อย. เปิดตัวแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ “ปลูกกัญ” เพื่อช่วยประชาชนในการจดแจ้งการปลูกกัญชา - กัญชง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว พร้อมอบรมเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ อบจ. ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ผู้สนใจสามารถรับชมวิดีโอวิธีการจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชันหรือจดแจ้งผ่านเว็บไซต์ของ อย. ได้
วันนี้ (8 มิ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อโซเชียลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอย. เปิดตัวแอปฯ ปลูกกัญ จดแจ้งปลูกกัญชา – กัญชง ผ่านมือถือ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
อย. เปิดตัวแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ “ปลูกกัญ” เพื่อช่วยประชาชนในการจดแจ้งการปลูกกัญชา – กัญชง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว พร้อมอบรมเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ อบจ. ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ผู้สนใจสามารถรับชมวิดีโอวิธีการจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชันหรือจดแจ้งผ่านเว็บไซต์ของ อย. ได้ นอกจากนี้รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 มีผลบังคับใช้ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา – กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% ประชาชนสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่จดแจ้งนั้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการจดแจ้งการปลูกกัญชา – กัญชง ให้แก่ประชาชนแล้วนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้จัดทำแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” และเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th โดยแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android เพื่อออกใบรับจดแจ้งในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 โดยจดแจ้งเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ คือ 1. ลงทะเบียน 2. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ 3. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนและแหล่งที่ปลูกกัญชา – กัญชงทั่วประเทศ
อีกทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ประกอบการแสวงหาวัตถุดิบ เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานออกสู่ตลาด เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลอีกด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร. 02-590-7000
หน่วยงานที่ตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข