เมื่อถามถึง ‘การสูญเสีย’ แล้ว เชื่อได้ว่าทุกคน จะต้องพบเจอบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งการพบเจอนั้น ก็ต่างสาเหตุกันไป บ้างก็ต้องเสียสิ่งของ บ้างก็ต้องเสียทรัพย์สิน และ สิ่งที่ทุกคนพบเจอแน่นอน คือ ‘บุคคลอันเป็นที่รัก’ และถึงแม้ว่าจะเป็นสัจธรรมธรรมดาของโลก แต่กับหลายๆ คน ก็ยังไม่ทันได้เตรียมตัวที่จะพบกับ ‘การสูญเสีย’ นี้

ซึ่งความเสียใจและโศกเศร้าคืออาการตอบสนองของผู้สูญเสีย ซึ่งแม้ว่าภาวะนี้จะนำมาพาสู่ความเจ็บปวด ความโกรธ และ ความสิ้นหวัง แต่ภาวะดังกล่าว ก็อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้เช่นกัน โดยมีการอธิบายถึงปฎิกิริยาในการสูญเสียแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
1.ปฎิเสธ
การมีภาวะนี้จะไม่ยอมรับว่ามีการสูญเสีย และมักจะพูดแต่ว่า ‘ไม่จริง’ หรือ ‘เป็นไปไม่ได้’ ซี่งการกระทำดังกล่าว จะช่วยปกป้องบุคคลต่อความจริงที่เจ็บปวด
2.โกรธ
เมื่อความจริงปรากฏขึ้น บุคคลดังกล่าวจะเกิดภาวะเสียใจ ละอายใจ รู้สึกผิด ไร้ความหวัง มีการโทษตนเองหรือคนอื่น มีความวิตกกังวลมากขึ้น สับสน และคิดกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียตลอดเวลา
3.ต่อรอง
หากความสูญเสียจะทำให้เกิดความหวัง บุคคลเหล่านี้มักจะพยายามอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ได้มีโอกาสหรือมีเวลามากกว่านี้ เพราะยังไม่พร้อมต่อการสูญเสียดังกล่าว
4.ซึมเศร้า
เมื่อบุคคลดังกล่าวมีความอาลัยต่อสิ่งที่สูญเสีย และมีความเป็นระยะที่เจ็บปวดมาก เขาหรือเธอจะเผชิญหน้ากับความรู้สึกของการสูญเสียบุคคลหรือสิ่งที่มีคุณค่า โดยจะแสดงออกถึงการถดถอย การถอยหนี และแยกตัว
5.ยอมรับ
การมีภาวะนี้ เกิดจาก บุคคลที่ประสบกับความสูญเสียเริ่มมีความวิตกลดลง และมีวิธีในการจัดการและคิดกังวลกับการสูญเสีย จนมีความสนใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และกลับมาในสภาวะปกติได้ ซึ่งในแต่ละบุคคลนั้น จะต้องใช้เวลาในการยอมรับ มากบ้าง หรือ น้อยบ้าง ในแต่กรณี

แนวทางที่จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้หลุดจากความสูญเสีย คือ
1.ให้เวลากับความรู้สึกเศร้าเสียใจ
โดยอาจจะให้เวลาซักประมาณ 1 ปี เพื่อที่จะเรียนรู้และอยู่กับชีวิตที่มีการสูญเสีย
2.แสดงความรู้สึกออกมา
ซึ่งความรู้สึกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโกรธ กังวล โดดเดี่ยว และรู้สึกผิด มักเป็นปฎิกริยาตอบสนองต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นที่บุคคลต้องการที่ที่ปลอดภัยในการแสดงความรู้สึกเหล่านี้ออกมา โดยผ่านการเล่าเรื่องของผู้ตายหลายๆ ครั้ง เท่าที่ผู้เล่าอยากจะเล่า
3.สร้างตารางกำกับการทำกิจวัตรประจำวัน
เพื่อให้การก้าวผ่านแต่ละวันเป็นไปได้ง่ายและเกิดความเชื่อมั่นในการเผชิญชีวิตต่อไป
4.ไม่จำเป็นที่จะตอบทุกคำถามในชีวิต
ซึ่งการอ่านหนังสือที่เขียนโดยผู้มีประสบการณ์ในลักษณะเดียวกัน เพื่อเรียนรู้วิธีต่างๆ ที่สามารถนำมาจัดการกับชีวิตตนเองได้
5 . ใส่ใจสุขภาพของตนเอง
ในการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถ้ามีปัญหาในเรื่องความรุนแรงและต่อเนื่อง ก็อาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือได้
6.คาดหวังถึงเรื่องการเศร้าเสียใจที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งบางรายอาจจะรู้สึกดีขึ้น แต่มีการตอบสนองต่อการสูญเสียในรูปแบบอื่น เช่น ฝันถึง มองเห็น หรือ คิดเกี่ยวกับผู้จากไป
7.ให้เวลาตนเอง
หากมีการปรับตัวโดยการให้เวลาตนเองซักระยะก็อาจจะช่วยได้ ซึ่งการพักจากการทำงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง
8.ทำพิธีกรรมทางศาสนา ให้กับผู้จากไป
วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจสบายขึ้น รวมถึงช่วยระลึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับผู้จากไป หรือ ถ้ามีการคุยกับรูปถ่ายของผู้จากไปในบางช่วงของวัน ก็อาจจะช่วยบุคคลดังกล่าวรู้สึกสบายขึ้น
9.ปรึกษาแพทย์
หากวิธีทั้งหมดที่ว่าไม่สามารถช่วยได้ ลองปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ หรือ ถ้ามีปัญหาในทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า หรือ มีการใช้สารเสพติด ก็ควรมีแหล่งช่วยเหลือจิตใจ เพราะว่ามีโอกาสที่จะเกิดอาการเหล่านี้ซ้ำอีกได้
ซึ่งความเสียใจและโศกเศร้าคืออาการตอบสนองของผู้สูญเสีย ซึ่งแม้ว่าภาวะนี้จะนำมาพาสู่ความเจ็บปวด ความโกรธ และ ความสิ้นหวัง แต่ภาวะดังกล่าว ก็อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้เช่นกัน โดยมีการอธิบายถึงปฎิกิริยาในการสูญเสียแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
1.ปฎิเสธ
การมีภาวะนี้จะไม่ยอมรับว่ามีการสูญเสีย และมักจะพูดแต่ว่า ‘ไม่จริง’ หรือ ‘เป็นไปไม่ได้’ ซี่งการกระทำดังกล่าว จะช่วยปกป้องบุคคลต่อความจริงที่เจ็บปวด
2.โกรธ
เมื่อความจริงปรากฏขึ้น บุคคลดังกล่าวจะเกิดภาวะเสียใจ ละอายใจ รู้สึกผิด ไร้ความหวัง มีการโทษตนเองหรือคนอื่น มีความวิตกกังวลมากขึ้น สับสน และคิดกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียตลอดเวลา
3.ต่อรอง
หากความสูญเสียจะทำให้เกิดความหวัง บุคคลเหล่านี้มักจะพยายามอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ได้มีโอกาสหรือมีเวลามากกว่านี้ เพราะยังไม่พร้อมต่อการสูญเสียดังกล่าว
4.ซึมเศร้า
เมื่อบุคคลดังกล่าวมีความอาลัยต่อสิ่งที่สูญเสีย และมีความเป็นระยะที่เจ็บปวดมาก เขาหรือเธอจะเผชิญหน้ากับความรู้สึกของการสูญเสียบุคคลหรือสิ่งที่มีคุณค่า โดยจะแสดงออกถึงการถดถอย การถอยหนี และแยกตัว
5.ยอมรับ
การมีภาวะนี้ เกิดจาก บุคคลที่ประสบกับความสูญเสียเริ่มมีความวิตกลดลง และมีวิธีในการจัดการและคิดกังวลกับการสูญเสีย จนมีความสนใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และกลับมาในสภาวะปกติได้ ซึ่งในแต่ละบุคคลนั้น จะต้องใช้เวลาในการยอมรับ มากบ้าง หรือ น้อยบ้าง ในแต่กรณี
แนวทางที่จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้หลุดจากความสูญเสีย คือ
1.ให้เวลากับความรู้สึกเศร้าเสียใจ
โดยอาจจะให้เวลาซักประมาณ 1 ปี เพื่อที่จะเรียนรู้และอยู่กับชีวิตที่มีการสูญเสีย
2.แสดงความรู้สึกออกมา
ซึ่งความรู้สึกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโกรธ กังวล โดดเดี่ยว และรู้สึกผิด มักเป็นปฎิกริยาตอบสนองต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นที่บุคคลต้องการที่ที่ปลอดภัยในการแสดงความรู้สึกเหล่านี้ออกมา โดยผ่านการเล่าเรื่องของผู้ตายหลายๆ ครั้ง เท่าที่ผู้เล่าอยากจะเล่า
3.สร้างตารางกำกับการทำกิจวัตรประจำวัน
เพื่อให้การก้าวผ่านแต่ละวันเป็นไปได้ง่ายและเกิดความเชื่อมั่นในการเผชิญชีวิตต่อไป
4.ไม่จำเป็นที่จะตอบทุกคำถามในชีวิต
ซึ่งการอ่านหนังสือที่เขียนโดยผู้มีประสบการณ์ในลักษณะเดียวกัน เพื่อเรียนรู้วิธีต่างๆ ที่สามารถนำมาจัดการกับชีวิตตนเองได้
5 . ใส่ใจสุขภาพของตนเอง
ในการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถ้ามีปัญหาในเรื่องความรุนแรงและต่อเนื่อง ก็อาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือได้
6.คาดหวังถึงเรื่องการเศร้าเสียใจที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งบางรายอาจจะรู้สึกดีขึ้น แต่มีการตอบสนองต่อการสูญเสียในรูปแบบอื่น เช่น ฝันถึง มองเห็น หรือ คิดเกี่ยวกับผู้จากไป
7.ให้เวลาตนเอง
หากมีการปรับตัวโดยการให้เวลาตนเองซักระยะก็อาจจะช่วยได้ ซึ่งการพักจากการทำงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง
8.ทำพิธีกรรมทางศาสนา ให้กับผู้จากไป
วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจสบายขึ้น รวมถึงช่วยระลึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับผู้จากไป หรือ ถ้ามีการคุยกับรูปถ่ายของผู้จากไปในบางช่วงของวัน ก็อาจจะช่วยบุคคลดังกล่าวรู้สึกสบายขึ้น
9.ปรึกษาแพทย์
หากวิธีทั้งหมดที่ว่าไม่สามารถช่วยได้ ลองปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ หรือ ถ้ามีปัญหาในทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า หรือ มีการใช้สารเสพติด ก็ควรมีแหล่งช่วยเหลือจิตใจ เพราะว่ามีโอกาสที่จะเกิดอาการเหล่านี้ซ้ำอีกได้