แน่นอนว่าหลายๆ คนที่เคยไปใช้บริการสระว่ายน้ำ คงจะต้องแอบปล่อยปัสสาวะลงสู่สระบ้างไม่มากก็น้อย เพราะยังมีความเชื่อที่ว่า สระว่ายน้ำคงปลอดภัยและสะอาดน่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นแน่ๆ แต่หากให้ลงลึกถึงในรายละเอียด รู้หรือไม่ว่า การกระทำดังกล่าวนั้น นอกจากผิดแล้ว อาจจะทำให้เกิดเชื้อโรคที่ตามมาอีกด้วย

ส่วนผสมปัสสาวะในสระ
รู้หรือไม่ว่า กรดยูริคที่อยู่ในปัสสาวะของมนุษย์นั้น เมื่อได้มาผสมกับคลอรีนที่อยู่ในสระว่ายน้ำ จะก่อให้เกิดสารเคมีชนิดใหม่ที่เรียกว่า ไซยาโนเจน คลอไรต์ ซึ่งเป็นสารเคมีตระกูลเดียวกันกับสารไซยาไนต์ ซึ่งสารดังกล่าว มักจะถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมที่ใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์ แก๊สพิษในทางการทหาร อนุพันธ์เบนซิน รวมไปถึงเป็นส่วนประกอบในแก๊สรมฆ่าแมลง
ผลอันตรายของ ไซยาโนเจน คลอไรต์
หากใครก็ตามได้สัมผัสสารดังกล่าวผ่านทางระบบหายใจ (เข้าปากหรือจมูก) หรือผ่านทางผิวหนังต่างๆ (เข้าทางตา) อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองทั้งตา จมูก และระบบทางเดินหายใจ ขณะเดียวกัน อาจจะก่อให้เกิดอาการชีพจรเต้นเร็ว หายใจ หรือเร็วกว่าผิดปกติ (ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารที่ร่างกายรับเข้าไป) อ่อนแรง ปวดศีรษะ มึนงง สับสน คลื่นไส้ และอาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใครที่ใช้บริการสระว่ายน้ำที่มีสารดังกล่าวเป็นประจำนั้น อาจจะมีอาการเรื้อรัง เช่น เยื่อบุตาอักเสบ หนังตาบวม ไปจนถึงเสียงแหบได้
ซึ่งแม้ว่าปริมาณของไซยาโนเจน คลอไรต์ ที่พบในสระว่ายน้ำอาจจะไม่ได้เข้มข้นมากนัก แต่ในอีกทางหนึ่งก็ต้องเผื่อไปถึงโอกาสที่จะมีการแพ้สารชนิดนี้อย่างรุนแรงด้วย

อันตรายจากสระว่ายน้ำปกติ
แม้ว่าสระว่ายน้ำบางแห่งจะมีการเปลี่ยนน้ำบ่อยก็ตามที แต่ด้วยปริมาณของคลอรีน (ที่เราอาจจะประมาณไม่ได้ว่าเยอะแค่ไหน) หากใครมีอาการแพ้คลอรีน อาจจะมีอาการติดเชื้อได้ โดยสามารถติดได้ทั้งทางช่องคลอด ตรงบริเวณเยื่อบุปากช่องคลอด ซึ่งจะมีอาการแสบ เมื่อได้สัมผัสกับปัสสาวะตนเองหลังจากขึ้นมาจากสระว่ายน้ำ อาจจะทำให้เกิดภาวะมีพยาธิในช่องคลอด เชื้อรา หนองใน หรือเชื้อโรคต่างๆ จากผู้ที่เล่นน้ำด้วยกัน แถมยังมีโอกาสที่จะรับเชื้อรคผ่านสู่ปาก เช่น โรคท้องร่วง หรือ ตับอักเสบ ได้
นอกจากนี้หากได้รับบาดแผลจากเศษกระเบื้องในสระว่ายน้ำ อาจจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง คล้ายแผลที่เกิดเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นแผลที่ค่อนข้างหายยากอีกด้วย
ส่วนผสมปัสสาวะในสระ
รู้หรือไม่ว่า กรดยูริคที่อยู่ในปัสสาวะของมนุษย์นั้น เมื่อได้มาผสมกับคลอรีนที่อยู่ในสระว่ายน้ำ จะก่อให้เกิดสารเคมีชนิดใหม่ที่เรียกว่า ไซยาโนเจน คลอไรต์ ซึ่งเป็นสารเคมีตระกูลเดียวกันกับสารไซยาไนต์ ซึ่งสารดังกล่าว มักจะถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมที่ใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์ แก๊สพิษในทางการทหาร อนุพันธ์เบนซิน รวมไปถึงเป็นส่วนประกอบในแก๊สรมฆ่าแมลง
ผลอันตรายของ ไซยาโนเจน คลอไรต์
หากใครก็ตามได้สัมผัสสารดังกล่าวผ่านทางระบบหายใจ (เข้าปากหรือจมูก) หรือผ่านทางผิวหนังต่างๆ (เข้าทางตา) อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองทั้งตา จมูก และระบบทางเดินหายใจ ขณะเดียวกัน อาจจะก่อให้เกิดอาการชีพจรเต้นเร็ว หายใจ หรือเร็วกว่าผิดปกติ (ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารที่ร่างกายรับเข้าไป) อ่อนแรง ปวดศีรษะ มึนงง สับสน คลื่นไส้ และอาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใครที่ใช้บริการสระว่ายน้ำที่มีสารดังกล่าวเป็นประจำนั้น อาจจะมีอาการเรื้อรัง เช่น เยื่อบุตาอักเสบ หนังตาบวม ไปจนถึงเสียงแหบได้
ซึ่งแม้ว่าปริมาณของไซยาโนเจน คลอไรต์ ที่พบในสระว่ายน้ำอาจจะไม่ได้เข้มข้นมากนัก แต่ในอีกทางหนึ่งก็ต้องเผื่อไปถึงโอกาสที่จะมีการแพ้สารชนิดนี้อย่างรุนแรงด้วย
อันตรายจากสระว่ายน้ำปกติ
แม้ว่าสระว่ายน้ำบางแห่งจะมีการเปลี่ยนน้ำบ่อยก็ตามที แต่ด้วยปริมาณของคลอรีน (ที่เราอาจจะประมาณไม่ได้ว่าเยอะแค่ไหน) หากใครมีอาการแพ้คลอรีน อาจจะมีอาการติดเชื้อได้ โดยสามารถติดได้ทั้งทางช่องคลอด ตรงบริเวณเยื่อบุปากช่องคลอด ซึ่งจะมีอาการแสบ เมื่อได้สัมผัสกับปัสสาวะตนเองหลังจากขึ้นมาจากสระว่ายน้ำ อาจจะทำให้เกิดภาวะมีพยาธิในช่องคลอด เชื้อรา หนองใน หรือเชื้อโรคต่างๆ จากผู้ที่เล่นน้ำด้วยกัน แถมยังมีโอกาสที่จะรับเชื้อรคผ่านสู่ปาก เช่น โรคท้องร่วง หรือ ตับอักเสบ ได้
นอกจากนี้หากได้รับบาดแผลจากเศษกระเบื้องในสระว่ายน้ำ อาจจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง คล้ายแผลที่เกิดเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นแผลที่ค่อนข้างหายยากอีกด้วย