xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! เตือนภัยปี 2563 กรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้น้ำ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ชี้แจงกรณีมีการเตือนภัยปี 2563 กรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้น้ำ ว่าไม่มีความเป็นไปได้แต่อย่างใด ปัจจุบันไม่พบสัญญาณการเกิดฝนที่จะตกหนักตั้งแต่ต้นฤดูฝน อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำในปี 54 ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำเก็บกักต้นฤดูฝนมีปริมาณน้ำมากกว่า 50% แต่ปี 63 น้อยกว่า 30% หากมีฝนตกในลักษณะเดียวกับปี 54 แหล่งน้ำต่าง ๆ จะสามารถเก็บกักปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้

วันนี้ (25 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการเผยแพร่คลิปวีดีโอประเด็นเตือนภัยปี 2563 กรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้น้ำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับคำสัมภาษณ์ของนักวิชาการเมื่อ ปี 2558 ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า คลิปดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำทุกปี โดยเปลี่ยนแปลงปี ซึ่งคณะทำงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้มีการติดตามสภาพอากาศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพอากาศ แนวโน้มการก่อตัวของพายุอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ พบว่าปัจจุบันยังไม่พบสัญญาณการเกิดฝนที่จะตกหนักตั้งแต่ต้นฤดูฝน อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบปริมาณ น้ำในแหล่งเก็บกักน้ำในปี 2554 ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำเก็บกับต้นฤดูฝน มีปริมาณน้ำมากกว่า 50% แต่ปี 2563 น้อยกว่า 30% โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ปัจจุบันมีพื้นที่ว่างรองรับน้ำอยู่มากถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหากมีฝนตกในลักษณะเดียวกับปี 2554 แหล่งน้ำต่าง ๆ จะสามารถเก็บกักปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้ ดังนั้นโอกาสเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมแบบปี 2554 หรือเหตุบ่งชี้ที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงน้ำท่วมจะเท่ากับปี 2554 นั้น จึงไม่มีความเป็นไปได้แต่อย่างใด

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.onwr.go.th หรือโทร. 02-554-1800

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : คลิปดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำทุกปี โดยเปลี่ยนแปลงปี ทางกอนช. ได้มีการติดตามสภาพอากาศ และปริมาณการกักเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง จึงไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิด


กำลังโหลดความคิดเห็น