xs
xsm
sm
md
lg

ภัยเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม : ภาวะซึมเศร้าในเด็ก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วัยเด็กเป็นวัยที่สร้างความสดใส ร่าเริง สร้างสีสันให้กลับคนที่อยู่ใกล้ ทำให้บรรยากาศตอนนั้นน่าอยู่ ทำให้คนรอบข้างมีรอยยิ้มตลอดเวลา แต่ถ้ารอยยิ้มนั้นหายไปเพราะสาเหตุมาจากภาวะซึมเศร้าที่ทำให้พฤติกรรมของเด็กคนนั้นเปลี่ยนไป เนื่องจากเด็กมีการเรียนรู้ที่เร็ว และมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่ายเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่ได้ยิน หรือได้เห็น ซึ่งผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาบอกเกี่ยวกับปัจจัยของโรคซึมเศร้า และแนวทางการรักษา

ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ กล่าวว่า จะต้องแยกก่อนว่ามีภาวะซึมเศร้าแบบใด ภาวะซึมเศร้าถ้ายังไม่จัดการมันก็จะมีแนวโน้มเศร้าเป็นวันๆ เศร้ามากเป็น 1 อาทิตย์ หรือว่าเศร้าเป็น 3 อาทิตย์ แบบนี้ต้องให้จิตแพทย์ตรวจดู อาจจะมีจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคซึมเศร้า ในโรคซึมเศร้าก็จะมีหลายแบบอีก หรือโรคซึมเศร้าสุดๆ อย่างเดียว หรือโรคซึมเศร้าที่สลับกับร่าเริงเป็นอารมณ์สองขั้ว หรือโรคซึมเศร้าที่ทำให้ร่างกายมันอ่อนแอตามมาเป็นภาวะชุกของโรคซึมเศร้าในเด็กวัยเรียนไม่ว่าจะเป็นภาวะทางกาย แล้วก็มาซึมเศร้า หรือว่าซึมเศร้าอยู่แล้วมีปัญหาด้านบุคลิกภาพอันนี้ก็จะมาสัก 40% เรายังไม่จำแนกว่าเป็นซึมเสร้าประเภทใดเพราะว่าเด็กทุกคนเป็นภาวะซึมเศร้าได้ เพราะอารมณ์ของเด็กจะแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาขึ้นๆ ลงๆ โดยเฉพาะวัยรุ่น ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ไม่สามารถที่จะจัดการอารมณ์ปล่อยให้โมโหตลอดเวลา ปล่อยให้เศร้า ตำหนิเขายิ่งเศร้ายิ่งจำฝังใจ หรือปล่อยให้เขาคิดเองเออเอง กังวลตลอดเวลาแล้วเราไม่อ่านใจเขาเลยก็จะทำให้อารมณ์ของเขาสะสมไปเรื่อยๆจนมีฮอร์โมนอารมณ์ทางเพศ กับฮอร์โมนทางสุขน้อยลง เขาก็เริ่มจะมีบุคลิกภาพแปรปรวนมีแนวโน้ม และต้องให้จิตแพทย์วินิจฉัย

ในผู้ป่วยตัวอย่างซึมเศร้าที่ผ่านมา ผู้ป่วยตัวอย่างที่ซึมเศร้ามักจะเรียนแบบพฤติกรรมพ่อแม่ พ่อแม่เองก็จะมีปม ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งมันก็สะสมกันมาแบบนั้น เป็นไปได้ทางพันธุกรรมด้วย และอาจจะเป็นไปได้โดยสิ่งแวดล้อมที่มันเป็นนิสัย แบบไม่เคยรู้เลยว่าแก้ได้หรือไม่ได้มันเป็นปัจจัยที่สะสมความเครียดเชิงลบขึ้นมาเรื่อยๆ บวกกับอารมณ์เชิงลบมาเรื่อยๆ ซึ่งสองอันนี้ ทำให้คิดลบแล้วเขาก็ไม่อยากทำอะไร พอมันสะสมไปเรื่อยๆ สารเคมีในสมองก็เริ่มทำงานผิดปกติหรือบางคนก็อาจจะมีพันธุกรรมทางญาติที่เป็นซึมเศร้าด้วย

สาเหตุการเกิดภาวะการซึมเศร้าในเด็กเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ

1. ปัจจัยทางกาย เกิดจากสารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทบางอย่างไม่สมดุล โดยพบมีสารที่สื่อประสาทที่สำคัญ เช่น ซีโรโทนิ และนอร์เอพิเนฟริน ลดต่ำลงหรือสารเหตุด้านกรรมพันธุ์โดยเฉพาะมีคนในครอบครัวมีภาวะนี้มาก่อน

2. ปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียดจากการเรียนจนเด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง หมดกำลังใจ รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง หรือถูกเพื่อนแกล้ง ถูกปฏิเสธจากกลุ่มเพื่อน ถูกครูตำหนิกดดัน และการเลี้ยงดูที่เข้มงวดเกินไปเด็กไม่สามารถแสดงออกสิ่งที่ต้องการได้ต้องเชื่อฟังพ่อแม่เท่านั้น และมีการตั้งระเบียบกฎเกณฑ์มากเกินไปโดยไม่รับฟังความคิดเห็นของลูก ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เด็กจะแสดงพฤติกรรมออกมาในเด็กวัยรุ่นจะเป็นการสะสมอารมณ์ในรูปแบบที่เป็นลบแล้วแต่ว่าเขาจะแสดงออกมายังไงแต่ในเด็กที่เป็นวัยเรียนก็จะเริ่มจากเขาไม่อยากทำอะไร ขี้เกลียดเรียนขี้เกลียดเล่น แล้วก็เริ่มไม่สนใจอะไรนอนเยอะๆ แล้วก็ไม่ส่าใครจะชมอะไรเขาก็จะรู้สึกไม่มีพลังทำอะไรเลย แต่ถ้าเป็นใครเด็กวัยรุ่นก็จะต่างกันหน่อย คือเขาก็จะเริ่มไม่พูดกับใคร ไม่อยากเรียนหนังสือจะหาเหตุผลอ้างไปว่าไม่อยากเรียนเพราะอะไร เพราไม่ชอบครู ไม่ชอบเพื่อน แล้วตัวเองก็รู้สึกแบบไม่มีความภาคภูมิใจเลยเขาก็จะบ่นๆมา หรือบางที่ก็จะเขียนภาพอะไรแปลกๆ ให้เราเห็น แต่ถ้าเป็นโรคซึมเศร้าสุดๆ มันมีน้ำหนักลด มีคล้ายเป็นหลุมดำก็คือเขาจะแยกตัวเลย สีหน้า ท่าทางแยก จะดูซึมและเศร้าจริงๆ แล้วก็เขาจะไม่เรียกร้องอะไรเพราะเขาไม่อยากพูดกับใคร แค่นี้คุณพ่อ คุณแม่ก็น่าจะสังเกตให้เร็วมากกว่าเดิม เพราะมันเกิดไวมาก แค่การไม่ไปเรียน การกลัวการไปเรียน การนอนเยอะๆ การขี้เกลียดทำงาน การไม่สนใจ ก็เป็นอะไรที่น่าระวังอยู่แล้ว



จากปัจจัยข้างต้น ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง กล่าวต่อว่า เมื่อตรวจพบว่าเด็กกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแพทย์จะรักษาโดยการให้กินยาต้านอารมณ์เศร้าติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ปีร่วมกับการทำจิตบำบัดให้เด็กปรับความคิดจากด้านลบกลับสู่ด้านบวกร่วมถึงการพยายามปรับทัศนคติของคนรอบข้างเด็กด้วยให้เข้าใจตรงกันเพื่อเป็นการฟื้นฟูและหากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อความกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนอื่นๆ

จริงๆ แล้วตัวเด็กเขารู้ว่าตัวเองว่าเป็นโรคซึมเศร้า แต่ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะไว้ใจบอกใครเท่านั้นเอง เราก็ต้องสร้างสัมพันธภาพให้ดีที่สุด ให้เร็วที่สุด เท่านั้นเอง เขาจะเลือกบอกคนๆนั้น วิธีการดูเหมือนยากแต่มันไม่ยากอย่างที่เข้าใจแค่เพียงว่า รับฟังเขา ภายใน 30 นาทีรับฟังเขาอยู่นึ่งๆ มีอะไรไม่สบายใจเล่ามาเลย เราจะไม่บอกใคร ถ้าเค้านิ่งๆ ไปสัก 5 นาที มาเรามาช่วยกันวาดรูปไหมรู้สึกอะไรก็วาด เอาใหม่ไหนลองขยับตาดูเพราะตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ขยับตาดูหลายๆทิศทาง ลองหลับตาเห็นภาพอะไรไหมต้องใช้ทุกศาสตร์ทุกศิลป์มาทำให้เขาสื่อภาษากายออกมา พอภาษากายออกมาอารมณ์ก็ออกมา หรือถ้า 20 นาทียังไม่ได้อีกมาเดินเล่นกันแล้วตะโกนดังๆ เลย เสียงออกมาก็เริ่มคลีคลายให้อารมณ์ออกมาได้แล้ว เพียงแต่ว่ายุทธวิธีจะต้องค่อยๆ เรียนรู้กันระหว่างพ่อแม่และนักกิจกรรมบำบัดและก็ตัวน้องเขาด้วย ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะต้องมีวิธีการรักษาตามอาการของเด็ก แต่ก็ไม่ง่ายเพราะจะต้องเข้าใจว่าเขาซึมเศร้าจากอะไรอันแรกเลยนักกิจกรรมจะต้องสร้างสัมพันธภาพด้วยการที่แบบรู้ใจเขารู้ภาษากายเขารู้ว่าตอนนี้เขาคิดอะไร เขาวาดรูปกับเราเขาวาดรูปตัวเขาเป็นอะไร แล้วเขาชอบอะไรเป็นพิเศษ

อย่างผู้ป่วยตัวอย่างของผมเขาชอบเล่นดนตรีมากๆ แต่เพราะเขาไม่มีเพื่อน เขาอยู่กับคุณแม่เท่านั้นไม่ได้อยู่กับคุณพ่อเขาเลยไม่มีต้นแบบ เขาอยากเล่นกีตาร์ แต่คุณแม่ไม่มีเวลาไม่ฟังเขาเขาก็ไม่รู้จะเล่นกับใคร เพราะฉะนั้นก็ต้องเรียกคุณแม่มาลองสร้างบรรยากาศให้เป็นบวก แล้วลองฝึกนะ ลองให้โอกาสเขาได้เล่นกีตาร์ดูเล่น ถูกๆ ผิดๆ ก็ให้เขาลองเล่นดู แล้วก็ชมเขา ในวันนั้นเราใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงเลยนะ จากที่เขาเล่นไม่เป็นเลยจนเขาเล่นได้ เขาแอบเล่นจาอินเตอร์เน็ตบ้าง ก็ทำเลยทำเหมือนอยู่บ้านเลย แม้กระทั่งอยู่คลินิกเรา คุณแม่ก็มานั่งฟัง คุณแม่ร้องเพลงไปด้วยได้ไหม แล้วตอนนาทีที่ 30 ของชั่วโมงที่ 4 ก็ให้เขาลองจัดเป็นคอนเสิร์ทดู ลองเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะว่าซึมเศร้าเล่นแบบไม่มีอารมณ์ เราก็ต้องบอกเขาว่าอารมณ์แบบนี้นะ อาจจะต้องใช่ละครสื่อสารเข้ามาช่วยด้วย 


โดยการฟื้นฟูจิตใจของลูกนั้น ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง กล่าวว่า การฟื้นฟูจิตใจของลูกจะแบ่งเป็นช่วงวัย ในช่วงขวบแรก - 3 ขวบ พ่อแม่จะต้องเป็นต้นแบบที่ดี คิดบวกอารมณ์ดี แล้วก็ทำสิ่งดีๆ ให้ลุกเห็นอาจจะลองเป็นจิตอาสาให้ลูกเห็นไหมอาจจะลองชวนลุกไปทำในสิ่งที่เราทำแล้วรู้สึกภาคภูมิใจว่าได้ช่วยเหลือคนอื่น เพราะในการทำเป็นต้นแบบที่ดี เซลล์กระจกเงาที่อยู่สมองส่วนหน้าจะเป็นต้นแบบและให้เขาจำภาพได้ ภาพต้นแบบที่ดีของพ่อแม่เขาก็จำอยากทำตาม

เด็ก 3-5ขวบ เขาก็จะต้องแบบได้รับแรงบวกเยอะๆ ให้กำลังใจแต่ได้ใช้ให้กำลังใจด้วยวัสดุสิ่งของนะ ให้กำลังใจด้วยการกอดลูกชมลูกจริงใจแล้วก็ให้ลูกเรียนรู้กับเพื่อนของเขามันจะทำให้การสื่อสารในสังคมดีขึ้นมากๆ

นอกจากนี้ ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง กล่าวเสริมอีกว่า เมื่อใดก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตภาษากายว่าเขาเปลี่ยนไปให้ทบทวนตัวเองว่าตัวเองนั้นมีภาวะซึมหรือเศร้าอย่างไร ตลอกการที่เลี้ยงดูลูกมาซึมเศร้าอย่างไรลูกก็จะซึมซับซึมและเศร้าแบบนั้นได้เหมือนกันเพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ของให้มีสติ ทั้งเพื่อน พ่อแม่ ครู รอบข้างรวมทั้งนักบำบัดด้วย จะต้องเข้าใจเขา เปลี่ยนบทบาทให้เร็วไม่ใช่เราเป็นผู้บำบัดและใส่เสื้อกราวน์ แต่คือมนุษย์คนหนึ่งเหมือนพี่เขาจะต้องรู้เอาใจเขามาใส่ใจเราตรงนี้มันจะช่วยเยี่ยวยาได้ดีขึ้น ซึ่งบางครั้งพ่อแม่มีพฤติกรรมบางอย่างส่งผลให้ลูกเครียดและมีภาวะซึมเศร้าได้ อาจคาดหวังในตัวลูกสูงเกินไปเลี้ยงดูลูกเคร่งครัด หรือพ่อแม่มีปากเสียงกันบ่อยๆ เมื่อเด็กต้องอยู่ในแวดล้อมแบบนี้ก็ย่อมส่งผลเสียต่อเขาได้ง่าย เพราะฉะนั้นหากพ่อแม่ใส่ใจมอบความรักความอบอุ่นให้กับลูกสภาพจิตใจก็จะดีขึ้นและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อีกมากมายที่รออยู่ข้างหน้า

ขอบคุณข้อมูล : รายการ Miracle kids มูลนิธิเด็ก ออกอากาศในวันเสาร์ เวลา 13.00 -14.00 น.ทางช่อง True 367 และวันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 10.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ NEWS1 กล่องสัญญาณ IPM ช่อง 64 
(เรียบเรียงเนื้อหา : ธัญลักษณ์ อุ่มเจริญ)

กำลังโหลดความคิดเห็น