By: Pharmchompoo
ในชีวิตประจำวันหลีกเลี่ยงได้ในเรื่องของการกินอาหาร เจ็บป่วยก็ต้องกินยา และหลายคนที่มีโรคประจำตัว บ่อยครั้งที่เราอาจไม่ทราบว่าโรคที่เป็นอยู่ ยาที่กำลังจะกินหรือกินอยู่เดิม และอาหารที่อาจจะเป็นจานโปรดของเราจะมีปัญหา “ตีกัน” ได้ และหลายครั้ง ผลของการ “ตีกัน” นั้น รุนแรงเกินกว่าที่เราคาดคิด บทความตอนนี้จะนำเสนอคร่าวๆ ว่าจะมี ยา อาหาร (หรือเครื่องดื่ม) รวมถึงโรคอะไรบ้างที่อาจจะมีผลกระทบต่อกันและกัน

“โรคภาวะพร่องเอนไซม์” G-6-PD (G-6-PD deficiency) เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมผ่านโครโมโซมเอ๊กซ์ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศ โรคนี้พบบ่อยในเพศชาย มีความรุนแรงหลายระดับ อาการแสดงที่มักปรากฎคือมีอาการซีด เนื่องจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว ปัสสาวะของผู้ป่วยเมื่อมีอาการกำเริบจะมีสีโค้ก หรือสีน้ำปลา และอาจเกิดไตวายเฉียบพลันได้ สาเหตุของการแตกทำลายอย่างรวดเร็วของเม็ดเลือดแดงมักจะมาจากอาหารบางชนิด เช่น ถั่วปากอ้า หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางกลุ่มเช่น ciprofloxacin, nitrofurantoin หรือกระทั่งวิตามิน ซีในขนาดสูง ดังนั้นทุกครั้ง ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็น G-6-PD deficiency ต้องแจ้งแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรทุกครั้งเมื่อไปรับการรักษา และไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดอาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
การดื่มสุรา สุราโดยตัวมันเองนอกจากจะเป็นสาเหตุหลักของโรคเรื้อรังหลายอย่าง ตัวแอลกอฮอล์นสุราเองก็สามารถตีกันกับยาที่เรากินเข้าไปได้ด้วยเช่น
สุรา ตีกับ ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด เช่น glipizide ทำให้ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจากยา ดีเกินไป น้ำตาลในเลือดจะลดต่ำลงมากจนผู้ป่วยเกิดอาการช้อค หมดสติ เสียชีวิตได้
สุรา ตีกับ ยาพาราเซตามอล ในผู้ป่วยที่ดื่มสุราอย่างหัวราน้ำ หากกินพาราเซตามอลแม้ในขนาดปกติ ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตับอักเสบได้มากกว่าคนปกติที่ไม่ดื่มสุรา
สุรา ตีกับ ยารักษาวัณโรค ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื่มสุราจัด เมื่อกินยารักษาวัณโรคบางชนิด เช่น isoniazid จะทำให้รักษาวัณโรคไม่ได้ผล เพราะสุราไปลดระดับยา isoniazid ในเลือด
สุรา ตีกับ ยานอนหลับ อาจทำให้เกิดการกดประสาทอย่างรุนแรง หลับไม่ตื่นถึงขั้นเสียชีวิตได้
สุรา ตีกับ ยากันชักบางชนิด เช่น phenytoin สุราจะไปทำให้ระดับยากันชักในเลือดลดลง เพิ่มความเสี่ยงในการใช้ยาไม่ได้ผล และแถมสุรากับยากันชักจะช่วยกันออกฤทธิ์กดประสาทให้มากกว่าเดิมด้วย

ผลไม้ประเภท grapefruit เป็นตัวชูโรงในเรื่องตีกันกับยา ผลไม้อันนี้พบมากในต่างประเทศ แต่อาจมีการนำเข้ามาบริโภคในประเทศได้ ยาที่สามารถตีกันกับผลไม้ประเภท grapefruit ได้แก่ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นคือ เราจะได้ฤทธิ์ในการรักษาและความเป็นพิษจากยานั้น ๆ มากจนเกิดพอดี เป็นอันตรายได้
ยาแก้อาการปวดหัวไมเกรนกลุ่มเออร์โกตามีน (ergotamine) ยากลุ่มนี้มี “โจทก์” ในการตีกันกับยาอื่น ๆ มากมายนับสิบรายการ หลัก ๆ คือยาต้านไวรัสเอชไอวี ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ยานอนหลับบางชนิด ผลที่ตามมาคือ จะได้ฤทธิ์ของ ergotamine มากเกินจนทำให้หลอดเลือดฝอยส่วนปลายตามแขน ขา ตีบ หด จนเลือดไปเลี้ยงไม่ได้ เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อส่วนปลาย ทั้งปลายแขน ปลายขา บางรายรุนแรงมากรักษาไม่ได้ต้องตัดอวัยวะหรือเสียชีวิตก็มี
เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยทุกครั้งที่รับบริการทางการแพทย์ “แจ้งแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรทุกครั้งว่ามีโรคประจำตัวอะไร กินยาอะไรอยู่บ้าง” เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา “การตีกัน” ระหว่าง ยา โรค อาหาร โดยไม่ได้ตั้งใจ
ในชีวิตประจำวันหลีกเลี่ยงได้ในเรื่องของการกินอาหาร เจ็บป่วยก็ต้องกินยา และหลายคนที่มีโรคประจำตัว บ่อยครั้งที่เราอาจไม่ทราบว่าโรคที่เป็นอยู่ ยาที่กำลังจะกินหรือกินอยู่เดิม และอาหารที่อาจจะเป็นจานโปรดของเราจะมีปัญหา “ตีกัน” ได้ และหลายครั้ง ผลของการ “ตีกัน” นั้น รุนแรงเกินกว่าที่เราคาดคิด บทความตอนนี้จะนำเสนอคร่าวๆ ว่าจะมี ยา อาหาร (หรือเครื่องดื่ม) รวมถึงโรคอะไรบ้างที่อาจจะมีผลกระทบต่อกันและกัน
“โรคภาวะพร่องเอนไซม์” G-6-PD (G-6-PD deficiency) เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมผ่านโครโมโซมเอ๊กซ์ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศ โรคนี้พบบ่อยในเพศชาย มีความรุนแรงหลายระดับ อาการแสดงที่มักปรากฎคือมีอาการซีด เนื่องจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว ปัสสาวะของผู้ป่วยเมื่อมีอาการกำเริบจะมีสีโค้ก หรือสีน้ำปลา และอาจเกิดไตวายเฉียบพลันได้ สาเหตุของการแตกทำลายอย่างรวดเร็วของเม็ดเลือดแดงมักจะมาจากอาหารบางชนิด เช่น ถั่วปากอ้า หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางกลุ่มเช่น ciprofloxacin, nitrofurantoin หรือกระทั่งวิตามิน ซีในขนาดสูง ดังนั้นทุกครั้ง ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็น G-6-PD deficiency ต้องแจ้งแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรทุกครั้งเมื่อไปรับการรักษา และไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดอาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
การดื่มสุรา สุราโดยตัวมันเองนอกจากจะเป็นสาเหตุหลักของโรคเรื้อรังหลายอย่าง ตัวแอลกอฮอล์นสุราเองก็สามารถตีกันกับยาที่เรากินเข้าไปได้ด้วยเช่น
สุรา ตีกับ ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด เช่น glipizide ทำให้ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจากยา ดีเกินไป น้ำตาลในเลือดจะลดต่ำลงมากจนผู้ป่วยเกิดอาการช้อค หมดสติ เสียชีวิตได้
สุรา ตีกับ ยาพาราเซตามอล ในผู้ป่วยที่ดื่มสุราอย่างหัวราน้ำ หากกินพาราเซตามอลแม้ในขนาดปกติ ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตับอักเสบได้มากกว่าคนปกติที่ไม่ดื่มสุรา
สุรา ตีกับ ยารักษาวัณโรค ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื่มสุราจัด เมื่อกินยารักษาวัณโรคบางชนิด เช่น isoniazid จะทำให้รักษาวัณโรคไม่ได้ผล เพราะสุราไปลดระดับยา isoniazid ในเลือด
สุรา ตีกับ ยานอนหลับ อาจทำให้เกิดการกดประสาทอย่างรุนแรง หลับไม่ตื่นถึงขั้นเสียชีวิตได้
สุรา ตีกับ ยากันชักบางชนิด เช่น phenytoin สุราจะไปทำให้ระดับยากันชักในเลือดลดลง เพิ่มความเสี่ยงในการใช้ยาไม่ได้ผล และแถมสุรากับยากันชักจะช่วยกันออกฤทธิ์กดประสาทให้มากกว่าเดิมด้วย
ผลไม้ประเภท grapefruit เป็นตัวชูโรงในเรื่องตีกันกับยา ผลไม้อันนี้พบมากในต่างประเทศ แต่อาจมีการนำเข้ามาบริโภคในประเทศได้ ยาที่สามารถตีกันกับผลไม้ประเภท grapefruit ได้แก่ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นคือ เราจะได้ฤทธิ์ในการรักษาและความเป็นพิษจากยานั้น ๆ มากจนเกิดพอดี เป็นอันตรายได้
ยาแก้อาการปวดหัวไมเกรนกลุ่มเออร์โกตามีน (ergotamine) ยากลุ่มนี้มี “โจทก์” ในการตีกันกับยาอื่น ๆ มากมายนับสิบรายการ หลัก ๆ คือยาต้านไวรัสเอชไอวี ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ยานอนหลับบางชนิด ผลที่ตามมาคือ จะได้ฤทธิ์ของ ergotamine มากเกินจนทำให้หลอดเลือดฝอยส่วนปลายตามแขน ขา ตีบ หด จนเลือดไปเลี้ยงไม่ได้ เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อส่วนปลาย ทั้งปลายแขน ปลายขา บางรายรุนแรงมากรักษาไม่ได้ต้องตัดอวัยวะหรือเสียชีวิตก็มี
เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยทุกครั้งที่รับบริการทางการแพทย์ “แจ้งแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรทุกครั้งว่ามีโรคประจำตัวอะไร กินยาอะไรอยู่บ้าง” เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา “การตีกัน” ระหว่าง ยา โรค อาหาร โดยไม่ได้ตั้งใจ
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |