จากกรณีที่มีข้อความแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพว่าสารบอแรกซ์ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารบอแรกซ์สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ นอกจากนี้ไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำสารบอแรกซ์ไปใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
วันนี้ (20 มิ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการแนะนำในประเด็นเรื่องสารบอแรกซ์ ใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีข้อความแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพของสารบอแรกซ์ ว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารบอแรกซ์สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ นอกจากนี้ไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำสารบอแรกซ์ไปใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งนี้ สารบอแรกซ์หรือ น้ำประสานทอง เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ เป็นสารที่ถูกนําไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทําแก้ว เพื่อให้ทนต่อความร้อน หรือใช้เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง รวมทั้งใช้ในเครื่องสําอาง สารบอแรกซ์เป็นสารปนเปื้อนพบในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (หมูบด ปลาบด ลูกชิ้น ไส้กรอก ฯลฯ) ผักและผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ขนมหวานที่ทำจากแป้ง (ทับทิมกรอบ ลอดช่อง ฯลฯ) โดยสารนี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นพิษต่อตับและไต ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หากได้รับสารบอแรกซ์ในปริมาณสูงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้สารบอแรกซ์ เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารบอแรกซ์สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ นอกจากนี้ไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำสารบอแรกซ์ไปใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
หน่วยงานที่ตรวจสอบ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข