By: Pharmchompoo
ทุกวันนี้โลกออนไลน์หลายเป็นโลกไร้พรมแดนแล้วจริง ๆ โลกออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำหรับธุรกิจต่าง ๆ การขายสินค้าทำได้อย่างเสรี ไม่เว้นแม้แต่ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โฆษณาแบบไหนอย่างไรก็ได้ จะอกฟู รูฟิต ขาวใส มีออร่า พ่อค้าแม่ขายกลายเป็นเน็ตไอดอลชั่วข้ามคืน ซึ่งก็เป็นความเสี่ยงสำหรับผู้บริโภคที่รู้ไม่เท่าทัน “ตาดีได้ ตาร้ายเสีย” อะไรทำนองนั้น
สินค้าในโลกออนไลน์ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร เรื่องที่เกี่ยวกับความสวยความงามว่าฮิตติดลมบนแล้ว สินค้าเกี่ยวกับเรื่องเพศยิ่งติดลมบนกว่า ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องเสริมสมรรถภาพทางเพศในรูปแบบใดก็ตาม จะกิน จะทา จะนวด จะฝัง ขอให้บอกพร้อมจัดเต็ม และรูปแบบการขายเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้ขายอ้อม ๆ อีกต่อไปแต่ขายกันโจ่งแจ้งมี presenter พร้อมสรรพ...
สินค้าเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศหรือเสริมสมรรถภาพทางเพศทุกวันนี้มาในรูปที่ประชาชนส่วนใหญ่ เชื่อถือวางใจ ยิ่งรู้ว่ากระแสปัจจุบัน เน้นหนักไปทางด้าน “ปลอดสาร ไร้สาร ไม่ใช่ยาเคมี” ก็ยิ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ทางด้านเสริมสมรรถภาพทางเพศเหล่านี้ขายได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น
หากเป็นสารสกัดสมุนไพรหรือเป็นยาแผนโบราณตามตำรับที่มีการศึกษากันมา อย่างที่โฆษณาจริงๆ ก็ไม่เท่าไร แต่พอเอาเข้าจริงๆ แล้วกลับกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการปลอมปนด้วยยาแผนปัจจุบันอย่างที่เรารู้จักกันดีอย่าง sildenafil ที่เราทราบจากข่าวกันดีว่ามีการจับกุมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เครื่องดื่มที่อ้างสรรพคุณเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศว่ามีการปลอมปน sildenafil ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ อาจมีข้อคำถามว่ามันอันตรายตรงไหนกับเครื่องดื่มที่ปลอมปนยาแผนปัจจุบัน เพราะยาแผนปัจจุบันก็เป็นยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและใช้กันเป็นยาอย่างกว้างขวาง
ความอันตรายอยู่ตรงที่ การปลอมปนยาลงไปในอาหาร ปริมาณ และความถี่ในการรับสัมผัสจะแตกต่างจากการกินยา เช่น หากเรากินยาเม็ด sildenafil เพื่อช่วยอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เราจะต้องกินในปริมาณและจำนวนครั้งที่กำหนด (เช่น ครั้งละ 25-100 มก. และวันละไม่เกิน 1 ครั้งเท่านั้น) แต่การได้รับ sildenafil ผ่านเครื่องดื่ม เราดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้กันมากกว่าวันละ 1 ครั้งแน่นอน โดยเฉพาะหากเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะเชื่อว่าเครื่องดื่มมันช่วยได้จริง ๆ ผู้บริโภคก็จะได้รับยาที่ปลอมปนลงไปในนั้นมากกว่าวันละ 1 ครั้งอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้บริโภคมีโรคประจำตัวอยู่เดิม หรือใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มไนเตรท ซึ่งมีข้อห้ามอย่างเด็ดขาดในการที่จะใช้ร่วมกับยา sildenafil
เพราะฉะนั้นการหลงเชื่อและบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้โดยไม่ไตร่ตรองถึงความเสี่ยง อาจนำมาซึ่งอันตรายได้
ทุกวันนี้โลกออนไลน์หลายเป็นโลกไร้พรมแดนแล้วจริง ๆ โลกออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำหรับธุรกิจต่าง ๆ การขายสินค้าทำได้อย่างเสรี ไม่เว้นแม้แต่ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โฆษณาแบบไหนอย่างไรก็ได้ จะอกฟู รูฟิต ขาวใส มีออร่า พ่อค้าแม่ขายกลายเป็นเน็ตไอดอลชั่วข้ามคืน ซึ่งก็เป็นความเสี่ยงสำหรับผู้บริโภคที่รู้ไม่เท่าทัน “ตาดีได้ ตาร้ายเสีย” อะไรทำนองนั้น
สินค้าในโลกออนไลน์ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร เรื่องที่เกี่ยวกับความสวยความงามว่าฮิตติดลมบนแล้ว สินค้าเกี่ยวกับเรื่องเพศยิ่งติดลมบนกว่า ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องเสริมสมรรถภาพทางเพศในรูปแบบใดก็ตาม จะกิน จะทา จะนวด จะฝัง ขอให้บอกพร้อมจัดเต็ม และรูปแบบการขายเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้ขายอ้อม ๆ อีกต่อไปแต่ขายกันโจ่งแจ้งมี presenter พร้อมสรรพ...
สินค้าเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศหรือเสริมสมรรถภาพทางเพศทุกวันนี้มาในรูปที่ประชาชนส่วนใหญ่ เชื่อถือวางใจ ยิ่งรู้ว่ากระแสปัจจุบัน เน้นหนักไปทางด้าน “ปลอดสาร ไร้สาร ไม่ใช่ยาเคมี” ก็ยิ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ทางด้านเสริมสมรรถภาพทางเพศเหล่านี้ขายได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น
หากเป็นสารสกัดสมุนไพรหรือเป็นยาแผนโบราณตามตำรับที่มีการศึกษากันมา อย่างที่โฆษณาจริงๆ ก็ไม่เท่าไร แต่พอเอาเข้าจริงๆ แล้วกลับกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการปลอมปนด้วยยาแผนปัจจุบันอย่างที่เรารู้จักกันดีอย่าง sildenafil ที่เราทราบจากข่าวกันดีว่ามีการจับกุมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เครื่องดื่มที่อ้างสรรพคุณเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศว่ามีการปลอมปน sildenafil ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ อาจมีข้อคำถามว่ามันอันตรายตรงไหนกับเครื่องดื่มที่ปลอมปนยาแผนปัจจุบัน เพราะยาแผนปัจจุบันก็เป็นยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและใช้กันเป็นยาอย่างกว้างขวาง
ความอันตรายอยู่ตรงที่ การปลอมปนยาลงไปในอาหาร ปริมาณ และความถี่ในการรับสัมผัสจะแตกต่างจากการกินยา เช่น หากเรากินยาเม็ด sildenafil เพื่อช่วยอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เราจะต้องกินในปริมาณและจำนวนครั้งที่กำหนด (เช่น ครั้งละ 25-100 มก. และวันละไม่เกิน 1 ครั้งเท่านั้น) แต่การได้รับ sildenafil ผ่านเครื่องดื่ม เราดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้กันมากกว่าวันละ 1 ครั้งแน่นอน โดยเฉพาะหากเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะเชื่อว่าเครื่องดื่มมันช่วยได้จริง ๆ ผู้บริโภคก็จะได้รับยาที่ปลอมปนลงไปในนั้นมากกว่าวันละ 1 ครั้งอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้บริโภคมีโรคประจำตัวอยู่เดิม หรือใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มไนเตรท ซึ่งมีข้อห้ามอย่างเด็ดขาดในการที่จะใช้ร่วมกับยา sildenafil
เพราะฉะนั้นการหลงเชื่อและบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้โดยไม่ไตร่ตรองถึงความเสี่ยง อาจนำมาซึ่งอันตรายได้
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |