xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! ฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรณีการเผยแพร่ข้อมูลว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชา ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อประชาชน โดยการรักษาทางทันตกรรมที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาชาร่วมด้วยสามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการรับวัคซีนโควิด 19 ภายใต้ความปลอดภัยของผู้ป่วยและประสิทธิผลการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งก่อนการรักษาควรได้รับคำแนะนำและประเมินตามขั้นตอนโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

วันนี้ (18 มิ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการแนะนำข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการเผยแพร่ข้อมูลถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาชาในการรักษาทางทันตกรรม หลังได้รับวัคซีนโควิด 19 ว่าจะทำให้เสียชีวิตได้นั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อประชาชน โดยการรักษาทางทันตกรรมที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาชาร่วมด้วยสามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการรับวัคซีนโควิด 19 ภายใต้ความปลอดภัยของผู้ป่วยและประสิทธิผลการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งก่อนการรักษาควรได้รับคำแนะนำและประเมินตามขั้นตอนโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

ซึ่งทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ ณ สถาบันทันตกรรม ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ยาชาที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรม ประกอบด้วย ตัวยาชา ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่วนของสารป้องกันการเสื่อมสลายของยาทั้งสองชนิด และส่วนของตัวทำละลาย โดยยาชาที่ใช้ทางทันตกรรมมี 2 รูปแบบคือ ยาชาชนิดฉีด และชนิดเจล ใช้เพื่อระงับความรู้สึกในบริเวณที่ต้องการทำการรักษา และบรรเทาอาการปวดภายหลังการรักษา ซึ่งไม่มีผลต่อภูมิคุ้มกัน ทั้งก่อนและหลังการรับวัคซีนโควิด 19 ในปริมาณยาชาที่เหมาะสมและถูกต้อง

ทั้งนี้ผู้ที่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมสามารถรับการฉีดยาชา เพื่อทำหัตถการทางทันตกรรมได้อย่างปลอดภัย แต่ทั้งนี้ในหัตถการที่ไม่เร่งด่วน ควรเข้ารับการรักษาก่อนรับวัคซีนหรือภายหลังรับวัคซีนโควิด 2-3 วัน แต่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยแยกโรค เช่น ภาวะไข้ ว่ามีอาการข้างเคียงจากการรักษาทาง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ: วัคซีนโควิด 19 ไม่มีผลต่อการรักษาทางทันตกรรม ภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่ สามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการรับวัคซีน ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น