ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นโรคที่นับว่าร้ายแรงและคร่าชีวิตคนจำนวนมากทั่วโลก และแม้แต่ประเทศไทยเองก็ต้องเผชิญภัยคุกคามจากโรคดังกล่าวนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีข้อมูลกล่าวไว้ว่านอกจากพันธุกรรมแล้ว ก็ยังประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆ ในชีวิตที่เราอาจจะหลีกไม่พ้น ทั้งการรับประทานอาหาร ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต สภาพแวดล้อมอะไรต่างๆ ก็สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ และเหตุนี้เองจึงมีข้อมูลว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้เองทางแพทยสมาคมก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และอยากให้ประชาชนคนไทยตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวให้มากขึ้น ทางศาสตราจารย์นายแพทย์สารเนตร์ ไวคกุล นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงเป็นตัวแทนมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคมะเร็งผ่านทาง Good Health & Well Be-ing
• อยากถามถึงสถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้หน่อยค่ะ
ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งค่อนข้างมากทีเดียว ประมาณการณ์ว่ามีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอยู่ในระยะต่างๆ ประมาณ 500,000 คน แล้วผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งมีประมาณเกือบ 20,000 คนต่อปี ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวเลขประมาณการณ์คร่าวๆ เนื่องจากการลงรายงานนั้นผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะใช้คำว่า เสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคอวัยวะที่สำคัญ แต่ในผู้ป่วยจำนวนนี้มีไม่น้อยเลยที่เป็นโรคมะเร็ง
การเกิดโรคมะเร็งที่จริงแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงให้ความเห็นไว้ตั้งแต่ 2,600 ปีมาแล้วว่า ทุกอย่างเกิดด้วยเหตุและปัจจัย คนเราทุกคนจะมีพันธุกรรมอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ภาษาทางด้านการแพทย์จะใช้คำว่า อองโคยีน (Oncogene) หรือพันธุกรรมที่ทำให้เกิดมะเร็ง ซึ่งอันนี้เราคงไปทำอะไรไม่ได้ แต่ปัจจัยที่ประกอบแล้วทำให้เป็นโรคตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภว่าทุกอย่างเกิดด้วยเหตุและปัจจัย
• แล้วมีปัจจัยใดที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งบ้างเหรอคะ
ปัจจัยที่สำคัญที่แพทยสมาคมเพ่งเล็งอยู่ก็คือ
1. การสูบบุหรี่ ซึ่งบุหรี่จะเป็นตัวกระตุ้นให้พันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งทำงาน และบุหรี่จะไปยับยั้งไม่ให้พันธุกรรมซึ่งทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากมะเร็งทำงาน ง่ายๆ คือเป็นการทำลายตัวช่วยและไปกระตุ้นตัวร้ายที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งขึ้นมา
2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ หรืออะไรต่างๆ แม้แต่สุราที่ทำในพื้นบ้านก็ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
3. สารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปรตีนซึ่งด้อยคุณภาพถูกเผาไหม้ หรือไขมันที่ถูกเผาไหม้ ยกตัวอย่างเช่น หมูสะเต๊ะ เนื้อสะเต๊ะ หรือไก่สะเต๊ะ ลองดูสิครับว่าถ้ามันไหม้มากๆ มันจะมีไขมันที่ถูกเผาไหม้จนเกรียม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสารก่อมะเร็งทั้งนั้น และทั้งนี้ในการเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืชต่างๆ ก็จะมีการใช้สารต่างๆ มากมายซึ่งสารหลายตัวที่ว่านี้ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งได้
• แล้วตรงนี้ทางแพทยสมาคมอยากให้คนไทยตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคมะเร็งอย่างไรบ้างคะ
ตรงนี้แพทยสมาคมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะชี้แจงกับประชาชนผ่านทางสื่อทั้งหลาย ในการป้องกันโดยลดละเลิกบุหรี่ก่อนอันดับหนึ่งเพราะเราเชื่อว่าเป็นตัวที่สำคัญที่สุด โดยทางแพทยสมาคมมีโครงการต้านบุหรี่ มีเครือข่ายที่สำคัญโดยร่วมกับทางด้านภาครัฐ ภาคเอกชน ศิลปิน ดารานักแสดง และด้านกีฬา
อย่างด้านกีฬา โดยเฉพาะสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยซึ่งมีท่านดร.วิชิต แย้มบุญเรือง เป็นผู้นำในการที่จะให้นักกีฬาไทยปราศจากการสูบบุหรี่ โปรดสังเกตนะครับว่านักกีฬาไทยของเราโดยอย่างยิ่งทีมฟุตบอลที่เป็นขวัญใจของคนไทยตอนเป็นฟุตบอลเยาวชนตอนนั้นต่างมีความสามารถสูง แต่พอมาเป็นนักกีฬาทีมชาติแล้วความสามารถต่างๆ ด้อยลง ซึ่งเหตุหนึ่งก็คือเรื่องของบุหรี่ เหตุนี้เองทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับก็มีมาตรการต่างๆ เข้ามา ซึ่งทางแพทยสมาคมก็ได้เข้าไปร่วมด้วย แล้วก็ได้มีส่วนช่วยทางด้านวิชาการ
อันที่สองคือเรื่องของสุรา ทางแพทยสมาคมได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการที่จะต่อต้านการที่จะให้สุราในหญิงตั้งครรภ์ ในเด็ก และในผู้ป่วยซึ่งต้องได้รับยาหรือเป็นโรคที่จำเพาะ เพราะจะทำให้โรคเหล่านั้นแย่ลงไปด้วย ยกตัวอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไต ในส่วนนี้ทางแพทยสมาคมดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ผ่านการให้ความรู้ตั้งแต่ระดับเด็ก เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการให้ความรู้ ถ้าให้ความรู้ตั้งแต่เด็กและเยาวชน ให้เขาได้ละเลิกจากสารเสพติดหรือสิ่งที่มีภัยทั้งหลายก็เชื่อได้ระดับหนึ่งว่าเมื่อเขาโตขึ้นมา เขาก็จะมีวิจารณญาณในการที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกายได้ในอนาคต ตรงนี้จะมีส่วนสำคัญในการลดอุบัติการณ์ของโรคต่างๆ และทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เป็นปัญหาของประเทศลดลงได้ อันนี้ถือเป็นภาพรวมในกิจกรรมของแพทยสมาคมครับ
• คิดว่าการให้ความรู้ของแพทยสมาคมดังกล่าวจะเข้าถึงประชาชนได้มากน้อยแค่ไหนคะ
ในการที่จะทำให้เนื้อหาข่าวสารเข้าถึงประชาชน ทางแพทยสมาคมก็มีโครงการหลายโครงการโดยเราแบ่งตามช่วงอายุ เพราะช่วงอายุเป็นสิ่งสำคัญ ในช่วงอายุที่ต่างกันความเสี่ยงในการที่จะเกิดโรคมะเร็งก็จะต่างกัน การรับรู้ในช่วงต่างๆ ก็จะต่างกัน แพทยสมาคมโดยภายใต้การนำของศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ และก็ศาสตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ ซึ่งท่านเป็นนายกรับเลือกของแพทยสมาคมได้มีโครงการต้านภัยบุหรี่ในระดับโรงเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนกระทั่งระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งตรงนี้เราก็มีโครงการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ เรามีโครงการคลินิกฟ้าใสเพื่อที่แนะนำให้ผู้ที่ติดบุหรี่
นอกจากนี้เรายังมีการออกสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งความต่อเนื่องมีความสำคัญ รวมทั้งมีการนำผู้ป่วยซึ่งได้รับพิษภัยจากบุหรี่ที่สมัครใจมาเป็นครูสอน มาช่วยออกสื่อต่างๆ รวมทั้งรวมกิจกรรมกับทางแพทยสมาคมและเครือข่ายสมาพันธ์ต้านภัยบุหรี่ไปยังโรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ รวมทั้งบริษัทภาคเอกชนต่างๆ เพื่อให้ความรู้นำไปสู่ประชาชน
นอกเหนือจากนี้คือการให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้ง สื่อออนไลน์ ด้วยครับ นี่ก็เป็นกระบวนการที่เราได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จะช่วยกรุณาให้งบประมาณมาทุกปีอย่างต่อเนื่องร่วม 10 ปีได้แล้วครับ
• โรคมะเร็งถือได้ว่าเป็นเป็นภัยอันดับต้นๆ ที่น่ากลัวมาก ตรงนี้ไม่ทราบว่าจะมีวิธีการรับมืออย่างไรได้บ้าง
การรับมือกับโรคมะเร็งค่อนข้างที่จะซับซ้อนนะครับ ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของมะเร็งอย่างหนึ่ง ตามปกติแล้วคนเราเมื่อมีการเจริญเติบโตจะมีการแบ่งตัวของเซลล์ต่างๆ เซลล์ที่แบ่งตัวและเพิ่มจำนวนขึ้นเพื่อความคงอยู่ได้ของชีวิต โดยที่ในเด็กก็จะมีการแบ่งตัวมากกว่าการทำลาย ในผู้ใหญ่ก็จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนน้อยลงพอๆ กับการทำลาย เมื่อถึงวัยสูงอายุแล้วการทำลายก็จะมากกว่าการสร้างเซลล์ใหม่ แต่อย่างไรก็ตามก็จะมีการแบ่งเซลล์ใหม่อยู่ตลอดเวลา เซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จำนวนหนึ่งเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ อาจจะเป็นกึ่งที่เป็นมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งเลยก็ได้ แต่ว่าร่างกายเรามีความสามารถในการทำลายเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ไปทำให้ไม่เกิดเป็นโรคมะเร็งขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปัจจัยที่ร่างกายหรือผู้นั้นได้รับไม่เหมาะสม กระบวนการในการทำลายเซลล์มะเร็งหรือกระบวนในการแบ่งเพิ่มเซลล์ใหม่ที่ผิดปกติก็จะมีมากขึ้น เพราะฉะนั้นการที่จะป้องกันในปัจจุบันแนวโน้มจะมีการศึกษาถึงเรื่องว่าผู้ป่วยนั้นมีพันธุกรรมที่จะก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่ เป็นเหมือนกับการตรวจเบื้องต้น รวมทั้งการซักประวัติเพราะว่ามะเร็งหลายชนิดส่งผ่านพันธุกรรมไปยังลูกหลานได้ ยกตัวอย่างเช่นมะเร็งเต้านม ถ้าเป็นผู้ป่วยหญิง มีคุณแม่หรือคุณยายเป็นมะเร็งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมก็จะมีสูง เราจึงต้องใช้วิธีเจาะไปในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะด้วยความที่เราไม่สามารถไปดำเนินป้องกันหรือตรวจประเมินได้ในทุกๆ คนเราก็เลยต้องมุ่งไปที่คนที่มีความเสี่ยงสูงที่ยกตัวอย่างไปครับ
สองลดปัจจัย ซึ่งการลดปัจจัยลงจะมีโอกาสลดการเกิดมะเร็งได้อย่างมากมาย เช่น การสูบบุหรี่ ถ้าไม่สูบบุหรี่สักอย่างหนึ่งโอกาสที่จะเกิดมะเร็งของระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ มันลดไปได้อย่างมากมายเลย โดยที่เราไม่ต้องไปสูญเสียการตรวจที่มีการซับซ้อน หรืองดเหล้าซะ สารที่มีแอลกอฮอล์ต่างๆ ทุกชนิดก็สามารถที่จะลดโอกาสเกิดมะเร็งตั้งแต่ปาก ทางเดินอาหาร ปอด ตับ ไปจนกระทั่งถึงทวารได้
สามอาหารซึ่งอาหารการกินมีส่วนอย่างมากจริงๆ นะครับ เพราะการทานอาหารที่ถูกต้อง การทานอาหารที่มีคุณภาพก็จะช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง สามารถที่จะต่อต้านกับเซลล์ที่ผิดปกติได้
• แล้วถ้าเราลดความเสี่ยงต่างๆ แบบที่ท่านนายกแพทยสมาคมได้พูดไปข้างต้นแล้ว แบบนี้จะสามารถยับยั้งโรคมะเร็งได้อย่างแน่นอนใช่ไหมคะ ตรงนี้อยากให้ช่วยยืนยันหน่อยค่ะ
ประมาณการณ์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) แล้วก็องค์กรอนามัยอื่นๆ ได้ประเมินไว้ว่า ถ้าลดปัจจัยต่างๆ ที่ผมพูดไปข้างต้นได้จริงๆ เราจะสามารถลดโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งลงได้อย่างน้อยที่สุดก็ 70-80 เปอร์เซ็น ที่ผมให้ตัวเลขนี้มาเพราะว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ทำให้เกิดหรือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ถึง 70-80 เปอร์เซ็นเลยนะครับ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเองคือประมาณไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นที่ว่ามะเร็งจะเกิดขึ้นมาจากพันธุกรรมของคนนั้นเอง ซึ่งอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นกราบเรียนได้เลยว่าปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ถ้าลด ละ เลิกได้ โอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งจะลดลงได้อย่างมากเลยครับ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
ทั้งนี้เองทางแพทยสมาคมก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และอยากให้ประชาชนคนไทยตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวให้มากขึ้น ทางศาสตราจารย์นายแพทย์สารเนตร์ ไวคกุล นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงเป็นตัวแทนมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคมะเร็งผ่านทาง Good Health & Well Be-ing
• อยากถามถึงสถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้หน่อยค่ะ
ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งค่อนข้างมากทีเดียว ประมาณการณ์ว่ามีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอยู่ในระยะต่างๆ ประมาณ 500,000 คน แล้วผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งมีประมาณเกือบ 20,000 คนต่อปี ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวเลขประมาณการณ์คร่าวๆ เนื่องจากการลงรายงานนั้นผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะใช้คำว่า เสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคอวัยวะที่สำคัญ แต่ในผู้ป่วยจำนวนนี้มีไม่น้อยเลยที่เป็นโรคมะเร็ง
การเกิดโรคมะเร็งที่จริงแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงให้ความเห็นไว้ตั้งแต่ 2,600 ปีมาแล้วว่า ทุกอย่างเกิดด้วยเหตุและปัจจัย คนเราทุกคนจะมีพันธุกรรมอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ภาษาทางด้านการแพทย์จะใช้คำว่า อองโคยีน (Oncogene) หรือพันธุกรรมที่ทำให้เกิดมะเร็ง ซึ่งอันนี้เราคงไปทำอะไรไม่ได้ แต่ปัจจัยที่ประกอบแล้วทำให้เป็นโรคตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภว่าทุกอย่างเกิดด้วยเหตุและปัจจัย
• แล้วมีปัจจัยใดที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งบ้างเหรอคะ
ปัจจัยที่สำคัญที่แพทยสมาคมเพ่งเล็งอยู่ก็คือ
1. การสูบบุหรี่ ซึ่งบุหรี่จะเป็นตัวกระตุ้นให้พันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งทำงาน และบุหรี่จะไปยับยั้งไม่ให้พันธุกรรมซึ่งทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากมะเร็งทำงาน ง่ายๆ คือเป็นการทำลายตัวช่วยและไปกระตุ้นตัวร้ายที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งขึ้นมา
2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ หรืออะไรต่างๆ แม้แต่สุราที่ทำในพื้นบ้านก็ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
3. สารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปรตีนซึ่งด้อยคุณภาพถูกเผาไหม้ หรือไขมันที่ถูกเผาไหม้ ยกตัวอย่างเช่น หมูสะเต๊ะ เนื้อสะเต๊ะ หรือไก่สะเต๊ะ ลองดูสิครับว่าถ้ามันไหม้มากๆ มันจะมีไขมันที่ถูกเผาไหม้จนเกรียม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสารก่อมะเร็งทั้งนั้น และทั้งนี้ในการเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืชต่างๆ ก็จะมีการใช้สารต่างๆ มากมายซึ่งสารหลายตัวที่ว่านี้ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งได้
• แล้วตรงนี้ทางแพทยสมาคมอยากให้คนไทยตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคมะเร็งอย่างไรบ้างคะ
ตรงนี้แพทยสมาคมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะชี้แจงกับประชาชนผ่านทางสื่อทั้งหลาย ในการป้องกันโดยลดละเลิกบุหรี่ก่อนอันดับหนึ่งเพราะเราเชื่อว่าเป็นตัวที่สำคัญที่สุด โดยทางแพทยสมาคมมีโครงการต้านบุหรี่ มีเครือข่ายที่สำคัญโดยร่วมกับทางด้านภาครัฐ ภาคเอกชน ศิลปิน ดารานักแสดง และด้านกีฬา
อย่างด้านกีฬา โดยเฉพาะสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยซึ่งมีท่านดร.วิชิต แย้มบุญเรือง เป็นผู้นำในการที่จะให้นักกีฬาไทยปราศจากการสูบบุหรี่ โปรดสังเกตนะครับว่านักกีฬาไทยของเราโดยอย่างยิ่งทีมฟุตบอลที่เป็นขวัญใจของคนไทยตอนเป็นฟุตบอลเยาวชนตอนนั้นต่างมีความสามารถสูง แต่พอมาเป็นนักกีฬาทีมชาติแล้วความสามารถต่างๆ ด้อยลง ซึ่งเหตุหนึ่งก็คือเรื่องของบุหรี่ เหตุนี้เองทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับก็มีมาตรการต่างๆ เข้ามา ซึ่งทางแพทยสมาคมก็ได้เข้าไปร่วมด้วย แล้วก็ได้มีส่วนช่วยทางด้านวิชาการ
อันที่สองคือเรื่องของสุรา ทางแพทยสมาคมได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการที่จะต่อต้านการที่จะให้สุราในหญิงตั้งครรภ์ ในเด็ก และในผู้ป่วยซึ่งต้องได้รับยาหรือเป็นโรคที่จำเพาะ เพราะจะทำให้โรคเหล่านั้นแย่ลงไปด้วย ยกตัวอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไต ในส่วนนี้ทางแพทยสมาคมดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ผ่านการให้ความรู้ตั้งแต่ระดับเด็ก เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการให้ความรู้ ถ้าให้ความรู้ตั้งแต่เด็กและเยาวชน ให้เขาได้ละเลิกจากสารเสพติดหรือสิ่งที่มีภัยทั้งหลายก็เชื่อได้ระดับหนึ่งว่าเมื่อเขาโตขึ้นมา เขาก็จะมีวิจารณญาณในการที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกายได้ในอนาคต ตรงนี้จะมีส่วนสำคัญในการลดอุบัติการณ์ของโรคต่างๆ และทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เป็นปัญหาของประเทศลดลงได้ อันนี้ถือเป็นภาพรวมในกิจกรรมของแพทยสมาคมครับ
• คิดว่าการให้ความรู้ของแพทยสมาคมดังกล่าวจะเข้าถึงประชาชนได้มากน้อยแค่ไหนคะ
ในการที่จะทำให้เนื้อหาข่าวสารเข้าถึงประชาชน ทางแพทยสมาคมก็มีโครงการหลายโครงการโดยเราแบ่งตามช่วงอายุ เพราะช่วงอายุเป็นสิ่งสำคัญ ในช่วงอายุที่ต่างกันความเสี่ยงในการที่จะเกิดโรคมะเร็งก็จะต่างกัน การรับรู้ในช่วงต่างๆ ก็จะต่างกัน แพทยสมาคมโดยภายใต้การนำของศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ และก็ศาสตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ ซึ่งท่านเป็นนายกรับเลือกของแพทยสมาคมได้มีโครงการต้านภัยบุหรี่ในระดับโรงเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนกระทั่งระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งตรงนี้เราก็มีโครงการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ เรามีโครงการคลินิกฟ้าใสเพื่อที่แนะนำให้ผู้ที่ติดบุหรี่
นอกจากนี้เรายังมีการออกสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งความต่อเนื่องมีความสำคัญ รวมทั้งมีการนำผู้ป่วยซึ่งได้รับพิษภัยจากบุหรี่ที่สมัครใจมาเป็นครูสอน มาช่วยออกสื่อต่างๆ รวมทั้งรวมกิจกรรมกับทางแพทยสมาคมและเครือข่ายสมาพันธ์ต้านภัยบุหรี่ไปยังโรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ รวมทั้งบริษัทภาคเอกชนต่างๆ เพื่อให้ความรู้นำไปสู่ประชาชน
นอกเหนือจากนี้คือการให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้ง สื่อออนไลน์ ด้วยครับ นี่ก็เป็นกระบวนการที่เราได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จะช่วยกรุณาให้งบประมาณมาทุกปีอย่างต่อเนื่องร่วม 10 ปีได้แล้วครับ
• โรคมะเร็งถือได้ว่าเป็นเป็นภัยอันดับต้นๆ ที่น่ากลัวมาก ตรงนี้ไม่ทราบว่าจะมีวิธีการรับมืออย่างไรได้บ้าง
การรับมือกับโรคมะเร็งค่อนข้างที่จะซับซ้อนนะครับ ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของมะเร็งอย่างหนึ่ง ตามปกติแล้วคนเราเมื่อมีการเจริญเติบโตจะมีการแบ่งตัวของเซลล์ต่างๆ เซลล์ที่แบ่งตัวและเพิ่มจำนวนขึ้นเพื่อความคงอยู่ได้ของชีวิต โดยที่ในเด็กก็จะมีการแบ่งตัวมากกว่าการทำลาย ในผู้ใหญ่ก็จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนน้อยลงพอๆ กับการทำลาย เมื่อถึงวัยสูงอายุแล้วการทำลายก็จะมากกว่าการสร้างเซลล์ใหม่ แต่อย่างไรก็ตามก็จะมีการแบ่งเซลล์ใหม่อยู่ตลอดเวลา เซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จำนวนหนึ่งเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ อาจจะเป็นกึ่งที่เป็นมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งเลยก็ได้ แต่ว่าร่างกายเรามีความสามารถในการทำลายเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ไปทำให้ไม่เกิดเป็นโรคมะเร็งขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปัจจัยที่ร่างกายหรือผู้นั้นได้รับไม่เหมาะสม กระบวนการในการทำลายเซลล์มะเร็งหรือกระบวนในการแบ่งเพิ่มเซลล์ใหม่ที่ผิดปกติก็จะมีมากขึ้น เพราะฉะนั้นการที่จะป้องกันในปัจจุบันแนวโน้มจะมีการศึกษาถึงเรื่องว่าผู้ป่วยนั้นมีพันธุกรรมที่จะก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่ เป็นเหมือนกับการตรวจเบื้องต้น รวมทั้งการซักประวัติเพราะว่ามะเร็งหลายชนิดส่งผ่านพันธุกรรมไปยังลูกหลานได้ ยกตัวอย่างเช่นมะเร็งเต้านม ถ้าเป็นผู้ป่วยหญิง มีคุณแม่หรือคุณยายเป็นมะเร็งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมก็จะมีสูง เราจึงต้องใช้วิธีเจาะไปในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะด้วยความที่เราไม่สามารถไปดำเนินป้องกันหรือตรวจประเมินได้ในทุกๆ คนเราก็เลยต้องมุ่งไปที่คนที่มีความเสี่ยงสูงที่ยกตัวอย่างไปครับ
สองลดปัจจัย ซึ่งการลดปัจจัยลงจะมีโอกาสลดการเกิดมะเร็งได้อย่างมากมาย เช่น การสูบบุหรี่ ถ้าไม่สูบบุหรี่สักอย่างหนึ่งโอกาสที่จะเกิดมะเร็งของระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ มันลดไปได้อย่างมากมายเลย โดยที่เราไม่ต้องไปสูญเสียการตรวจที่มีการซับซ้อน หรืองดเหล้าซะ สารที่มีแอลกอฮอล์ต่างๆ ทุกชนิดก็สามารถที่จะลดโอกาสเกิดมะเร็งตั้งแต่ปาก ทางเดินอาหาร ปอด ตับ ไปจนกระทั่งถึงทวารได้
สามอาหารซึ่งอาหารการกินมีส่วนอย่างมากจริงๆ นะครับ เพราะการทานอาหารที่ถูกต้อง การทานอาหารที่มีคุณภาพก็จะช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง สามารถที่จะต่อต้านกับเซลล์ที่ผิดปกติได้
• แล้วถ้าเราลดความเสี่ยงต่างๆ แบบที่ท่านนายกแพทยสมาคมได้พูดไปข้างต้นแล้ว แบบนี้จะสามารถยับยั้งโรคมะเร็งได้อย่างแน่นอนใช่ไหมคะ ตรงนี้อยากให้ช่วยยืนยันหน่อยค่ะ
ประมาณการณ์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) แล้วก็องค์กรอนามัยอื่นๆ ได้ประเมินไว้ว่า ถ้าลดปัจจัยต่างๆ ที่ผมพูดไปข้างต้นได้จริงๆ เราจะสามารถลดโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งลงได้อย่างน้อยที่สุดก็ 70-80 เปอร์เซ็น ที่ผมให้ตัวเลขนี้มาเพราะว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ทำให้เกิดหรือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ถึง 70-80 เปอร์เซ็นเลยนะครับ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเองคือประมาณไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นที่ว่ามะเร็งจะเกิดขึ้นมาจากพันธุกรรมของคนนั้นเอง ซึ่งอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นกราบเรียนได้เลยว่าปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ถ้าลด ละ เลิกได้ โอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งจะลดลงได้อย่างมากเลยครับ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : พลภัทร วรรณดี