เมื่อเอ่ยถึงงานช้างสุรินทร์ ใครๆ ก็รู้จัก แถมยังอยากไปร่วมงานสักครั้งให้เป็นกำไรชีวิต เพราะถ้าไม่ดีจริงคงไม่โด่งดังระดับโลก ฝรั่งหลายคนถึงกับยอมลงทุนซื้อตั๋วเครื่องบินข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อมาเที่ยวงานนี้โดยเฉพาะ แต่...เชื่อไหมว่า 7 ปีที่แล้ว งานนี้แทบไม่มีคนมาเที่ยว สาเหตุก็คือเหล้า
เหมือนกับทุกงานนั่นแหละ งานไหนมีเหล้า งานนั้นมีเหตุทะเลาะวิวาทรุนแรง รวมกับค่านิยมของกลุ่มวัยรุ่นที่จับกลุ่มกันมาเพื่อมีเรื่อง มากกว่าจะมาเที่ยวในงานประเพณี ยิ่งมีคอนเสิร์ตก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง การขายเหล้าอย่างเอิกเกริกในงานก็ยิ่งทำให้แย่เข้าไปใหญ่ ก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
เป็นแบบนี้คนดีๆ ที่ไหนใครจะอยากมาเที่ยว ผู้มางานจึงลดลงเรื่อยๆ เมื่อคนเที่ยวลดอะไรๆ ก็ลดตาม จำนวนช้างแสดงลด ร้านค้าลด กิจกรรมลด งานจึงตกลงไปอยู่จุดต่ำสุดในปี 2551 ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ประกาศให้งานช้างและงานกาชาดสุรินทร์ให้เป็นงานปลอดแอลกอฮอล์ ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นด้วยและให้ความร่วมมือ งานช้างสุรินทร์จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า
“ตั้งแต่มีงานช้างปลอดเหล้าทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่ามีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้นค่ะ”
เมื่อไม่มีเหล้า อะไรๆ ก็ดีไปหมด
งานช้างสุรินทร์ก้าวไปถึงจุดที่ใช้ความคิดเห็นจากชาวสุรินทร์
เพื่อสร้างสรรค์งานให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยการจัดเวทีสาธารณะเพื่อระดมความคิดเห็น
ล่าสุดในปี 2557 “ศักดา เชื้ออินทร์” ประธานประชาสังคมสุรินทร์สร้างสุข กล่าวว่า
“งานช้างกาชาด - สุรินทร์ สร้างสุข ประจำปี 2557 พัฒนามาจากงานช้างปลอดเหล้าที่เรารณรงค์ให้เป็นพื้นที่เที่ยวสนุกปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วระดับหนึ่ง จึงคิดต่อว่าควรมีกิจกรรมอะไรบ้างที่เป็นองค์ประกอบของงานช้างสร้างสุข เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มาชมในสิ่งที่เขาต้องการ จึงจำเป็นต้องมีการจัดเวทีสาธารณะ เพื่อให้ชาวสุรินทร์มีโอกาสร่วมคิดร่วมทำ ด้วยนโยบาย หนึ่งคน หนึ่งความคิดเห็น หนึ่งความรู้สึก และหนึ่งความคาดหวัง”
ผลที่ได้คืองานที่มีกิจกรรมหลายประเภท มีการแสงของศิลปินพื้นบ้าน มีนิทรรศการเกี่ยวกับช้าง มีการจัดกิจกรรมให้วัยรุ่นแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มี “เสียงตามสายสร้างสุข” ที่บอกกล่าวเล่าแจ้งถึงความรุนแรงที่เกิดจากการดื่มเหล้า เหมือนที่ สสส.ทำแคมเปญรณรงค์ให้เจ้าภาพทั้งงานบุญและงานบ้านเห็นผลเสียของการมีเหล้าในงานมาตลอด ล่าสุดก็ได้สร้างสรรค์แคมเปญใหม่ที่ทำให้เจ้าภาพตัดสินใจไม่มีเหล้าในงานได้ง่ายขึ้น นั่นคือ “จัดงานไม่มีเหล้า เรารักเลย”
เหมือนกับทุกงานนั่นแหละ งานไหนมีเหล้า งานนั้นมีเหตุทะเลาะวิวาทรุนแรง รวมกับค่านิยมของกลุ่มวัยรุ่นที่จับกลุ่มกันมาเพื่อมีเรื่อง มากกว่าจะมาเที่ยวในงานประเพณี ยิ่งมีคอนเสิร์ตก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง การขายเหล้าอย่างเอิกเกริกในงานก็ยิ่งทำให้แย่เข้าไปใหญ่ ก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
เป็นแบบนี้คนดีๆ ที่ไหนใครจะอยากมาเที่ยว ผู้มางานจึงลดลงเรื่อยๆ เมื่อคนเที่ยวลดอะไรๆ ก็ลดตาม จำนวนช้างแสดงลด ร้านค้าลด กิจกรรมลด งานจึงตกลงไปอยู่จุดต่ำสุดในปี 2551 ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ประกาศให้งานช้างและงานกาชาดสุรินทร์ให้เป็นงานปลอดแอลกอฮอล์ ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นด้วยและให้ความร่วมมือ งานช้างสุรินทร์จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า
“ตั้งแต่มีงานช้างปลอดเหล้าทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่ามีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้นค่ะ”
เมื่อไม่มีเหล้า อะไรๆ ก็ดีไปหมด
งานช้างสุรินทร์ก้าวไปถึงจุดที่ใช้ความคิดเห็นจากชาวสุรินทร์
เพื่อสร้างสรรค์งานให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยการจัดเวทีสาธารณะเพื่อระดมความคิดเห็น
ล่าสุดในปี 2557 “ศักดา เชื้ออินทร์” ประธานประชาสังคมสุรินทร์สร้างสุข กล่าวว่า
“งานช้างกาชาด - สุรินทร์ สร้างสุข ประจำปี 2557 พัฒนามาจากงานช้างปลอดเหล้าที่เรารณรงค์ให้เป็นพื้นที่เที่ยวสนุกปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วระดับหนึ่ง จึงคิดต่อว่าควรมีกิจกรรมอะไรบ้างที่เป็นองค์ประกอบของงานช้างสร้างสุข เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มาชมในสิ่งที่เขาต้องการ จึงจำเป็นต้องมีการจัดเวทีสาธารณะ เพื่อให้ชาวสุรินทร์มีโอกาสร่วมคิดร่วมทำ ด้วยนโยบาย หนึ่งคน หนึ่งความคิดเห็น หนึ่งความรู้สึก และหนึ่งความคาดหวัง”
ผลที่ได้คืองานที่มีกิจกรรมหลายประเภท มีการแสงของศิลปินพื้นบ้าน มีนิทรรศการเกี่ยวกับช้าง มีการจัดกิจกรรมให้วัยรุ่นแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มี “เสียงตามสายสร้างสุข” ที่บอกกล่าวเล่าแจ้งถึงความรุนแรงที่เกิดจากการดื่มเหล้า เหมือนที่ สสส.ทำแคมเปญรณรงค์ให้เจ้าภาพทั้งงานบุญและงานบ้านเห็นผลเสียของการมีเหล้าในงานมาตลอด ล่าสุดก็ได้สร้างสรรค์แคมเปญใหม่ที่ทำให้เจ้าภาพตัดสินใจไม่มีเหล้าในงานได้ง่ายขึ้น นั่นคือ “จัดงานไม่มีเหล้า เรารักเลย”