้เล็กของมนุษย์ คือ Resistant starch (Rs) แป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ หรือ สตาร์ชที่ให้พลังงานต่ำ ส่งผลให้มีคุณสมบัติเทียบเท่าเส้นใยอาหาร สามารถผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่และถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ ที่เอื้อต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผนังลำไส้ใหญ่
ผลจากการย่อยที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณพลังงานในระดับต่ำกว่าปกติ หรือทำหน้าที่คล้ายกับใยอาหาร ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
ซึ่งแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์หรือสตาร์ชที่ให้พลังงานต่ำ ได้แก่พืชตระกูลถั่วต่างๆ กล้วย มันฝรั่ง พาสต้า ขนมปัง และ อาหารหลักของประเทศไทยเรา อย่าง “ข้าว” ซึ่งจากการวิจัยกลุ่มแบ่งข้าวเป็นสามประเภทคือ ข้าวหุงสุกใหม่ ข้าวหุงสุกที่ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 10 ชั่วโมง และข้าวหุงสุกที่นำไปแช่ตู้เย็น (4องศาเซลเซียส) 24 ชั่วโมง แล้วค่อยอุ่นรับประทาน พบว่าข้าวที่ผ่านการแช่ตู้เย็นมานั้นส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าข้าวหุงสุกใหม่ ร่างกายจะได้รับสารอาหารของ RS มากกว่า ผู้ที่รับประทานข้าวข้าวหุงสุกใหม่ๆ นั้นเอง
อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานผักและผลไม้รวมไปถึงแหล่งสารอาหารต่างๆ ให้ครบถ้วนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดี
ข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ www.wongkarnpat.com
โดยอาหารประเภทแป้งสามารถจำแนกแบ่งประเภทหลากหลาย อาทิ ขนมปัง เส้นก๊วยเตี๋ยว สปาเก็ตตี้ และ ข้าว เป็นต้น แป้งของเหล่านี้เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วร่างกายจะทำปฏิกิริยาย่อยเป็นโมเลกุลน้ำตาล จากนั้นเข้าสู่กระบวนการดูดซึมสู่กระแสเลือด ทว่าจะมีแป้งบางส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายและดูดซึมในลำไส้เล็กของมนุษย์ คือ Resistant starch (Rs) แป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ หรือ สตาร์ชที่ให้พลังงานต่ำ ส่งผลให้มีคุณสมบัติเทียบเท่าเส้นใยอาหาร สามารถผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่และถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ ที่เอื้อต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผนังลำไส้ใหญ่
ผลจากการย่อยที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณพลังงานในระดับต่ำกว่าปกติ หรือทำหน้าที่คล้ายกับใยอาหาร ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
ซึ่งแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์หรือสตาร์ชที่ให้พลังงานต่ำ ได้แก่พืชตระกูลถั่วต่างๆ กล้วย มันฝรั่ง พาสต้า ขนมปัง และ อาหารหลักของประเทศไทยเรา อย่าง “ข้าว” ซึ่งจากการวิจัยกลุ่มแบ่งข้าวเป็นสามประเภทคือ ข้าวหุงสุกใหม่ ข้าวหุงสุกที่ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 10 ชั่วโมง และข้าวหุงสุกที่นำไปแช่ตู้เย็น (4องศาเซลเซียส) 24 ชั่วโมง แล้วค่อยอุ่นรับประทาน พบว่าข้าวที่ผ่านการแช่ตู้เย็นมานั้นส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าข้าวหุงสุกใหม่ ร่างกายจะได้รับสารอาหารของ RS มากกว่า ผู้ที่รับประทานข้าวข้าวหุงสุกใหม่ๆ นั้นเอง
อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานผักและผลไม้รวมไปถึงแหล่งสารอาหารต่างๆ ให้ครบถ้วนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดี
ข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ www.wongkarnpat.com