xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! กุยช่ายคั้นผสมน้ำร้อน ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากกรณีที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพระบุว่า กุยช่ายผสมน้ำร้อน ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า กุยช่ายมีรสร้อน อาจช่วยเรื่องเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด แต่ไม่ควรใช้สมุนไพรเองเพื่อหวังผลในการรักษาโรค ดังนั้นข้อมูลนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ

วันนี้ (16 เม.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องกุยช่ายคั้นผสมน้ำร้อน ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนได้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพในเฟซบุ๊กโดยระบุว่า กุยช่าย ไม่ว่าขนมหรือกินเป็นผักแกล้มในผัดไทย ทราบหรือไม่ว่าเป็นยาที่ดีมีสรรพคุณในเรื่องการขับประจำเดือน ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ตามสรรพคุณยาในทางการแพทย์แผนจีนและทางการแพทย์แผนไทย กุยช่ายมีรสร้อน อาจช่วยเรื่องเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด แต่ทั้งนี้ ตามหลักการรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนไม่ใช้ตัวยาเดี่ยวในการรักษาโรค จะต้องมีตัวยาหลัก ตัวยาเสริม ตัวยาช่วย และตัวยานำพา จัดขึ้นเป็นตำรับยาเพื่อใช้รักษาโรคต่าง ๆ ดังนั้น ข้อมูลนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ หากประชาชนมีความเจ็บป่วยควรปรึกษาหรือไปพบบุคลากรทางการแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกต้องและเหมาะสม ไม่ควรใช้สมุนไพรเองเพื่อหวังผลในการรักษาโรค แต่ในขนาดที่เหมาะสมสามารถใช้เป็นอาหารได้อย่างปลอดภัย

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ สามารถติดตามกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขได้ที่เว็บไซต์ https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/หรือโทร0-2591-7007

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : กุยช่ายมีรสร้อน อาจช่วยเรื่องเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด แต่ไม่ควรใช้สมุนไพรเองเพื่อหวังผลในการรักษาโรค ซึ่งตามหลักการรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนจะไม่ใช้ตัวยาเดี่ยวในการรักษาโรค จะต้องมีตัวยาหลัก ตัวยาเสริม ตัวยาช่วย และตัวยานำพา จัดขึ้นเป็นตำรับยาเพื่อใช้รักษาโรคต่าง ๆ ดังนั้นข้อมูลนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ

หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข


กำลังโหลดความคิดเห็น