By : Pharmchompoo
หากจะพูดถึงเรื่องการนำสารเคมีไปใช้ในทางที่ผิดแล้ว สามารถพูดได้ตลอด เพราะมีสารเคมีรูปแบบแปลกๆ ใหม่ๆ เข้ามาอยู่ในตลาดตลอดเวลา บทความวันนี้จะพูดถึงสารเคมีชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน ด้วยรูปแบบและวิธีการใช้ที่สะดวก ทำให้เราตกเป็นเหยื่อของมันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะผู้หญิง
สารนั้นก็คือ GHB (จีเอชบี)

GHB หรือชื่อเต็มคือ Gamma-hydroxybutyrate ซึ่งมีชื่อแสลง (slang name) หรือชื่อที่ผู้ใช้นิยมเรียกกันว่า liquid ecstasy, liquid E, liquid X หรือ blue verve - GHB ที่เตรียมขึ้นมาได้จะอยู่ในรูปเกลือโซเดียม ซึ่งอาจจะมีรสเค็มเล็กน้อย แต่คุณสมบัติที่โดดเด่นของมันในการนำไปใช้ในทางที่ผิดคือ การที่มันเป็นสารที่ละลายน้ำได้ ทำให้ได้ของเหลวใสที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ฤทธิ์ของ GHB คือ ทำให้เกิดการสงบระงับ ผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม และเพิ่มความต้องการทางเพศ บางรายงานระบุว่า นำ GHB มาใช้แทน “ยาอี” หรือ Ecstasy โดยที่ทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการถูกสัมผัส และมีฤทธิ์กดประสาท โดยเฉพาะเมื่อนำ GHB ไปผสมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การออกฤทธิ์ของ GHB เรียกได้ว่าเร็วมากคือภายใน 5-20 นาที ออกฤทธิ์นานชั่วโมงครึ่งถึงสามชั่วโมง และเมื่อหมดฤทธิ์แล้วก็จะไม่มีอาการเมาค้างและตรวจหาไม่พบในปัสสาวะ
อันตรายของ GHB คือการมีฤทธิ์กดประสาท กดการหายใจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้ในขนาดสูง หรือผสมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ตามกฎหมายไทย GHB จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 บทกำหนดโทษก็คือ ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท - 100,000 บาท (มาตรา 106 ตรี) ผู้ผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท - 400,000 บาท (มาตรา 89)
ที่มา : กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. GHB [Online]. Available at: http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=2531 Accessed on Jan 25, 2017.
หากจะพูดถึงเรื่องการนำสารเคมีไปใช้ในทางที่ผิดแล้ว สามารถพูดได้ตลอด เพราะมีสารเคมีรูปแบบแปลกๆ ใหม่ๆ เข้ามาอยู่ในตลาดตลอดเวลา บทความวันนี้จะพูดถึงสารเคมีชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน ด้วยรูปแบบและวิธีการใช้ที่สะดวก ทำให้เราตกเป็นเหยื่อของมันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะผู้หญิง
สารนั้นก็คือ GHB (จีเอชบี)
GHB หรือชื่อเต็มคือ Gamma-hydroxybutyrate ซึ่งมีชื่อแสลง (slang name) หรือชื่อที่ผู้ใช้นิยมเรียกกันว่า liquid ecstasy, liquid E, liquid X หรือ blue verve - GHB ที่เตรียมขึ้นมาได้จะอยู่ในรูปเกลือโซเดียม ซึ่งอาจจะมีรสเค็มเล็กน้อย แต่คุณสมบัติที่โดดเด่นของมันในการนำไปใช้ในทางที่ผิดคือ การที่มันเป็นสารที่ละลายน้ำได้ ทำให้ได้ของเหลวใสที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ฤทธิ์ของ GHB คือ ทำให้เกิดการสงบระงับ ผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม และเพิ่มความต้องการทางเพศ บางรายงานระบุว่า นำ GHB มาใช้แทน “ยาอี” หรือ Ecstasy โดยที่ทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการถูกสัมผัส และมีฤทธิ์กดประสาท โดยเฉพาะเมื่อนำ GHB ไปผสมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การออกฤทธิ์ของ GHB เรียกได้ว่าเร็วมากคือภายใน 5-20 นาที ออกฤทธิ์นานชั่วโมงครึ่งถึงสามชั่วโมง และเมื่อหมดฤทธิ์แล้วก็จะไม่มีอาการเมาค้างและตรวจหาไม่พบในปัสสาวะ
อันตรายของ GHB คือการมีฤทธิ์กดประสาท กดการหายใจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้ในขนาดสูง หรือผสมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ตามกฎหมายไทย GHB จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 บทกำหนดโทษก็คือ ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท - 100,000 บาท (มาตรา 106 ตรี) ผู้ผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท - 400,000 บาท (มาตรา 89)
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |
ที่มา : กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. GHB [Online]. Available at: http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=2531 Accessed on Jan 25, 2017.