xs
xsm
sm
md
lg

BEDO ร่วมมือกับ มีวนา ทำการประเมินมูลค่าบริการระบบนิเวศของป่าในพื้นที่อนุรักษ์ ภายใต้โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า เชียงราย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ร่วมมือกับบริษัท มีวนา จำกัด ทำการประเมินมูลค่าบริการระบบนิเวศของป่าในพื้นที่อนุรักษ์ โดยมี “ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล” อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาโครงการรักษ์น้ำ SCGC) เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินมูลค่าด้วยแบบจำลองที่ “ดร.พงษ์ศักดิ์ คิดค้นขึ้น” โดยได้มีการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ แนวคิด วิธีการเก็บข้อมูล และการคำนวณมูลค่าบริการระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) ให้กับชุมชน BEDO และเจ้าหน้าที่มีวนา

หลังจากทีมงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายของบริษัท มีวนา จำกัด ได้ดำเนินการเก็บวัดข้อมูลในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2566 และวิเคราะห์ผลแล้ว ทาง BEDO ยังช่วยทวนสอบระบบการตรวจวัดข้อมูลของเจ้าหน้าที่มีวนา ทั้งในเรื่องของเอกสาร เครื่องมือ และวิธีการวัด เป็นต้น เพื่อให้ข้อมูลการประเมินมูลค่าระบบนิเวศมีความถูกต้อง แม่นยำ และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

การส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเชียงรายปลูกกาแฟในระบบเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า และรับซื้อผลผลิตทั้งหมดจากเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อแปรรูปและจัดจําหน่าย โดยมุ่งหมายให้เป็นกิจการเพื่อสังคม คือเป็นธุรกิจที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน เกษตรกร พร้อมกันไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ 3 แห่งของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ต้นน้ำแม่ลาว ต้นน้ำแม่สรวย และต้นน้ำแม่กรณ์

ปัจจุบัน โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า มีพื้นที่ทั้งหมด 4,671.25 ไร่ มีสมาชิกที่เป็น เกษตรกร 278 ครอบครัว จาก 7 หมู่บ้าน 4 ตําบล ใน 3 อําเภอของจังหวัดเชียงราย โดยดําเนินงาน ในสองลักษณะคือ (1) ปลูกกาแฟในระบบเกษตรอินทรีย์ใต้ร่มเงาไม้ในป่าเดิม ที่อนุรักษ์เอาไว้ก่อน หน้า และ (2) การปรับเปลี่ยนสวนกาแฟอยู่ก่อนแล้ว ให้เป็นป่ากินได้ โดยปลูกต้นไม้เสริมเพื่อให้ร่มเงา และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลทําให้โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่ามีส่วนช่วย อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าหลายพันไร่ตลอดเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันยังสร้างรายได้แก่ เกษตรกร 278 ครอบครัวในโครงการฯ เฉลี่ยครอบครัวละ 107,826 บาทต่อปี โดยบริษัทให้เงิน พรีเมี่ยมเพิ่มขึ้นอีก 2 ประเภทคือ ออร์แกนิกพรีเมี่ยม เฉลี่ยครอบครัวละ 11,014 บาทต่อปี (คิดเป็น 10.21% ของราคาผลผลิต) และ เงินพรีเมี่ยมกาแฟใต้ร่มไม้ เฉลี่ยครอบครัวละ 2,519 บาทต่อปี (คิด เป็น 2.34 % ของราคาผลผลิต) รายได้ดังกล่าวนี้ เป็นตัวเลขเฉลี่ยจากข้อมูลการขายผลผลิตกาแฟ 3 ปีล่าสุด คือ ปี 2563-2565 ของเกษตรกรทั้งหมดในโครงการ

โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่ายังช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับ ชาวบ้านในประเด็นการบุกรุกทําลายป่าด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐเล่าว่าเกษตรกรที่ปลูกกาแฟจะเป็นฝ่าย เร่งรัดเจ้าหน้าที่ในการร่วมกันทําแนวกันไฟเมื่อเริ่มเข้าฤดูแล้ง เพราะหากเกิดไฟป่า กาแฟที่ชาวบ้าน ปลูกไว้อาจได้รับความเสียหายไปด้วย ทั้งยังร่วมกันจัดกิจกรรมปลูกป่าในสวนกาแฟต่อเนื่องกันทุกปี ตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งได้ปลูกต้นไม้ไปแล้วมากกว่า 120,000 ต้น
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทย์รักษาป่าบ้านขุนลาว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทย์รักษาป่าบ้านขุนลาว หนึ่ง ในชุมชนเครือข่าย BEDO และเป็นสมาชิกโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า เป็นชุมชนที่มีการดำเนินการตามหลักการ BEDO – BCG และแนวทางระบบการเกษตรของชุมชนในเขตพื้นที่ป่าไม้ สามารถสร้างรายได้เลี้ยงชีพและรักษาเกื้อกูลให้ผืนป่ายังคงสภาพอยู่อย่างยั่งยืน โดยวางแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ 3 ด้าน คือ ฐานทรัพยากร ระบบการผลิต เศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพป่าภูมิประเทศ วัฒนธรรมและองค์ความรู้ของชุมชน โดยใช้การปลูกกาแฟเป็นเครื่องมือเชื่อมประสาน ด้วยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถเติบโตใต้ร่มไม้ได้ดี และสามารถทำเกษตรในระบบอินทรีย์ได้ รักษาระบบนิเวศ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่าบ้านขุนลาว รวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในด้านการผลิตและการแปรรูป และการตลาด สามารถสร้างการใช้ประโยชน์ให้ “ดิน น้ำ ป่า” และคนอยู่ร่วมกัน เกื้อกูลกัน นําไปปรับใช้ในการดําเนินธุรกิจสร้างสมดุลต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนตามหลักการ BEDO – BCG ต่อไป









กำลังโหลดความคิดเห็น