xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! มะเฟืองเปรี้ยวสุก รักษาโรคเกาต์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องน้ำมะเฟืองเปรี้ยวสุก รักษาโรคเกาต์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ


จากกรณีที่มีการลงบทความในเว็บไซต์โดยระบุหัวข้อว่าโรคเกาต์หายได้ ถ้าเจอมะเฟืองเปรี้ยวสุก ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ รวมทั้งยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้เพื่อรักษาอาการโรคเกาต์ โดยการใช้ดังกล่าวน่าจะเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณในการรับสื่อออนไลน์ ทั้งนี้ การรักษาโรคเก๊าต์ปัจจุบันมียารักษาทั้งแบบลดอาการปวด บวม และลดกรดยูริคในเลือก ประชาชนที่ป่วยด้วยโรคนี้สามารถขอรับบริการการรักษาในหน่วยบริการทางการแพทย์ภาครัฐทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม โรคเกาต์ เป็นโรคข้อซึ่งเกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนตกตะกอน ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งโรคนี้รักษาหายขาดได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง ซึ่งอาการของโรคจะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

1.ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน มักเกิดที่ข้อหัวแม่เท้า หรือข้อเท้า ข้อปวดบวมแดงรุนแรงใน 24 ชั่วโมงแรก หากไม่รักษาสามารถหายได้เองใน 5-7 วัน และส่วนใหญ่จะเป็นซ้ำ ๆ
2.ระยะไม่มีอาการ หลังจากข้ออักเสบหาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ
3.ระยะเรื้อรัง หลังจากมีอาการซ้ำ 3-5 ปี ข้ออักเสบจะมีจำนวนมากขึ้น ลามมาที่ข้ออื่น ๆ และเกิดก้อนจากผลึกของกรดยูริกขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ อาจแตกเห็นเป็นผงขาวนวลคล้าย
ซึ่งผู้ป่วยโรคเกาต์ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ สามารถติดตามกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขได้ที่เว็บไซต์ https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/หรือโทร0-2591-7007

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ รวมทั้งยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้เพื่อรักษาอาการโรคเกาต์ โดยการใช้ดังกล่าวน่าจะเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณในการรับสื่อออนไลน์


กำลังโหลดความคิดเห็น