By: Pharmchompoo
เรื่องการสืบพันธุ์ เจริญพันธุ์ เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์โลก แต่เหรียญมีสองด้าน และชีวิตก็มีสองด้านเสมอ
หญิง-ชายคู่กัน แต่งงานกัน หนีไม่พ้น 2 เรื่องคือ อยากให้มีลูกซะที (ซึ่งบางทีจนแล้วจนรอดก็ไม่มีต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์) กับอีกเรื่องคือยังไม่พร้อมจะมีลูก (ซึ่งบางกลุ่มพวกนี้แหละที่จะมีลูกง่ายดายซะเหลือเกิน) ก็ต้องใช้เทคโนโลยียับยั้งการเจริญพันธุ์เข้ามาช่วย ซึ่ง ณ เวลานี้ผู้หญิงก็ยังมีบทบาทสำคัญในการใช้เทคโนโลยียับยั้งการเจริญพันธุ์เหล่านี้ เพราะนัยว่า ห้ามการตกไข่เดือนละใบ ยังง่ายกว่าการห้ามการสร้างตัวอสุจิเป็นสิบๆ ร้อยๆ ล้านตัวเป็นแน่
ฮอร์โมนคุมกำเนิดมีบทบาทหลักในการช่วยในคู่ที่ยังไม่พร้อมจะมีลูก การใช้ฮอร์โมนมีหลายรูปแบบ ทั้งกิน ฉีด ฝัง แต่ดูมีว่ารูปแบบที่มีความนิยมและยังมีปัญหาความเข้าใจผิดอยู่คือ ฮอร์โมนคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่ายาคุม
ยาเม็ดคุมกำเนิดโดยทั่วไป ถ้าแบ่งตามองค์ประกอบในเม็ดยาจะมี 2 แบบคือ แบบฮอร์โมนรวม กับฮอร์โมนเดี่ยว
แบบฮอร์โมนรวมจะเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ผสมกับโปรเจสเตอโรน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด
ยาคุมแบบฮอร์โมนรวมตัวเอสโตรเจนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มาก จะใช้ ethinyl estradiol เป็นส่วนประกอบหลักแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ “ปริมาณต่อเม็ด” เช่น 20 30 หรือ 35 ไมโครกรัมต่อเม็ด เพื่อสำหรับสตรีที่ทนอาการข้างเคียงของเอสโตรเจนได้มาก-น้อยแตกต่างกัน (ส่วนใหญ่คืออาการตึงคัดเต้านม หรือคลื่นไส้อาเจียน) สำหรับตัวโปรเจสเตอโรนในยาคุมแบบฮอร์โมนรวมนั้นมีความหลากหลายมากตาม “รุ่น” การพัฒนาเพื่อลดอาการข้างเคียง (ที่เด่นๆ คือ สิว ผิวมัน ขนดก อาการบวมน้ำ ฝ้าขึ้น) มีตั้งแต่รุ่นเก่า ๆ คือ levonorgestrel เรื่อยมาเป็น norgestimate, desogestrel, gestodene, cyproterone ฯลฯ เพื่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดและลดผลข้างเคียงจากยา
แบบฮอร์โมนเดี่ยวจะเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์การใช้งานเฉพาะ เราเรียกว่า “POPs” หรือ Progesterone only pills เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรที่ต้องการให้นมบุตรต่อไป เพราะการที่สตรีหลังคลอดกินยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมนั้น จะทำให้น้ำนมแห้ง ไม่มีน้ำนมผลิตออกมา ฮอร์โมนที่ใช้จะเป็นพวก lynestrenol
ทำยังไงถ้าจะเริ่มกินยาคุม ???
ควรพิจารณาว่าท่านไม่มีอาการ/โรคดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะรุนแรงที่ยังไม่ทราบสาเหตุ หรือไมเกรนที่มีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนร่วม, กำลังเป็นมะเร็งเต้านม, ตับอักเสบ (ช่วงอาการกำเริบ), ตับแข็งหรือเนื้องอกในตับ, ผู้ที่สูบบุหรี่จัด (มากกว่า 20 มวน/วัน) ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน มีภาวะความดันโลหิตสูง
ในกรณีที่จำเป็นหรือไม่แน่ใจควรรับการตรวจวินิจฉัยและแนะนำการเริ่มยาโดยสูตินรีแพทย์ก่อนจะดีที่สุด
การเริ่มกินยาคุม วิธีที่นิยมคือ กินยาเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือนมาและกินยาต่อไป 1 เม็ดทุกวัน อีกวิธีคือ กินยาเม็ดแรกในวันอาทิตย์แรกหลังจากที่มีประจำเดือนมา แต่วิธีนี้หากเป็นการกินยาในแผงแรก ต้องให้ฝ่ายชายสวมถุงยางอนามัยด้วยในช่วงการกินยา 7 เม็ดแรก
ปัญหาที่พบบ่อยจากการกินยาคุม
กินยาคุมแล้วหน้าขึ้นฝ้า อ้วน อาจพิจารณาเปลี่ยนชนิดยาคุม หรืออาจต้องใช้ยาทากันแดดช่วยร่วมไปด้วย
ลืมกินยาคุม โดยปกติยาคุมแต่ละยี่ห้อจะมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปถ้าลืมเพียง 1 เม็ด และเรากินยาคุมตอนก่อนนอน มานึกได้ตอนเช้าไม่เกิน 12.00 น. ให้กินยาเม็ดที่ลืมนั้นทันที ที่นึกได้และกินยาเม็ดต่อไปตามปกติ
กินยาคุมแล้วอาเจียน ถือว่าถ้าอาเจียนภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากการกินยา ให้กินซ้ำ
กินยาคุมแล้วตึงเจ็บคัดเต้านมมาก อาจต้องเปลี่ยนชนิดยาคุม เป็นแบบมีเอสโตรเจนต่ำ
กินยาไม่ตรงเวลา ฮอร์โมนจะมีความแปรปรวน อาจเกิดเลือดออกเล็กๆ น้อยๆ ได้
สาวประเภทสองกินยาคุมแบบย้อนลูกศร เพื่อหวังประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะในปัจจุบัน ยาคุมกำเนิดแบบฮฮร์โมนรวม มีปริมาณ/สัดส่วนของฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด
สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิดและยาฝังคุมกำเนิด ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ..!!!!
ยาคุมตีกันกับยาอื่น ?????
ยาคุมก็เหมือนยาทั่วๆ ไปที่สามารถเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา หรือ “ยาตีกัน” ได้ โดยผลที่เกิดคือ ยาคุมลดประสิทธิภาพลงจนถึงขั้นไม่สามารถคุมกำเนิดได้ หากคุณกินยาเหล่านี้ต้องแจ้งแพทย์/เภสัชกรเสมอและอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด (ถ้าจำเป็น)
ยาที่มีผลลดประสิทธิภาพของยาคุม : ยาโรคลมชัก เช่น carbamazepine, phenobarbital, topiramate, phenytoin ยาฆ่าเชื้อ เช่น rifampicin, metronidazole, amoxicillin, doxycycline
ยาคุมเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ดีวิธีหนึ่ง แต่ต้องเข้าใจและใช้ให้เป็น
อ้างอิง : จุราพร พงศ์เวชรักษ์. แนวทางการเลือกจ่ายยาคุมกำเนิดในร้านยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ทครีเอชั่น, 2547.
เรื่องการสืบพันธุ์ เจริญพันธุ์ เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์โลก แต่เหรียญมีสองด้าน และชีวิตก็มีสองด้านเสมอ
หญิง-ชายคู่กัน แต่งงานกัน หนีไม่พ้น 2 เรื่องคือ อยากให้มีลูกซะที (ซึ่งบางทีจนแล้วจนรอดก็ไม่มีต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์) กับอีกเรื่องคือยังไม่พร้อมจะมีลูก (ซึ่งบางกลุ่มพวกนี้แหละที่จะมีลูกง่ายดายซะเหลือเกิน) ก็ต้องใช้เทคโนโลยียับยั้งการเจริญพันธุ์เข้ามาช่วย ซึ่ง ณ เวลานี้ผู้หญิงก็ยังมีบทบาทสำคัญในการใช้เทคโนโลยียับยั้งการเจริญพันธุ์เหล่านี้ เพราะนัยว่า ห้ามการตกไข่เดือนละใบ ยังง่ายกว่าการห้ามการสร้างตัวอสุจิเป็นสิบๆ ร้อยๆ ล้านตัวเป็นแน่
ฮอร์โมนคุมกำเนิดมีบทบาทหลักในการช่วยในคู่ที่ยังไม่พร้อมจะมีลูก การใช้ฮอร์โมนมีหลายรูปแบบ ทั้งกิน ฉีด ฝัง แต่ดูมีว่ารูปแบบที่มีความนิยมและยังมีปัญหาความเข้าใจผิดอยู่คือ ฮอร์โมนคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่ายาคุม
ยาเม็ดคุมกำเนิดโดยทั่วไป ถ้าแบ่งตามองค์ประกอบในเม็ดยาจะมี 2 แบบคือ แบบฮอร์โมนรวม กับฮอร์โมนเดี่ยว
แบบฮอร์โมนรวมจะเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ผสมกับโปรเจสเตอโรน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด
ยาคุมแบบฮอร์โมนรวมตัวเอสโตรเจนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มาก จะใช้ ethinyl estradiol เป็นส่วนประกอบหลักแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ “ปริมาณต่อเม็ด” เช่น 20 30 หรือ 35 ไมโครกรัมต่อเม็ด เพื่อสำหรับสตรีที่ทนอาการข้างเคียงของเอสโตรเจนได้มาก-น้อยแตกต่างกัน (ส่วนใหญ่คืออาการตึงคัดเต้านม หรือคลื่นไส้อาเจียน) สำหรับตัวโปรเจสเตอโรนในยาคุมแบบฮอร์โมนรวมนั้นมีความหลากหลายมากตาม “รุ่น” การพัฒนาเพื่อลดอาการข้างเคียง (ที่เด่นๆ คือ สิว ผิวมัน ขนดก อาการบวมน้ำ ฝ้าขึ้น) มีตั้งแต่รุ่นเก่า ๆ คือ levonorgestrel เรื่อยมาเป็น norgestimate, desogestrel, gestodene, cyproterone ฯลฯ เพื่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดและลดผลข้างเคียงจากยา
แบบฮอร์โมนเดี่ยวจะเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์การใช้งานเฉพาะ เราเรียกว่า “POPs” หรือ Progesterone only pills เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรที่ต้องการให้นมบุตรต่อไป เพราะการที่สตรีหลังคลอดกินยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมนั้น จะทำให้น้ำนมแห้ง ไม่มีน้ำนมผลิตออกมา ฮอร์โมนที่ใช้จะเป็นพวก lynestrenol
ทำยังไงถ้าจะเริ่มกินยาคุม ???
ควรพิจารณาว่าท่านไม่มีอาการ/โรคดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะรุนแรงที่ยังไม่ทราบสาเหตุ หรือไมเกรนที่มีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนร่วม, กำลังเป็นมะเร็งเต้านม, ตับอักเสบ (ช่วงอาการกำเริบ), ตับแข็งหรือเนื้องอกในตับ, ผู้ที่สูบบุหรี่จัด (มากกว่า 20 มวน/วัน) ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน มีภาวะความดันโลหิตสูง
ในกรณีที่จำเป็นหรือไม่แน่ใจควรรับการตรวจวินิจฉัยและแนะนำการเริ่มยาโดยสูตินรีแพทย์ก่อนจะดีที่สุด
การเริ่มกินยาคุม วิธีที่นิยมคือ กินยาเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือนมาและกินยาต่อไป 1 เม็ดทุกวัน อีกวิธีคือ กินยาเม็ดแรกในวันอาทิตย์แรกหลังจากที่มีประจำเดือนมา แต่วิธีนี้หากเป็นการกินยาในแผงแรก ต้องให้ฝ่ายชายสวมถุงยางอนามัยด้วยในช่วงการกินยา 7 เม็ดแรก
ปัญหาที่พบบ่อยจากการกินยาคุม
กินยาคุมแล้วหน้าขึ้นฝ้า อ้วน อาจพิจารณาเปลี่ยนชนิดยาคุม หรืออาจต้องใช้ยาทากันแดดช่วยร่วมไปด้วย
ลืมกินยาคุม โดยปกติยาคุมแต่ละยี่ห้อจะมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปถ้าลืมเพียง 1 เม็ด และเรากินยาคุมตอนก่อนนอน มานึกได้ตอนเช้าไม่เกิน 12.00 น. ให้กินยาเม็ดที่ลืมนั้นทันที ที่นึกได้และกินยาเม็ดต่อไปตามปกติ
กินยาคุมแล้วอาเจียน ถือว่าถ้าอาเจียนภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากการกินยา ให้กินซ้ำ
กินยาคุมแล้วตึงเจ็บคัดเต้านมมาก อาจต้องเปลี่ยนชนิดยาคุม เป็นแบบมีเอสโตรเจนต่ำ
กินยาไม่ตรงเวลา ฮอร์โมนจะมีความแปรปรวน อาจเกิดเลือดออกเล็กๆ น้อยๆ ได้
สาวประเภทสองกินยาคุมแบบย้อนลูกศร เพื่อหวังประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะในปัจจุบัน ยาคุมกำเนิดแบบฮฮร์โมนรวม มีปริมาณ/สัดส่วนของฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด
สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิดและยาฝังคุมกำเนิด ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ..!!!!
ยาคุมตีกันกับยาอื่น ?????
ยาคุมก็เหมือนยาทั่วๆ ไปที่สามารถเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา หรือ “ยาตีกัน” ได้ โดยผลที่เกิดคือ ยาคุมลดประสิทธิภาพลงจนถึงขั้นไม่สามารถคุมกำเนิดได้ หากคุณกินยาเหล่านี้ต้องแจ้งแพทย์/เภสัชกรเสมอและอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด (ถ้าจำเป็น)
ยาที่มีผลลดประสิทธิภาพของยาคุม : ยาโรคลมชัก เช่น carbamazepine, phenobarbital, topiramate, phenytoin ยาฆ่าเชื้อ เช่น rifampicin, metronidazole, amoxicillin, doxycycline
ยาคุมเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ดีวิธีหนึ่ง แต่ต้องเข้าใจและใช้ให้เป็น
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |
อ้างอิง : จุราพร พงศ์เวชรักษ์. แนวทางการเลือกจ่ายยาคุมกำเนิดในร้านยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ทครีเอชั่น, 2547.