xs
xsm
sm
md
lg

ถูกและดี “ที่นอนลมยางในจักรยาน” ลดและป้องกันแผลกดทับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แผลกดทับ เกิดจากสภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งและมีการกดทับร่างกายบริเวณใดบริเวณหนึ่งนาน ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นปุ่มกระดูก (Bony prominence) เช่น กระดูกก้นกบ (Sacrum) กระดูกก้น(Ischium) จะทำให้มีโอกาสเกิดแผลกดทับที่บริเวณนั้นได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ที่ประสบอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง (Spinal cord injury) ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตไม่รู้สึกตัวหรือมีแขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังแล้วไม่ค่อยเคลื่อนไหวอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ

โดยระยะระดับความรุนแรงของแผลกดทับ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ
ระดับที่ 1 ผิวหนังเป็นรอยแดงบวม มีการคั่งของเลือด
ระดับที่ 2 ผิวหนังเป็นตุ่มพอง หรือรอยถลอกหลุดลอก
ระดับที่ 3 ผิวหนังเป็นแผลลึกถึงชั้นเนื้อเยื่อและไขมัน
ระดับที่ 4 ผิวหนังเป็นแผลลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ และอาจลึกถึงกระดูก
จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งที่นวัตกรรมนอนลมยางไฟฟ้าที่มีราคาสูง ทว่าอย่างไรก็ตาม “โครงการ โตโยต้า คนจริงสร้างสุข ปี 3” ได้คิดค้นวิธีการทำที่นอนเบาะลมยางในจักยานเพื่อป้องกันและลดการเกิดแผลกดทับ ด้วยตัวเองง่ายๆ และราคายังต่ำกว่าถึง 2-3 เท่า ที่นอนขนาดมาตรฐาน 1 หลัง ความยาว 2.5 เซนติเมตร กว้าง 1.2 เซนติเมตร สนนราคาประมาณ 2,500 บาท เท่านั้น

ซึ่งอุปกรณ์และวิธีการทำที่นอนเบาะลมยางในจากรถจักรยานหรือยางในจากรถจักรยานยนต์นั้นประกอบด้วย
1.อุปกรณ์ตัดเย็บ ด้าย เข็ม
2.ผ้าใยสังเคราะห์กันน้ำ
3.ยางในรถยนต์มอเตอร์ไซด์ ขนาด 26.5 นิ้ว

จากนั้นเริ่มต้นด้วยการวางแบบวัดขนาดเพื่อตัดเย็บเป็นที่นอนขนาดความยาว 2.5 เมตร กว่าง 1.2 เมตร ตามขนาดมาตรฐานที่นอนทั่วไป เย็บปิดหัวท้ายทั้งสองผืน จากนั้นนำมาประกบก่อนจะแบ่งช่องและเย็บผ้าประกบเข้าด้วยกันเพื่อสอดยางในรถจักยานไว้ด้านในประมาณ 20 ช่อง และเมื่อเย็บทำช่องเสร็จเรียบร้อยแล้วให้สอดยางในเข้าไปตรงที่ช่องที่เราเย็บก่อนจะสูบลมเพื่อให้ง่ายต่อการทำ

สามารถใช้ได้ทั้งยางในทั้งเก่าและใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถปรับลมให้นิ้มและแข็งตามความชอบและความเหมาะสมไม่ต่างจากที่นอนลมไฟฟ้าอีกด้วย และสามารถทำความสะอาดโดยการถอดออกมาซักสลับเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อสุขภาพอนามัยของผู้ป่วยที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

กำลังโหลดความคิดเห็น