By: Pharmchompoo
อาการซีดหรือภาวะซีดเป็นอาการแสดงความผิดปกติของร่างกาย เมื่อร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง หรือมีความเข้มข้นของ “ฮีโมโกลบิน” ลดลง หรือทั้งสองอย่าง
อาการซีดเป็นอาการแสดงปลายทางของภาวะที่เป็นสาเหตุ ดังนั้น การรักษาภาวะซีด จึงต้องเป็นการรักษาที่ต้นเหตุของอาการซีด

เมื่อไหร่จึงเรียกว่าซีด??
อาการซีดอาจสามารถดูได้คร่าวๆ ด้วยตาเปล่า หรือคนที่มีอาการซีดเอง อาจจะรับรู้ได้ถึงความผิดปกติในร่างกายตนเอง เช่น
รู้สึกเหนื่อย หรือเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ จากเดิมที่อาจจะไม่เคยเหนื่อยง่ายอย่างนี้มาก่อน เหตุผลเป็นเพราะการนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกายโดยเม็ดเลือดแดงลดลง
อาจมีคนทักว่า ดูซีด หรือเหลือง มากกว่าเดิม อันนี้ก็เป็นเกณฑ์ที่บอกได้คร่าว ๆ แต่ยังไม่ใช่เกณฑ์ที่เชื่อถือได้
ใจสั่น เนื่องมาจากหัวใจต้องทำงานชดเชยกับปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงร่างกายที่ลดลง ด้วยการบีบตัวไล่เลือดไปให้บ่อยขึ้น โดยทั่วไป อาการซีดที่เรื้อรังจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ (โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจอยู่เดิม)
หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ เนื่องจากต้องหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกายเพิ่มขึ้น จากการที่เม็ดเลือดแดงนำพาออกซิเจนไปได้ลดลง
เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม เนื่องจากออกซิเจนถูกนำพาไปสู่เซลล์โดยฮีโมโกลบินได้ลดลง
อาการซีดอย่างเฉียบพลัน โดยมากมักจะเกิดจากการเสียเลือดอย่างเฉียบพลัน (acute blood loss) เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ที่ไมได้เลือดทดแทนทันเวลา ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติอย่างรวดเร็ว เช่น ใจสั่น ความดันเลือดตก โคม่า และเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่นาน
อาการซีดเรื้อรัง โดยมากจะเกิดจากการเสียเลือดปริมาณน้อย ๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น การมีพยาธิในร่างกาย ภาวะซีดจากภาวะทุพโภชนาการ ผู้ป่วยมักจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป อาการวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น หน้ามืด อาจจะไม่พบบ่อย (เพราะร่างกายค่อย ๆ ปรับตัวให้เข้ากับการลดลงของฮีโมโกลบิน) หรือไม่พบ ณ เวลาปกติ แต่อาการอาจมีมากขึ้นเมื่อออกแรง หรือตื่นเต้น
การวินิจฉัยภาวะซีดที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด คือการตรวจเลือดแบบครบส่วน (complete blood count; CBC) โดยดูไปที่ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (hemoglobin; Hb) ฮีมาโตคริต (hematocrit; Hct) นอกจากนั้นยังอาจดูลักษณะของเม็ดเลือดแดงโดยตรงจากฟิล์มเลือด (blood smear) โดยผู้เชี่ยวชาญจะมองหาเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ ที่บ่งบอกความผิดปกติและสาเหตุเบื้องต้นของภาวะซีด เช่น การหาเม็ดเลือดแดงที่ขนาดใหญ่กว่าปกติ (macrocytic cell) เม็ดเลือดแดงที่เล็กกว่าปกติ (microcytic cell) เม็ดเลือดแดงที่ติดสีจาง (hypochromic) เป็นต้น

อะไรทำให้ซีด?
เนื่องจากขั้นตอนการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน อาศัยสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ มากมาย เช่น กรดอะมิโน ธาตุเหล็ก วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 กรดโฟลิก การขาดสารอาหารจึงเป็นสาเหตุหลักแรกๆ ของภาวะซีด โดยเฉพาะภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) หรืออาการซีดจากการขาดกรดโฟลิกซึ่งพบบ่อยในผู้ที่ไม่ได้กินผัก หรือโรคทางระบบเลือดบางอย่างที่มีผลต่อการสร้าง/สังเคราะห์ฮีโมโกลบิน
ซีดแล้วซื้อวิตามินมากินเองเลยได้ไหม?
หลายคนทราบว่า ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทุกคนก็มักจะให้คนที่ซีดกินผัดตับ หรือต้มเลือดหมู มากขึ้น หรือซื้อยาบำรุงเลือดมากินเอง ซึ่งมีส่วนที่อาจจะต้องทำความเข้าใจ ดังนี้
* ภาวะซีด เป็นอาการแสดงปลายทางของความผิดปกติ
ดังที่กล่าวแล้ว มีหลายสาเหตุมาก ดังนั้นจำเป็นจะต้องหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น เช่นซีดจากการมีพยาธิปากขอ ก็ต้องถ่ายพยาธิให้หมดก่อนแล้วค่อยมารักษาอาการซีด หรือซีดจากการมีเลือดออกในทางเดินอาหารก็ต้องหาสาเหตุของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารก่อน เป็นต้น
* ภาวะซีดไม่จำเป็นต้องเกิดจากการขาดธาตุเหล็กเสมอไป
จำเป็นต้องเจาะเลือด เพื่อให้ทราบชนิดประเภทของการซีด ก่อนที่จะแก้ไขปัญหาได้ การให้ยาธาตุเหล็กเสริมไปก่อนโดยไม่มีการวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะทำให้เป็นอันตรายในระยะยาวได้ เช่น ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะซีดที่มีภาวะเหล็กมากเกินอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว การกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กนอกจากจะไม่ช่วยให้อาการซีดหายไป แต่จะทำให้เหล็กยิ่งสะสมในร่างกายมากขึ้นจนเป็นอันตรายได้
* การขาดโปรตีนก็ทำให้ซีดได้ หรือการขาดกรดโฟลิก (เพราะไม่กินผัก) ก็ทำให้ซีด การขาดวิตามินบี 12 (ในผู้ที่กินมังสะวิรัติแบบเข้มงวด) ก็ทำให้ซีดได้
* ผู้ที่มีปัญหาภาวะพิษตะกั่วเรื้อรัง อาการซีดเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะรูปร่างเม็ดเลือดแดงที่เปลี่ยนไปด้วย
แล้วหากซีดแบบที่ต้องกินธาตุเหล็กแล้วล่ะจะทำอย่างไร?
ถ้าแน่ใจแล้วว่า ซีดจากการขาดธาตุเหล็กจริง ๆ วิธีการกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กให้ได้ผลควรทำ ดังนี้
* อันที่จริงเหล็กจะถูกดูดซึมได้ดีขณะท้องว่าง แต่ ! …. จะระคายเคืองท้องอย่างมาก บางคนท้องไส้ปั่นป่วนคลื่นเหียนอาเจียนจนพาลอยากเลิกกิน แนะนำว่าให้กินพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที
* น้ำส้ม หรือผลไม้ที่มีวิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เพราะวิตามินซีจะช่วยเปลี่ยนธาตุเหล็กที่กินเข้าไปให้อยู่ในรูปที่ดูดซึมง่าย การกินน้ำส้มคั้นหรือส้มสักลูกหลังมื้อที่กินธาตุเหล็กก็เป็นไอเดียที่ไม่เลว
* ห้ามกินธาตุเหล็กร่วมกับนม หรือแคลเซียมแบบเม็ด หรืออาหารสูตรที่เสริมแคลเซียมสูง ๆ เพราะมันจะแย่งกันดูดซึม ให้แยกกินคนละมื้ออาหารไปเลย
* กินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กไปสักพักอาจจะมีอาการถ่ายดำไม่ต้องตกใจ เพราะเหล็กส่วนที่ไม่ถูกดูดซึม จะขับออกทางอุจจาระ แต่หากหยุดกินนานแล้วสีอุจจาระยังดำควรพบแพทย์
* บางคนกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กแล้วท้องผูก อาจจะต้องปรับพฤติกรรม เช่น ดื่มน้ำมากขึ้น กินอาหารที่มีกากไยมากขึ้น
* ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก ต้องใช้ระยะเวลาในการกินนาน ขึ้นกับสภาวะความซีดดั้งเดิม เพราะต้องกินเพื่อให้เหล็กกลับไปสะสมที่ตับด้วย บางรายอาจจะต้องกินเป็นปี จึงจะเห็นผล
ภาวะซีดแก้ไขได้ หากสังเกตและปรึกษาแพทย์
อาการซีดหรือภาวะซีดเป็นอาการแสดงความผิดปกติของร่างกาย เมื่อร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง หรือมีความเข้มข้นของ “ฮีโมโกลบิน” ลดลง หรือทั้งสองอย่าง
อาการซีดเป็นอาการแสดงปลายทางของภาวะที่เป็นสาเหตุ ดังนั้น การรักษาภาวะซีด จึงต้องเป็นการรักษาที่ต้นเหตุของอาการซีด
เมื่อไหร่จึงเรียกว่าซีด??
อาการซีดอาจสามารถดูได้คร่าวๆ ด้วยตาเปล่า หรือคนที่มีอาการซีดเอง อาจจะรับรู้ได้ถึงความผิดปกติในร่างกายตนเอง เช่น
รู้สึกเหนื่อย หรือเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ จากเดิมที่อาจจะไม่เคยเหนื่อยง่ายอย่างนี้มาก่อน เหตุผลเป็นเพราะการนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกายโดยเม็ดเลือดแดงลดลง
อาจมีคนทักว่า ดูซีด หรือเหลือง มากกว่าเดิม อันนี้ก็เป็นเกณฑ์ที่บอกได้คร่าว ๆ แต่ยังไม่ใช่เกณฑ์ที่เชื่อถือได้
ใจสั่น เนื่องมาจากหัวใจต้องทำงานชดเชยกับปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงร่างกายที่ลดลง ด้วยการบีบตัวไล่เลือดไปให้บ่อยขึ้น โดยทั่วไป อาการซีดที่เรื้อรังจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ (โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจอยู่เดิม)
หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ เนื่องจากต้องหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกายเพิ่มขึ้น จากการที่เม็ดเลือดแดงนำพาออกซิเจนไปได้ลดลง
เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม เนื่องจากออกซิเจนถูกนำพาไปสู่เซลล์โดยฮีโมโกลบินได้ลดลง
อาการซีดอย่างเฉียบพลัน โดยมากมักจะเกิดจากการเสียเลือดอย่างเฉียบพลัน (acute blood loss) เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ที่ไมได้เลือดทดแทนทันเวลา ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติอย่างรวดเร็ว เช่น ใจสั่น ความดันเลือดตก โคม่า และเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่นาน
อาการซีดเรื้อรัง โดยมากจะเกิดจากการเสียเลือดปริมาณน้อย ๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น การมีพยาธิในร่างกาย ภาวะซีดจากภาวะทุพโภชนาการ ผู้ป่วยมักจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป อาการวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น หน้ามืด อาจจะไม่พบบ่อย (เพราะร่างกายค่อย ๆ ปรับตัวให้เข้ากับการลดลงของฮีโมโกลบิน) หรือไม่พบ ณ เวลาปกติ แต่อาการอาจมีมากขึ้นเมื่อออกแรง หรือตื่นเต้น
การวินิจฉัยภาวะซีดที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด คือการตรวจเลือดแบบครบส่วน (complete blood count; CBC) โดยดูไปที่ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (hemoglobin; Hb) ฮีมาโตคริต (hematocrit; Hct) นอกจากนั้นยังอาจดูลักษณะของเม็ดเลือดแดงโดยตรงจากฟิล์มเลือด (blood smear) โดยผู้เชี่ยวชาญจะมองหาเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ ที่บ่งบอกความผิดปกติและสาเหตุเบื้องต้นของภาวะซีด เช่น การหาเม็ดเลือดแดงที่ขนาดใหญ่กว่าปกติ (macrocytic cell) เม็ดเลือดแดงที่เล็กกว่าปกติ (microcytic cell) เม็ดเลือดแดงที่ติดสีจาง (hypochromic) เป็นต้น
อะไรทำให้ซีด?
เนื่องจากขั้นตอนการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน อาศัยสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ มากมาย เช่น กรดอะมิโน ธาตุเหล็ก วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 กรดโฟลิก การขาดสารอาหารจึงเป็นสาเหตุหลักแรกๆ ของภาวะซีด โดยเฉพาะภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) หรืออาการซีดจากการขาดกรดโฟลิกซึ่งพบบ่อยในผู้ที่ไม่ได้กินผัก หรือโรคทางระบบเลือดบางอย่างที่มีผลต่อการสร้าง/สังเคราะห์ฮีโมโกลบิน
ซีดแล้วซื้อวิตามินมากินเองเลยได้ไหม?
หลายคนทราบว่า ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทุกคนก็มักจะให้คนที่ซีดกินผัดตับ หรือต้มเลือดหมู มากขึ้น หรือซื้อยาบำรุงเลือดมากินเอง ซึ่งมีส่วนที่อาจจะต้องทำความเข้าใจ ดังนี้
* ภาวะซีด เป็นอาการแสดงปลายทางของความผิดปกติ
ดังที่กล่าวแล้ว มีหลายสาเหตุมาก ดังนั้นจำเป็นจะต้องหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น เช่นซีดจากการมีพยาธิปากขอ ก็ต้องถ่ายพยาธิให้หมดก่อนแล้วค่อยมารักษาอาการซีด หรือซีดจากการมีเลือดออกในทางเดินอาหารก็ต้องหาสาเหตุของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารก่อน เป็นต้น
* ภาวะซีดไม่จำเป็นต้องเกิดจากการขาดธาตุเหล็กเสมอไป
จำเป็นต้องเจาะเลือด เพื่อให้ทราบชนิดประเภทของการซีด ก่อนที่จะแก้ไขปัญหาได้ การให้ยาธาตุเหล็กเสริมไปก่อนโดยไม่มีการวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะทำให้เป็นอันตรายในระยะยาวได้ เช่น ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะซีดที่มีภาวะเหล็กมากเกินอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว การกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กนอกจากจะไม่ช่วยให้อาการซีดหายไป แต่จะทำให้เหล็กยิ่งสะสมในร่างกายมากขึ้นจนเป็นอันตรายได้
* การขาดโปรตีนก็ทำให้ซีดได้ หรือการขาดกรดโฟลิก (เพราะไม่กินผัก) ก็ทำให้ซีด การขาดวิตามินบี 12 (ในผู้ที่กินมังสะวิรัติแบบเข้มงวด) ก็ทำให้ซีดได้
* ผู้ที่มีปัญหาภาวะพิษตะกั่วเรื้อรัง อาการซีดเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะรูปร่างเม็ดเลือดแดงที่เปลี่ยนไปด้วย
แล้วหากซีดแบบที่ต้องกินธาตุเหล็กแล้วล่ะจะทำอย่างไร?
ถ้าแน่ใจแล้วว่า ซีดจากการขาดธาตุเหล็กจริง ๆ วิธีการกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กให้ได้ผลควรทำ ดังนี้
* อันที่จริงเหล็กจะถูกดูดซึมได้ดีขณะท้องว่าง แต่ ! …. จะระคายเคืองท้องอย่างมาก บางคนท้องไส้ปั่นป่วนคลื่นเหียนอาเจียนจนพาลอยากเลิกกิน แนะนำว่าให้กินพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที
* น้ำส้ม หรือผลไม้ที่มีวิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เพราะวิตามินซีจะช่วยเปลี่ยนธาตุเหล็กที่กินเข้าไปให้อยู่ในรูปที่ดูดซึมง่าย การกินน้ำส้มคั้นหรือส้มสักลูกหลังมื้อที่กินธาตุเหล็กก็เป็นไอเดียที่ไม่เลว
* ห้ามกินธาตุเหล็กร่วมกับนม หรือแคลเซียมแบบเม็ด หรืออาหารสูตรที่เสริมแคลเซียมสูง ๆ เพราะมันจะแย่งกันดูดซึม ให้แยกกินคนละมื้ออาหารไปเลย
* กินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กไปสักพักอาจจะมีอาการถ่ายดำไม่ต้องตกใจ เพราะเหล็กส่วนที่ไม่ถูกดูดซึม จะขับออกทางอุจจาระ แต่หากหยุดกินนานแล้วสีอุจจาระยังดำควรพบแพทย์
* บางคนกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กแล้วท้องผูก อาจจะต้องปรับพฤติกรรม เช่น ดื่มน้ำมากขึ้น กินอาหารที่มีกากไยมากขึ้น
* ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก ต้องใช้ระยะเวลาในการกินนาน ขึ้นกับสภาวะความซีดดั้งเดิม เพราะต้องกินเพื่อให้เหล็กกลับไปสะสมที่ตับด้วย บางรายอาจจะต้องกินเป็นปี จึงจะเห็นผล
ภาวะซีดแก้ไขได้ หากสังเกตและปรึกษาแพทย์
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |