By : Pharmchompoo
เมื่อความขาวกลายเป็นมาตรฐานวัดความสวยของผู้หญิง เพราะฉะนั้น ก็อย่าได้แคร์ที่ผู้หญิงจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อปรนนิบัติตนเอง ให้ขาว เนียน สวย ตั้งแต่หัวจรดเท้า รวมถึงรักแร้ไปจนถึงหลืบซอกซ่อนเร้นที่มีในร่างกาย ด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ นานา อะไรที่ที่ว่าดี มีหรือที่จะไม่ลองใช้ จะต้องเจ็บตัวก็ยอม ขอให้ขาวเว่อร์ ขาวเร็ว ขาวนาน ก็พอใจแล้ว

เรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์กลูต้าไธโอนเพื่อความขาว มีการใช้ในวงการความงามมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว กลไกของกลูต้าไธโอนในการทำให้ผิวขาวนั้น มาจากการที่กลูต้าไธโอนนั้นยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว และเปลี่ยนลักษณะของเม็ดสีผิว (ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้) นอกจากนั้นแล้ว กลูต้าไธโอนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรง ซึ่งอาจมีผลโดยอ้อมกับเรื่องสีผิว แต่กระบวนการดังกล่าวนี้ต้องใช้ระยะเวลาสักระยะหนึ่งถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง
มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การใช้กลูต้าไธโอนครีมที่มีความเข้มข้น 2% ถ้าทาใบหน้า เช้า - เย็น นาน 10 สัปดาห์ สามารถช่วยลดการก่อตัวของริ้วรอย ทำให้ผิวหน้าขาวขึ้น เรียบเนียนขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่ถ้าในเมื่อความสวยมันต้องใช้เวลา จะเสียเวลาไปทำไม ก็ต้องหา “ทางลัด” ที่จะช่วยให้ “ขาว” และ “สวย” ในชั่วข้ามคืน
ทาแล้ว เวิร์คแล้ว แต่ถ้าฉีดเข้าไปเลยล่ะ ก็จะต้องยิ่งกว่าเวิร์คแน่ๆ จึงมีความคิดในการฉีดกลูต้าไธโอนเข้าหลอดเลือด และไหนๆ จะเจ็บตัวแล้ว ก็จัดเป็น combo set ฉีดวิตามินซีไปพร้อมกันด้วยเลย
ว่ากันในทางคลินิก กลูต้าไธโอนที่มีการใช้กันนั้น หลักๆ มักจะใช้ในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังบางชนิด (ใช้ในรูปแบบพ่น) และให้ทางหลอดเลือดเพื่อป้องกันพิษจากการได้รับยาเคมีบำบัด นอกเหนือจากนี้ก็ไม่พบการใช้ในทางคลินิกอื่นๆ เหนืออื่นใด กลูต้าไธโอนซึ่งมีการใช้ในทางคลินิกดังที่ได้กล่าวมา ยังถูกขจัดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วด้วย คือเพียง 10 นาที ระดับกลูต้าไธโอนในเลือดก็ลดลงครึ่งหนึ่ง
มีข้อมูลที่มีการเตือนให้ระวังการฉีดกลูต้าไธโอนเข้าหลอดเลือดในปริมาณสูง (0.6 - 1.2 กรัม/ครั้ง) ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ โดยเฉพาะการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา (ซึ่งพบมากที่ผู้ประกอบการ “หิ้ว” เข้าประเทศมาเอง) ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลายประการ เช่น ปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรง ผลข้างเคียงที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ ไตวายเฉียบพลัน ซึ่งหากใช้ร่วมกับการฉีดวิตามินซีในขนาดสูงก็ยิ่งเพิ่มเสี่ยงในการเกิดอาการข้างเคียงมากขึ้นตามไปด้วย
มีข้อมูลว่า การใช้วิตามินซีในขนาดสูง (ประมาณ 4.5 กรัม/วัน) จะรบกวนสมดุลน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่เดิม นอกจากนี้ วิตามินซีที่ได้รับเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นออกซาเลตซึ่งจะขับถ่ายออกทางปัสสาวะเป็นหลัก ออกซาเลตเป็นสารที่ละลายน้ำได้ไม่ดีนัก เมื่อมีสะสมอยู่ในร่างกายมากๆ ก็จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไตวายเฉียบพลันได้มากยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ในผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์บางชนิดของเม็ดเลือดแดง การได้รับวิตามินซีในขนาดสูงจะทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน เป็นอันตรายอย่างยิ่งได้
_____________________________________________________
อ้างอิง :
Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System. Truven Health Analytics, Greenwood Village, Colorado (Vol. 171 expires [3/2017]).
Sonthalia S et al. Glutathione as a skin whitening agent: Fact, myths, evidence and controversies. Indian J Dermatol Venereol Leprol 2016; 82 (3): 262-72.
Watanabe F et al. Skin-whitening and skin-condition-improving effects of topical oxidized glutathione: a double-blind and placebo-controlled clinical trial in healthy women. Clin Cosmet Investig Dermatol 2014; 7: 267-74.
เมื่อความขาวกลายเป็นมาตรฐานวัดความสวยของผู้หญิง เพราะฉะนั้น ก็อย่าได้แคร์ที่ผู้หญิงจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อปรนนิบัติตนเอง ให้ขาว เนียน สวย ตั้งแต่หัวจรดเท้า รวมถึงรักแร้ไปจนถึงหลืบซอกซ่อนเร้นที่มีในร่างกาย ด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ นานา อะไรที่ที่ว่าดี มีหรือที่จะไม่ลองใช้ จะต้องเจ็บตัวก็ยอม ขอให้ขาวเว่อร์ ขาวเร็ว ขาวนาน ก็พอใจแล้ว
เรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์กลูต้าไธโอนเพื่อความขาว มีการใช้ในวงการความงามมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว กลไกของกลูต้าไธโอนในการทำให้ผิวขาวนั้น มาจากการที่กลูต้าไธโอนนั้นยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว และเปลี่ยนลักษณะของเม็ดสีผิว (ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้) นอกจากนั้นแล้ว กลูต้าไธโอนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรง ซึ่งอาจมีผลโดยอ้อมกับเรื่องสีผิว แต่กระบวนการดังกล่าวนี้ต้องใช้ระยะเวลาสักระยะหนึ่งถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง
มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การใช้กลูต้าไธโอนครีมที่มีความเข้มข้น 2% ถ้าทาใบหน้า เช้า - เย็น นาน 10 สัปดาห์ สามารถช่วยลดการก่อตัวของริ้วรอย ทำให้ผิวหน้าขาวขึ้น เรียบเนียนขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่ถ้าในเมื่อความสวยมันต้องใช้เวลา จะเสียเวลาไปทำไม ก็ต้องหา “ทางลัด” ที่จะช่วยให้ “ขาว” และ “สวย” ในชั่วข้ามคืน
ทาแล้ว เวิร์คแล้ว แต่ถ้าฉีดเข้าไปเลยล่ะ ก็จะต้องยิ่งกว่าเวิร์คแน่ๆ จึงมีความคิดในการฉีดกลูต้าไธโอนเข้าหลอดเลือด และไหนๆ จะเจ็บตัวแล้ว ก็จัดเป็น combo set ฉีดวิตามินซีไปพร้อมกันด้วยเลย
ว่ากันในทางคลินิก กลูต้าไธโอนที่มีการใช้กันนั้น หลักๆ มักจะใช้ในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังบางชนิด (ใช้ในรูปแบบพ่น) และให้ทางหลอดเลือดเพื่อป้องกันพิษจากการได้รับยาเคมีบำบัด นอกเหนือจากนี้ก็ไม่พบการใช้ในทางคลินิกอื่นๆ เหนืออื่นใด กลูต้าไธโอนซึ่งมีการใช้ในทางคลินิกดังที่ได้กล่าวมา ยังถูกขจัดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วด้วย คือเพียง 10 นาที ระดับกลูต้าไธโอนในเลือดก็ลดลงครึ่งหนึ่ง
มีข้อมูลที่มีการเตือนให้ระวังการฉีดกลูต้าไธโอนเข้าหลอดเลือดในปริมาณสูง (0.6 - 1.2 กรัม/ครั้ง) ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ โดยเฉพาะการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา (ซึ่งพบมากที่ผู้ประกอบการ “หิ้ว” เข้าประเทศมาเอง) ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลายประการ เช่น ปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรง ผลข้างเคียงที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ ไตวายเฉียบพลัน ซึ่งหากใช้ร่วมกับการฉีดวิตามินซีในขนาดสูงก็ยิ่งเพิ่มเสี่ยงในการเกิดอาการข้างเคียงมากขึ้นตามไปด้วย
มีข้อมูลว่า การใช้วิตามินซีในขนาดสูง (ประมาณ 4.5 กรัม/วัน) จะรบกวนสมดุลน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่เดิม นอกจากนี้ วิตามินซีที่ได้รับเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นออกซาเลตซึ่งจะขับถ่ายออกทางปัสสาวะเป็นหลัก ออกซาเลตเป็นสารที่ละลายน้ำได้ไม่ดีนัก เมื่อมีสะสมอยู่ในร่างกายมากๆ ก็จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไตวายเฉียบพลันได้มากยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ในผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์บางชนิดของเม็ดเลือดแดง การได้รับวิตามินซีในขนาดสูงจะทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน เป็นอันตรายอย่างยิ่งได้
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |
_____________________________________________________
อ้างอิง :
Klasco RK (Ed): DRUGDEX® System. Truven Health Analytics, Greenwood Village, Colorado (Vol. 171 expires [3/2017]).
Sonthalia S et al. Glutathione as a skin whitening agent: Fact, myths, evidence and controversies. Indian J Dermatol Venereol Leprol 2016; 82 (3): 262-72.
Watanabe F et al. Skin-whitening and skin-condition-improving effects of topical oxidized glutathione: a double-blind and placebo-controlled clinical trial in healthy women. Clin Cosmet Investig Dermatol 2014; 7: 267-74.