รอยแผลเป็นไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของร่างกายก็ล้วนแล้วแต่สร้างความหงุดหงิดใจให้เราได้ทั้งนั้น แต่โชคดีที่ทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยให้ผิวของเรากลับมาเนียนเรียบดังนั้น หนึ่งในนั้นก็คือ การทำเลเซอร์ลบรอยแผลเป็น วันนี้เราจะมาแนะนำกันว่าการใช้เลเซอร์ลบรอยแผลเป็นเป็นอย่างไร และมีกี่รูปแบบ
รู้จักรอยแผลเป็น
ก่อนที่เราจะพูดถึงการทำเลเซอร์ลบรอยแผลเป็น เราต้องรู้จักแผลเป็นที่อยู่บนผิวของเราก่อนว่ามีอะไรบ้าง
1. แผลเป็นที่โตนูน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นแผนเป็นที่โตนูนเกินแต่ไม่เกินขอบเขตของแผลเดิม และคีลอยด์ ซึ่งเป็นแผลที่นูนจากแผลเดิม
2. แผลที่บุ๋มลึกลงไป ทำให้เกิดเป็นร่อง หรือต่ำกว่าผิวหนังเดิม
3. แผลเป็นที่มีการหดรั้ง โดยรั้งอวัยวะบริเวณแผลให้หดรูปไปด้วย
4. แผลที่มีสีไม่เหมือนสีผิวปกติ อาจจะเข้มกว่าหรือจางกว่าสีผิวปกติก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นแผลเป็นแบบไหน หรือเป็นรอยแผลจากสาเหตุอะไรก็ล้วนแล้วแต่เป็นรอยแผลที่สร้างความกังวลใจให้แก่เรา และอยากจะให้รอยนั้นหายไปจากผิวสวยๆ ของเรา
การรักษาแผลเป็น
สำหรับการรักษาแผลเป็นในปัจจุบัน สามารถรักษาได้ 3 วิธีหลักๆ ก็คือ การทายาลดเลือนรอยแผลเป็น การผ่าตัด การทำเลเซอร์ และการฉีดสเตียรอยด์ ซึ่งการรักษาอย่างได้ผลควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการรักษา เพราะแผลเป็นแต่ละแบบก็มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป
การทำเลเซอร์ลบรอยแผลเป็น
การทำเลเซอร์ลบรอยแผลเป็นเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลบเลือนรอยแผลเป็นได้ในเวลาอันรวดเร็วและได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ โดยปัจจุบันได้แบ่งการทำเลเซอร์ออกเป็นสองแบบ ได้แก่
1. Pulsed Dye Laser โดยเลเซอร์จะถูกยิงไปที่หลอดเลือดฝอยบริเวณแผล ทำให้แผลแดงน้อยลง และจางลง ซึ่งวิธีนี้จะไม่เจ็บ แต่ต้องทำหลายๆ ครั้ง ยิ่งมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้รอยแดงหรือรอยแผลเป็นกลับสู่สภาพผิวปกติเร็วมากเท่านั้น
2. Fractional Laser วิธีนี้เลเซอร์จะส่งพลังงานไปที่ผิวแล้วกระตุ้นเนื้อเยื่อให้จัดเรียงตัวใหม่ หรือที่เรียกว่า Collagen Remodeling ทำให้รอยแผลดูจางลง หรือนูนน้อยลง และเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ แต่หากว่าต้องการให้ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจต้องทำอย่างต่อเนื่อง 4-5 ครั้ง แต่ข้อเสียขอการทำเลเซอร์วิธีนี้คือ ค่อนข้างเจ็บ และต้องทาครีมยาชาก่อนทุกครั้ง
สำหรับผู้ที่สนใจการทำเลเซอร์ลบรอยแผลเป็น สามารถติดต่อกับคลินิกเสริมความงามหรือโรงพยาบาลต่างๆ ได้ หากว่าเป็นแผลที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณหลักร้อยถึงหลักพัน แต่สำหรับแผลขนาดใหญ่อาจจะต้องมีการทำเลเซอร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแผนการรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ