หลายคนที่รักสุขภาพและต้องการควบคุมน้ำหนักจะทราบกันดีว่าการรับประทานน้ำตาลมากไปอาจจะเสี่ยงทำให้น้ำหนักไม่ลงตามเป้าหมาย ดังนั้นบางคนอาจจะหลีกเลี่ยงน้ำตาลและหันไปซบอกน้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานแทน เพื่อจะได้ทานได้อย่างสบายใจและไม่รู้สึกผิด โดยที่บางคนยังคิดว่าดีเสียอีกจะได้ไม่อ้วน แต่รู้หรือไม่ว่าน้ำตาลเทียมบางชนิดรับประทานมากไปก็ไม่ดีอย่างที่คิด
แล้วน้ำตาลเทียมคืออะไร?
น้ำตาลเทียมเป็นสารที่ให้ความหวาน มีคุณสมบัติให้รสหวานคล้ายน้ำตาล สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลได้ แต่ถึงแม้ว่าน้ำตาลเทียมจะสามารถใช้แทนความหวานของน้ำตาลได้ก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายว่าจะไม่ทำให้อ้วนหรือปลอดภัยต่อสุขภาพ
สารให้ความหวานที่นิยมใช้กันมีหลายชนิด แต่จะขอยกตัวอย่างที่นิยมใช้ตามท้องตลาด อย่าง “แอสปาร์เทม” (Aspartame) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทำมาจากสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ดี มีรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาลมากที่สุด อีกทั้งยังให้ความหวานประมาณ 200 เท่า ของน้ำตาลทราย แถมยังให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ และได้รับความนิยมในการนำมาผสมในเครื่องดื่มและอาหารหลากหลายกว่า 5,000 ชนิด ที่วางขายทั่วโลก
(ข้อมูลจาก th.wikipedia.org ) กล่าวไว้ว่า ในประเทศไทยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีการเขียนคำเตือนบนฉลากของบรรจุภัณฑ์ที่มีแอสปาร์เทมเป็นส่วนประกอบว่า "ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย ผลิตภัณฑ์นี้มีฟีนิลอะลานีน" ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ (ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ราว 1 คนต่อประชากร 100,000 คน)

อันตรายจากน้ำตาลเทียมชนิดดังกล่าว ข้อมูลประกอบจาก www.honestdocs.co
1.สารเคมีตกค้างทำให้ ก่อมะเร็ง
แอสปาร์เทมประกอบไปด้วยสารเคมีจำนวน 3 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก ฟีนิลอะลานีน และเมธานอล ซึ่งหากร่างกายได้รับสารเคมีเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ก็จะไม่สามารถกำจัดออกไปจากร่างกายได้หมด สุดท้ายอาจเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ และจะทำให้ DNA ภายในร่างกายเกิดความเสียหาย และอาจพัฒนาจนกลายเป็นความผิดปกติในเซลล์ และเป็นมะเร็งได้ในที่สุด
2. เป็นสาเหตุโรคอ้วน และเบาหวานทางอ้อม
จุดหมายของน้ำตาลเทียม คือการแทนที่การทานน้ำตาล เพื่อจะเลี่ยงโรคอ้วน และเบาหวานได้ แต่กลับกลายเป็นว่าแอสปาร์เทมเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็น 2 โรคนี้เสียเอง เพราะแอสปาร์เทมจะทำให้ร่างกายมีปริมาณการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติ และส่งผลให้ร่างกายยิ่งโหยหาความหวานจากน้ำตาลมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังวนเวียนกลับไปหาน้ำตาลแท้เหมือนเดิม อีกทั้งยังต้องการอาหารมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
3. เป็นสารที่อันตราย
ถึงแม้ว่าจะมีการอนุญาตให้ใช้น้ำตาลเทียมบริโภคอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนแล้ว แต่จากการทดลองกับสัตว์บางชนิด ก็ยังพบอาการข้างเคียงได้เช่น ชักอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
4. ท้องอืด ท้องเฟ้อ
แอสปาร์เทมเป็นน้ำตาลเทียม ที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงทำให้มันไปกองรวมกันอยู่ในลำไส้ใหญ่ และจะมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยแอสปาร์เทมได้ แต่จะผลิตก๊าซออกมาด้วย จึงทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อและถ่ายได้มากกว่าปกติ
5. มีอันตรายต่อสมอง
กรดแอสปาร์ติก ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในน้ำตาลเทียม ก็สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์สมองได้ และเมื่อมีปริมาณแคลเซียมในสมองมากๆ ก็ทำให้สมองได้รับอันตรายได้ อีกทั้งเซลล์สมองอาจมีความผิดปกติ อาจทำให้เกิดโรคลมบ้าหมู อัลไซเมอร์ และรวมไปถึงปลอกประสาทอักเสบ หรือต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติก็ได้

อย่างไรก็ตามแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะออกมาต้านทานโดยมีงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่า แอสปาร์เทมจะไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ถูกกล่าวหา แต่อะไรก็ตามหากมากเกินไปก็ไม่ดีต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น
วิธีแก้ไขหลักๆ แล้วก็คือการแก้ไขที่ตนเองโดยอาจจะเริ่มต้นจากเล็กๆ น้อยๆ ก่อน เช่น ลดการบริโภคหวาน หรืองดเติมความหวานในอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสารให้ความหวานอย่างน้ำตาลเทียมเลยก็เป็นได้ เพราะถึงแม้ว่าน้ำตาลเทียมจะไม่ให้พลังงานแต่ก็มีผลทำให้ต่อมรับรส ทำให้เกิดความต้องการอยากจะกินหวานและทำให้เป็นคนติดหวานได้เช่นกัน
แล้วน้ำตาลเทียมคืออะไร?
น้ำตาลเทียมเป็นสารที่ให้ความหวาน มีคุณสมบัติให้รสหวานคล้ายน้ำตาล สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลได้ แต่ถึงแม้ว่าน้ำตาลเทียมจะสามารถใช้แทนความหวานของน้ำตาลได้ก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายว่าจะไม่ทำให้อ้วนหรือปลอดภัยต่อสุขภาพ
สารให้ความหวานที่นิยมใช้กันมีหลายชนิด แต่จะขอยกตัวอย่างที่นิยมใช้ตามท้องตลาด อย่าง “แอสปาร์เทม” (Aspartame) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทำมาจากสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ดี มีรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาลมากที่สุด อีกทั้งยังให้ความหวานประมาณ 200 เท่า ของน้ำตาลทราย แถมยังให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ และได้รับความนิยมในการนำมาผสมในเครื่องดื่มและอาหารหลากหลายกว่า 5,000 ชนิด ที่วางขายทั่วโลก
(ข้อมูลจาก th.wikipedia.org ) กล่าวไว้ว่า ในประเทศไทยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีการเขียนคำเตือนบนฉลากของบรรจุภัณฑ์ที่มีแอสปาร์เทมเป็นส่วนประกอบว่า "ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย ผลิตภัณฑ์นี้มีฟีนิลอะลานีน" ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ (ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ราว 1 คนต่อประชากร 100,000 คน)
อันตรายจากน้ำตาลเทียมชนิดดังกล่าว ข้อมูลประกอบจาก www.honestdocs.co
1.สารเคมีตกค้างทำให้ ก่อมะเร็ง
แอสปาร์เทมประกอบไปด้วยสารเคมีจำนวน 3 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก ฟีนิลอะลานีน และเมธานอล ซึ่งหากร่างกายได้รับสารเคมีเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ก็จะไม่สามารถกำจัดออกไปจากร่างกายได้หมด สุดท้ายอาจเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ และจะทำให้ DNA ภายในร่างกายเกิดความเสียหาย และอาจพัฒนาจนกลายเป็นความผิดปกติในเซลล์ และเป็นมะเร็งได้ในที่สุด
2. เป็นสาเหตุโรคอ้วน และเบาหวานทางอ้อม
จุดหมายของน้ำตาลเทียม คือการแทนที่การทานน้ำตาล เพื่อจะเลี่ยงโรคอ้วน และเบาหวานได้ แต่กลับกลายเป็นว่าแอสปาร์เทมเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็น 2 โรคนี้เสียเอง เพราะแอสปาร์เทมจะทำให้ร่างกายมีปริมาณการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติ และส่งผลให้ร่างกายยิ่งโหยหาความหวานจากน้ำตาลมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังวนเวียนกลับไปหาน้ำตาลแท้เหมือนเดิม อีกทั้งยังต้องการอาหารมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
3. เป็นสารที่อันตราย
ถึงแม้ว่าจะมีการอนุญาตให้ใช้น้ำตาลเทียมบริโภคอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนแล้ว แต่จากการทดลองกับสัตว์บางชนิด ก็ยังพบอาการข้างเคียงได้เช่น ชักอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
4. ท้องอืด ท้องเฟ้อ
แอสปาร์เทมเป็นน้ำตาลเทียม ที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงทำให้มันไปกองรวมกันอยู่ในลำไส้ใหญ่ และจะมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยแอสปาร์เทมได้ แต่จะผลิตก๊าซออกมาด้วย จึงทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อและถ่ายได้มากกว่าปกติ
5. มีอันตรายต่อสมอง
กรดแอสปาร์ติก ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในน้ำตาลเทียม ก็สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์สมองได้ และเมื่อมีปริมาณแคลเซียมในสมองมากๆ ก็ทำให้สมองได้รับอันตรายได้ อีกทั้งเซลล์สมองอาจมีความผิดปกติ อาจทำให้เกิดโรคลมบ้าหมู อัลไซเมอร์ และรวมไปถึงปลอกประสาทอักเสบ หรือต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติก็ได้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะออกมาต้านทานโดยมีงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่า แอสปาร์เทมจะไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ถูกกล่าวหา แต่อะไรก็ตามหากมากเกินไปก็ไม่ดีต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น
วิธีแก้ไขหลักๆ แล้วก็คือการแก้ไขที่ตนเองโดยอาจจะเริ่มต้นจากเล็กๆ น้อยๆ ก่อน เช่น ลดการบริโภคหวาน หรืองดเติมความหวานในอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสารให้ความหวานอย่างน้ำตาลเทียมเลยก็เป็นได้ เพราะถึงแม้ว่าน้ำตาลเทียมจะไม่ให้พลังงานแต่ก็มีผลทำให้ต่อมรับรส ทำให้เกิดความต้องการอยากจะกินหวานและทำให้เป็นคนติดหวานได้เช่นกัน