ความเชื่อหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง ด้วยประโยคที่ว่า “การรับประทานไก่มากๆ จะทำให้เป็นโรคเกาต์” และนั่นเองก็ทำให้ใครหลายๆ คน ไม่อยากที่จะกินไก่ได้อย่างสบายใจนัก เพราะว่า ต้องมานั่งกังวลกับ “โรคเกาต์” นั่นเอง
แน่นอนว่า “โรคเกาต์” สาเหตุหลักก็มาจากการรับประทานอาหารของคนเรา ที่หากเลือกกินไม่ดี ก็จะทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ แต่ในขณะเดียวกันแล้ว ถ้ารู้และเข้าใจซักในเกี่ยวกับโรคนี้ซักนิดนึง บางทีก็ทำให้สบายใจได้ในระดับหนึ่งก็เป็นได้
อะไรคือ “โรคเกาต์”
โรคเกาต์ คือโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนตกตะกอน ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
ซึ่งโรคดังกล่าว สามารถ แบ่งได้ 3 ระยะ คือ
- ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน ตัวโรคมักเกิดที่ข้อหัวแม่เท้า หรือ ข้อเท้า จะมีอาการข้อปวดบวมแดงรุนแรงใน 24 ชั่วโมงแรก หากไม่รักษาก็จะหายเองได้ 5-7 วัน แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างซ้ำๆ
- ระยะไม่มีอาการ พอหลังจากข้ออักเสบหายแล้ว ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ
- ระยะเรื้อรัง คือ หลังจากที่มีอาการซ้ำ 3-5 ปี ข้ออักเสบก็จะมีมากขึ้น และจะเกิดการลามมาที่ข้ออื่นๆ จนเกิดก้อนจากผลึกของกรดยูริคขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะแตกจนเห็นเป็นผงขาวนวลคล้ายชอล์กได้
กรดยูริค คืออะไร
กรดนี้ ส่วนใหญ่ร่างกายจะสร้างเอง มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงร้อยละ 20 ที่ได้รับจากอาหาร ซึ่งถ้าคนปกติจะมีค่าในเลือดอยู่ในระดับไม่เกิน 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในเพศชายและหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ส่วนหญิงในวัยที่ยังมีประจำเดือนจะมีระดับไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าที่สูงเกินกว่าระดับดังกล่าวถือว่ามีกรดยูริคสูง ซึ่งภาวะดังกล่าวสัมพันธ์กับภาวะอ้วน, พันธุกรรมในครอบครัว, ยาในบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ และยาแอสไพริน และ โรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง, อาหารที่มีกรดยูริคสูง
อาหารที่ทำให้มีกรดยูริคสูง
-เหล้าและเบียร์
-เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต สมอง
-อาหารทะเล
-อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง น้ำหวาน หรือ น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน
ทำอย่างไรหากเป็นโรคเกาต์
-พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการรักษา
-หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น คือ การหยุดยาเอง/รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ, การดื่มแอลกอฮอล์, ในรายที่อาหารมีกรดยูริคสูงบางชนิดที่กระตุ้นการกำเริบของโรคควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว, การนวดและบีบข้อ
-รักษาโรคร่วมและดูแลสุขภาพของตนเอง และควรงดสูบบุหรี่
-สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ยกเว้นในบางรายที่มีข้ออักเสบ และเมื่อรับประทานอาหารในบางชนิดแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าวชั่วคราว แต่ถ้าสามารถควบคุมกรดยูริคได้แล้ว ก็สามารถรับประทานอาหารตามปกติได้
แน่นอนว่า “โรคเกาต์” สาเหตุหลักก็มาจากการรับประทานอาหารของคนเรา ที่หากเลือกกินไม่ดี ก็จะทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ แต่ในขณะเดียวกันแล้ว ถ้ารู้และเข้าใจซักในเกี่ยวกับโรคนี้ซักนิดนึง บางทีก็ทำให้สบายใจได้ในระดับหนึ่งก็เป็นได้
อะไรคือ “โรคเกาต์”
โรคเกาต์ คือโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนตกตะกอน ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
ซึ่งโรคดังกล่าว สามารถ แบ่งได้ 3 ระยะ คือ
- ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน ตัวโรคมักเกิดที่ข้อหัวแม่เท้า หรือ ข้อเท้า จะมีอาการข้อปวดบวมแดงรุนแรงใน 24 ชั่วโมงแรก หากไม่รักษาก็จะหายเองได้ 5-7 วัน แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างซ้ำๆ
- ระยะไม่มีอาการ พอหลังจากข้ออักเสบหายแล้ว ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ
- ระยะเรื้อรัง คือ หลังจากที่มีอาการซ้ำ 3-5 ปี ข้ออักเสบก็จะมีมากขึ้น และจะเกิดการลามมาที่ข้ออื่นๆ จนเกิดก้อนจากผลึกของกรดยูริคขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะแตกจนเห็นเป็นผงขาวนวลคล้ายชอล์กได้
กรดยูริค คืออะไร
กรดนี้ ส่วนใหญ่ร่างกายจะสร้างเอง มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงร้อยละ 20 ที่ได้รับจากอาหาร ซึ่งถ้าคนปกติจะมีค่าในเลือดอยู่ในระดับไม่เกิน 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในเพศชายและหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ส่วนหญิงในวัยที่ยังมีประจำเดือนจะมีระดับไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าที่สูงเกินกว่าระดับดังกล่าวถือว่ามีกรดยูริคสูง ซึ่งภาวะดังกล่าวสัมพันธ์กับภาวะอ้วน, พันธุกรรมในครอบครัว, ยาในบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ และยาแอสไพริน และ โรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง, อาหารที่มีกรดยูริคสูง
อาหารที่ทำให้มีกรดยูริคสูง
-เหล้าและเบียร์
-เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต สมอง
-อาหารทะเล
-อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง น้ำหวาน หรือ น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน
ทำอย่างไรหากเป็นโรคเกาต์
-พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการรักษา
-หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น คือ การหยุดยาเอง/รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ, การดื่มแอลกอฮอล์, ในรายที่อาหารมีกรดยูริคสูงบางชนิดที่กระตุ้นการกำเริบของโรคควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว, การนวดและบีบข้อ
-รักษาโรคร่วมและดูแลสุขภาพของตนเอง และควรงดสูบบุหรี่
-สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ยกเว้นในบางรายที่มีข้ออักเสบ และเมื่อรับประทานอาหารในบางชนิดแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าวชั่วคราว แต่ถ้าสามารถควบคุมกรดยูริคได้แล้ว ก็สามารถรับประทานอาหารตามปกติได้